1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Bambu Lab P1 Series
  4. ติดตั้งเครื่องรุ่น P1P / P1S

ติดตั้งเครื่องรุ่น P1P / P1S

สำหรับลูกค้าที่ซื้อผ่านช่องทาง Online ของทางร้าน รบกวนให้ถ่ายวิดีโอ ตอนแกะกล่อง เพื่อเช็คว่าตัวเครื่องไม่มีรอยบุบ หรือมีชิ้นส่วนแตกหัก ถ้าพบว่าตัวเครื่องมีรอยบุบ หรือมีชิ้นส่วนแตกหัก สามารถแจ้งเพื่อกับทางร้านได้

หลังจากที่ทำการ Selt Test เครื่องเสร็จ แนะนำให้ Upgrade Firmware ของเครื่องให้เป็นตัวล่าสุดก่อน ที่จะเริ่มใช้งาน โดยเครื่องจะต้องทำการ Log In ด้วย User ที่ได้ลงทะเบียนผ่านโปรแกรม Bambu Handy หรือ Bambu Studio ก่อน ถึงจะทำการ Update Firmware ได้

วิดีโอภาพรวมของการ Unbox เครื่อง P1P

แนะนำดูวิดีโอให้จบก่อน แล้วดูรายละเอียดด้านล่างเพิ่มเติม

วิดีโอภาพรวมของการ Unbox เครื่อง P1S

สำหรับเครื่อง P1P กับเครื่อง P1S จะมีอุปกรณ์ที่ให้มาเหมือนกัน และวิธีการประกอบก็เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ P1S จะเป็นเครื่องที่มีฝาครอบปิดทั้งหมด

Step 1: แกะกล่องและเอาเครื่องออก

เปิดกล่องออกมา จะพบกับพลาสติกใสหุ้มเครื่อง ให้เอาโฟมกันกระแทกด้านบนออก แล้วใช้ 2 มือ ดึงถุงพลาสติกออกมาพร้อมเครื่องได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าถุงพลาสตจิกจะขาด ตัวเครื่องมีน้ำหนักประมาณ 9.65 กิโลกรัม หลังจากเอาเครื่อง ออกมาแล้ว ให้ ตัดถุงพลาสติก แล้วเอาเครื่องออกมาจากถุง หลังจากนั้นให้ ดึงกล่องใส่อุปกรณ์ขอเครื่องออกมา โดยดึงออกมาทางด้านบนของเครื่อง

ถุงพลาสติกที่หุ้มเครื่อง สามารถดึงออกมาพร้อมกับเครื่องได้เลย
ดึงกล่องใส่อุปรกณ์ออกมา ทางด้านบน

Step 2 : ตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีมาในกล่อง

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมากับเครื่อง P1P จะมีทั้งอุปกรณ์ที่เป็นอะไหล่สำหรับเปลี่ยนตามระยะเวลาการใช้งาน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ต้องประกอบเข้ากับเครื่อง และยังมีอุปกรณ์สำหรับ Maintainace เพื่อดูแลรักษาเครื่อง

  1. Screen: หน้าจอสำหรับสั่งงานเครื่องพิมพ์ (จำเป็นต้องประกอบก่อนใช้งานเครื่อง)
  2. Power Cord: สายไฟสำหรับเสียบเข้ากับปลั๊กไฟ (จำเป็นต้องประกอบก่อนใช้งานเครื่อง)
  3. PTFE tube: ท่อเทฟลอนสีขาวนม (อะไหล่เสริม เก็บไว้สำหรับเปลี่ยน ในเครื่องมีติดไปแล้ว)
  4. ม้วนเส้นพลาสติก PLA ขนาด 1 กิโลกรัม (ไม่สามารถกำหนดสีเส้นได้ แล้วแต่โรงงานจะใส่มา)
  5. อุปกรณ์ Accessories
รายการที่ 5 ในส่วน Accessoreis มีอะไหล่มาให้ตามด้านล่างนี้
  1. Lubricant: จารบีหล่อลื่น สำหรับทาแกนเหล็ก (บางครั้งจะเป็นห่อสีทอง)
  2. Nozzle Wiping Pad: ตัวเช็ดหัวพิมพ์ (อะไหล่เสริม เก็บไว้สำหรับเปลี่ยน ในเครื่องมีติดไปแล้ว)
  3. Uncloggin Pin Tool: เข็มสำหรับแหย่ปลายหัวฉีด เพื่อทำความสะอาดเวลาหัวฉีดตัน
  4. For DIY Shell: เป็นน็อตสำหรับยึดพลาสติก ในกรณีที่ทำฝาปิดข้างเครื่องเอง
  5. Thermal Grease: สารนำความร้อน สำหรับใช้ทา เวลามีการเปลี่ยนหัวฉีด
  6. Spare Hotend: หัวฉีดสำรองพร้อมตัวล็อค ฮีทเตอร์และหัววัดความร้อน (อะไหล่เสริม เก็บไว้สำหรับเปลี่ยน ในเครื่องมีติดไปแล้ว)
  7. Allen Key ประแจ L ขนาด 1.5 และ 2.0: สำหรับใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขันน็อต และซ่อมบำรุ่งเครื่อง
  8. Scraper ใบมีดสำหรับแซะงาน: จะใช้อุปกรณ์นี้จะต้องพิมพ์ด้ามมาใส่ ซึ่งมีไฟล์ให้โหลดมาพิมพ์
  9. Spool Holder: ตัวแขวนม้วนเส้นพลาสติก (จำเป็นต้องประกอบก่อนใช้งานเครื่อง)
  10. น็อต For Extruder: อะไหล่ สำหรับเป็นอะไหล่ ในส่วนของหัวฉีด
  11. PTFE Tube Anchor: ตัวประคองเส้นเข้าหัวฉีด (จำเป็นต้องประกอบก่อนใช้งานเครื่อง)

ตัว Lubricant และ Thermal Grease ต้องดูให้ดึ เพราะจะมีบางกล่อง ที่สีของซองคล้ายกันมาก ต้องสังเกตุให้ดี ก่อนนำมาใช้ ส่วนตัว Lubricat ให้ทาเฉพาะแกนที่เป็นเหล็กเท่านั้น แกน Carbon ตรงหัวฉีด ห้ามทาเด็ดขาด

Step 3 : เอาโฟมและกระดาษรวมถึง Zip Tie ออกให้หมด

หลังจากตรวจเช็คอุปกรณ์ในกล่อง Accessories เรียบร้อยแล้ว ให้เอา โฟมกันกระแทกก รวมถึงกระดาษที่หุ้มหัวฉีด ออกให้หมด

ตัด Zip Tie ตรงกระดาษที่หุ้มหัวฉีด แล้วดึงกระดาษออก
ดึงโฟมในส่วนของถังทิ้งเศษพลาสติกออก

สำหรับโฟมที่อยู่ด้านล่าง ใต้ฐานพิมพ์​ ยังไม่ต้องดึงออกมา เพราะตอนที่เปิดเครื่อง และทำ Self Test ตัวฐานเครื่องจะยกขึ้นมา ให้เอาออกตอนที่เครื่องทำ Self Test เสร้จแล้ว

Step 4 : ประกอบชุดสำหรับแขวนเส้นพลาสติก

สำหรับการประกอบชุดแขวนเส้นจะมีชิ้นส่วน 2 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรก จะเป็นตัวแขวนเส้น ที่เรียกว่า Spool Holder ซึ่งจะมีน้อต 2 ตัว การประกอบให้ใช้ประแจกสอดเข้ารู้ตัวแขวนเส้น ตามภาพและทำการขันน็อตให้แน่น

ประแจใส่ในช่องตามภาพ จะทำให้ขันน้อตได้ง่าย

ส่วนชิ้นส่วนที่ 2 จะเป็นตัวประคองเส้นเข้าไปที่หัวฉีด ซึ่ตรงนี้ ให้สังเกตุในภาพ ว่าตัวประคองเส้นหันไปทางด้านไหน แล้วตัวท่อที่โผล่ออกมา จะต้องอยู่ด้านล่าง ตัวประคองเส้น จะใช้น็อต 2 ตัว ตัวนึงจะเป็นจุดหมุน อีกตัว จะเป็นตัวล็อค ไม่ให้หมุนเกิน เมื่อประกอบเสร็จ ชิ้นส่วนนี้จะสามารถเคลื่อนที่ เพื่อให้ตัวเส้นพลาสติก เข้าไปที่หัวฉีดได้ตรงตำแหน่ง

สังเกตุตำแหน่ง ของตัวประคอง ว่าใส่ด้านไหน

หลังจากประกอบชิ้นส่วน 2 ชิ้นนี้เสร็จ ให้เอาท่อ เทฟลอน ที่ติดอยู่ ทำการเสียบเข้าไปที่หัวฉีดและตัวประคองเส้น ซึ่งการใส่ท่อ ก็แค่กดลงไปให้สุด แค่นั้นพอ

Step 5 : ถอดน็อตที่ยึดฐานพิมพ์ออก (สำคัญมาก)

สำหรับขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ห้ามลืมเป็นอันขาด และก็ควรเช็ค 2 รอบ ก่อนที่จะทำการเปิดเครื่อง เพราะถ้าลืม อาจจะทำให้เครื่องเกิดความเสียหายได้ ซึ่งน็อตที่ยึดฐานพิมพ์ จะมีด้วยกัน 3 ตำแหน่ง ให้ใช้ Allen Key หรือประแจ L ถอดน็อตออกให้หมด

น็อต 3 ตัวนี้ ห้ามลืมเด็ดขาด ต้องถอดออกให้หมด

ตัวเครื่องจะมี สติกเกอร์ลูกศรสีแดง ชี้ไปที่ตำแหน่งของน็อต ให้ถอดน็อตทั้ง 3 ตัว ออกให้หมด

Step 6 : แกะสติกเกอร์ที่ติดเครื่องออกให้หมด

สำหรับสติกเกอร์ จะมีแปะไว้ 3 ตำแหน่งด้วยกัน ซึ่งตำแหน่งแรก จะอยู่ที่หัวพิมพ์ ทางโรงงานแปะไว้ เพื่อป้องกันฝาที่ปิดครอบหลุดระหว่างขนส่ง ซึ่งฝาตัวนี้ ใช้แม่เหล็กในการยึด สามารถเปิด-ปิดออกได้ง่าย ในส่วนตำแหน่งที่ 2 จะเป็นสติกเกอร์ที่ยึด สายสำหรับต่อเข้าหน้าจอ LCD ให้ลอกสติกเกอร์ออก เพื่อให้สายสามารห้อยตัวได้ เพื่อให้การต่อหน้าจอ LCD ทำได้ง่ายขึ้น สำหรับตำแหน่งที่ 3 จะเป็นสติกเกอร์ที่ปิด ตรงด้านบน ของช่องใส่ Micro SD Card อันนี้ให้ลอกออก เพื่อที่จะได้ใส่ Micro SD Card สำหรับสั่งงานเครื่องพิมพ์ได้

ลอกสติกเกอร์ สีเขียว ตรงฝาปิดหัวฉีด
สติกเกอร์ในส่วนของสายไฟ ที่ต่อเข้ากับหน้าจอ LCD
สติกเกอร์ที่ปิดช่อง Micro SD card

ตัวเครื่องมี Micro SD card ติดไปกับเครื่องด้วย ทางร้านแนะนำให้ซื้ออันใหม่ มาเปลี่ยนจะดีกว่า เพราะตัวที่มากับเครื่อง ความสามารถในการอ่าน เขียน จะช้า ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้า

Step 7 : ติดตั้งหน้าจอ LCD

ในส่วนของหน้าจอเครื่อง P1P และ P1S จะไม่ได้ใช้น็อตในการยึด แต่จะใช้เดือยและการ สไลด์เข้าไป เพื่อล็อคหน้าจอเข้ากับตัวเครื่อง

การใส่สายไฟเชื่อมเข้ากับหน้าจอ ต้องดูใหัดี เพราะจะมีสลักที่สามารถกดเข้าไปได้แค่ด้านเดียว ลองกดดูที่ภาพ เพื่อจะได้เห็นชัดๆ ว่าใส่สลักเข้าด้านไหน

หลังจากใส่สายไฟเชื่อมกับหน้าจอแล้ว ให้นำหน้าจอใส่เข้าไปที่ช่อง แล้วดันหน้าจอไปทางซ้าย เพื่อล็อคใหหน้าจอ ติดเข้ากับเครื่อง

ดันไปด้านซ้ายจนสุด เพื่อล็อคหน้าจอเข้ากับตัวเครื่อง

หลังจากประกอบหน้าจอเข้ากับเครื่องเสร็จแล้ว สามารถที่จะปรับหน้าจอ หันขึ้น-ลงได้ เพื่อให้เหมาะกับองศาในการใช้งาน

Step 8 : เสียบสายไฟด้านหลัง แล้วเปิดเครื่อง

นำสายไฟที่ไปกับเครื่อง เสียบเข้าด้านหลัง และเปิดสวิตช์ หน้าจอที่ตัวเครื่องจะติด แล้วเข้าสู่โหมดการใช้งานครั้งแรก เพื่อให้ผู้ใช้ทำการ ตั้งค่า ต่างๆ สำหรับการใช้งานคร้งแรก

Step 9 : ใส่ม้วนเส้นพลาสติก ด้านหลังเครื่อง

หลังจากเปิดเครื่องแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกที่แถมไป ใส่เข้าไปที่ด้านหลังของเครื่อง แล้วสอดเข้าไปตามท่อ จนไปถึงหัวฉีด ซึ่งการใส่เส้น แค่ใส่ให้สุดที่หัวฉีด ก็พอ ไม่จำเป็นต้องทำการโหลดเส้น เพราะเวลาใช้เครื่อง ตัวเครื่องจะทำการโหลดเส้นลงไปที่หัวฉีดให้เองโดยอัตโนมัติ

เวลาใส่เส้นให้ดูด้วย ว่าเส้นเข้าไปตามแนวโค้งของท่อ เพื่อให้เส้นเข้าไปที่หัวฉีดได้ง่ายไม่ติดขัด

ตอนใส่เส้นให้ทำการตัดเส้นให้เฉียงประมาณ 45 องศา หรือให้มีความแหลม เพื่อให้เส้นสามารถใส่เข้าไปที่หัวฉีดได้ง่าย การใส่เส้นให้ดันเส้นเข้าไปจนสุด โดยสังเกตุจากท่อเทฟลอนสีขาว ว่ามีเส้นพลาสติกผ่านเข้าไปจนถึงหัวฉีด

Step 10 : ตั้งค่าเครื่อง และ Update เฟิรม์แวร์

ก่อนใช้งานเครื่อง P1P และ P1S ตัวเครื่องปริ้นจะเตือนให้ผู้ใช้ทำการอ่านคู่มือที่มาในกล่อง รวมไปถึงการตั้งค่า ว่าเครื่องใช้อยู่ในโซนไหน และการผูกเครื่องเข้ากับบัญชี ที่สร้างผ่าน App Bambu Handy เพื่อที่จะได้ทำการลงทะเบียนแล้ว Update Firmware

ถ้าไม่ได้ลงทะเบียนและผูกเครื่องเข้ากับบัญขี จะไม่สามารถ Update เฟิรม์แวร์ของเครื่องได้

แจ้งเตือนให้ผู้ใช้อ่านคู่มือก่อนเริ่มใช้เครื่อง
แจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทำการถอดน็อตที่ล็อคฐานพิมพ์เอาไว้ ออกให้หมดก่อนใช้เครื่อง
เลือกโซนที่เครื่องตั้งอยู่ สำหรับประเทศไทยเลือก Asia-Pacific
ทำการ Scan QR code ผ่านโปรแกรม Bambu Handy เพื่อเชื่อมเครื่องเข้ากับบัญชี

เมื่อถึงหน้าจอนี้ ให้ทำการเปิดโปรแกรม Bambu Handy สำหรับใครที่ยังไม่มีหรือยังไม่ได้ติดตั้งสามารถเข้าไปอ่านที่บทความนี้ก่อน แนะนำโปรแกรม Bambu Studio และ Bambu Handy

เมื่อเปิด App Bambu Handy ขึ้นมาแล้ว ให้ทำการ Add Printer ซึ่งก่อนจะทำการ Add ต้องแน่ใจว่า ได้เปิด การใช้งาน Bluetooth ในโทรศัพท์แล้ว เพราะตัว App จะทำการค้นหาเครื่องผ่าน Bluetooth

กดปุ่มมุมขวาบนเพื่อใช้กล้องสแกน QR code
กด Confimr to Bind เพื่อทำการผูกเครื่องเข้ากับบัญชีที่เปิดไว้ก่อนหน้า
เลือกวง WLAN หรือ SSID เพื่อให้เครื่องปริ้น เชื่อมต่อระบบ Wifi
หน้าจอแจ้งเตือน ให้ถอดน็อตที่ฐานพิมพ์ออกก่อน จะทำการ SelfTest

หลังจากที่ผ่านการเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับบัญชีแล้ว ตัวเครื่องจะเริ่มทำการ Self Test โดยอัตโนมัติ ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ​ 10 นาที ฐานพิมพ์จะมีการขยับ ยกตัวขึ้น เพื่อให้หัวฉีดทำการ Calibrate

เครื่องจะทำการ Self Test หลังจากการกดปุ่ม Start
ช่วงที่ฐานพิมพ์ขยับขึ้นไปด้านบน ก็ให้เอาโฟมกันกระแทกออกได้

ตอนที่ฐานพิมพ์ขยับขึ้นไปด้านบน ให้เอาโฟมที่อยู่ด้านล่างออก เวลาที่เครื่องทำ Self Test จะมีการขยับของหัวฉีด รวมถึงบางครั้งจะมีอาการสั่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตกใจ เพราะตัวเครื่องกำลังใช้เซนเซอร์วัดค่าต่างๆ

หลังจากเครื่องผ่านการ Self Test เสร็จแล้ว ถ้าไม่มีการทำอะไรภายใน 20 วินาที ตัวเครื่องจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการ Update Firmware

หน้าจอแสดง ว่ามี Firmware ใหม่มาให้ Update ให้กดปุ่ม OK เพื่อเป็นการยืนยัน
หน้าจอแสดงผล ในกรณีที่เครื่อง Update Firmware เรียบร้อยแล้ว

หลังจาก Updater เป็น Firmware แล้ว ก็สามารถใช้เครื่องได้เลย ซึ่งตัวเครื่องจะมีไฟล์ตัวอย่างสำหรับใช้เทสพิมพ์ อยู่ใน Micro Sd Card สามารถเลือกไฟล์นำมาพิมพ์เทสได้เลย แต่เส้นที่จะใช้เทสพิมพ์ จะต้องเป็นเส้นพลาสติก PLA เท่านั้น

Updated on 20/07/2023

Was this article helpful?

Related Articles