หลังจากติดตั้งกล่อง AMS แล้ว ก็มาถึงการใช้งาน ซึ่งการใช้งาน AMS ส่วนใหญ่จะเป็นการป้อนเส้นเข้า และการเอาเส้นออก
สำหรับเครื่อง Bambu Lab ที่เชื่อมต่อกับกล่อง AMS เวลาใช้งาน จำเป็นต้องระบุชนิดของเส้นพลาสติก ที่ใส่อยู่ในกล่องด้วย ซึ่งการระบุประเภทเส้นพลาสติก สามารถทำได้ที่ตัวเครื่อง ถ้าเป็นรุ่น X1 Series ก็ระบุชนิดเส้นพลาสติก ผ่านหน้าจอ Touch Screen ได้เลย
ถ้าเป็นเครื่องรุ่น P1P หรือ P1S อาจจะต้องใช้ App Bambu Handy ไปตัวกำหนดค่าเส้นแทน หรือจะไปกำหนดในโปรแกรม Bambu Studio ก็ได้
การโหลดเส้นพลาสติกเข้า (Load Filament)
การใส่เส้นในกล่อง AMS นั้นทำได้ไม่ยาก ใช้แค่มือดันตัวกดสีเทาแล้วดันไปข้างหน้า จากนั้นเอาเส้นสอดเข้าไปในรู ประมาณ 2 เซนติเมตร ตัวเซนเซอร์จะอ่านได้ว่ามีเส้นผ่าน แล้วสั่งให้มอเตอร์ทำงาน เพื่อจับเส้น แล้วดันเส้นเข้าไปในกล่อง


สำหรับคนที่ใช้เครื่อง X1 Series และไม่กล้าดันแรง ก็สามารถกดที่หน้าจอ ตรง Slot หรือช่องที่ต้องการใส่เส้น ตัวมอเตอร์ที่ช่องที่เลือก ก็จะเริ่มหมุนและทำงาน ตอนที่มอเตอร์เริ่มหมุน ก็ให้เอาเส้นพลาสติกแหย่ ลงไปในรูได้เลย ตัวกล่อง ก็จะทำการโหลดเส้นเข้าไปให้

ระบุชนิดและประเภทของเส้นพลาสติก
หลังจาก load เส้นพลาสติกเข้าไปในกล่อง AMS แล้ว ถ้าเป็นรุ่น X1 Series ตัวหน้าจอ ก็จะให้ระบุว่าเส้นที่ใส่เข้าไป เป็นเส้นยี่ห้ออะไร ชนิดไหน และก็ให้ระบุสี ซึ่งผู้ใช้ ต้องระบุให้ตรง ถ้ายี่ห้อเส้น ไม่มีให้เลือก ก็ให้เลือกเป็น Generic ไว้ก่อน แต่ชนิดเส้นต้องเลือกให้ตรง เพราะถ้าเลือกไม่ตรง จะมีปัญหาเกี่ยวกับความร้อน ที่จะใช้ฉีดเส้นออกมา


การเอาเส้นพลาสติกออกหรือ Unload
สำหรับการเอาเส้นออก ก็จะง่ายกว่า การเอาเส้นเข้า เพราะแค่เลือกเส้นที่จะเอาออก แล้วกดปุ่ม Unload ตัวชุดหัวฉีด ก็จะทำการตัดเส้น แล้วดึงเส้นออกจากหัวให้เอง โดยเส้นที่ดึงออกมาจากหัวฉีดจะมารออยู่ในกล่อง AMS ซึ่งถ้าจะเอาเส้นออกจากกล่อง ก็ใช้มือดันตัวจับเส้นสีเทา แล้วดึงเส้นออกได้เลย


เช็คความชื้นภายในกล่อง AMS
ตัวกล่อง AMS มีเซนเซอร์สำหรับเช็คความชื้นภายในกล่อง ซึ่งความชื้นถือว่าเป็น อุปสรรคที่ทำให้งานพิมพ์เสีย และทำให้เส้นบางประเภทหักง่าย ผู้ใช้สามารถเช็คได้ว่า Silica Gel หรือตัวดูดความชื้นในกล่องหมดสภาพหรือยัง โดยดูที่หน้าจอของเครื่องได้เลย หรือจะดูผ่านโปรแกรม Bambu Studio ก้ได้

