ก่อนที่จะใช้เริ่มใช้เครื่อง ลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับเครื่อง รวมไปถึงส่วนประกอบของเครื่อง ว่ามีอะไรบ้าง เวลาใช้งานแล้วมีปัญหา จะได้สอบถามและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของร้านได้ตรงจุด
ในส่วนของเครื่อง Bambulab X1 Series จะมีเครื่องรุ่นย่อย ดังต่อไปนี้
- Bambulab X1
- Bambulab X1 Carbon
- Bambulab X1 Carbon Combo
เครื่อง Bambu Lab X1 ทำงานอย่างไร?
เครื่อง X1 Series เป็นเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ FDM ที่ใช้พลาสติกเป็นหมึกในการฉีดขึ้นเป็นรูปโมเดล 3 มิติ ซึ่งตัวเครื่องจะทำงานร่วมกันกับโปรแกรม Slicer ที่ชื่อว่า Bambu Studio
สำหรับโมเดลที่ใช้พิมพ์นั้นจะมีนามสกุล STL / OBJ หรือ 3MF ซึ่งไฟล์พวกนี้ สามารถหามาได้จากหลายทาง ตั้งแต่เขียนขึ้นมาเอง โดยใช้โปรแกรมออกแบบ จำพวก Tinkercad / Blender / Fusion 360 / Solidwork / Autocad 3D / Onshpae รวมถึงโปรแกรมออกแบบ 3 มิติจำพวกอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ สามารถที่จะบันทึกไฟล์ออกมาเป็นนามสกุล STL / OBJ / 3MF ได้
นอกจากเขียนเองแล้ว ยังสามารถที่จะหาไฟล์ได้จากแหล่ง Download ใน Internet ซึ่งตอนนี้ ก็มีให้เลือกหลาย Web สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ “7 เว็บแจกไฟล์ 3D ยอดนิยม”
ไฟล์ที่ Download หรือเขียนขึ้นมาเอง จะต้องผ่านโปรแกรม Slicer ที่มากับเครื่องก่อน ซึ่งตัวโปรแกรม Slicer จะมีหน้าที่แปลงไฟล์ที่เป็นรูป 3 มิติ ให้กลายเป็น Code สำหรับให้เครื่องปริ้นอ่าน
ส่วนประกอบสำคัญของเครื่อง X1 Series
เครื่องที่ใช้พลาสติกในการขึ้นรูป หรือที่เรียกว่า FDM 3D printer นั้น ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน แต่จะแตกค่างกันในส่วนของ ระบบการเคลื่อนที่ / ชนิดของหัวฉีดและฐานพิมพ์
เคลื่อนที่หัวฉีดด้วยระบบ Core XY
สำหรับการเคลื่อนที่ของเครื่อง Bambu Lab ทุกรุ่น จะใช้การเคลื่อนที่แบบ Core XY ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องยี่ห้อนี้ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องสามารถพิมพ์งานได้เร็ว ซึ่งระบบ Core XY จะเป็นการเคลื่อนที่ โดยการใช้มอเตอร์ 2 ตัว ที่เชื่อมต่อกันด้วยการวางสายพานแบบไขว้กัน ซี่งการเคลื่อนที่ในแต่ละครั้ง ตัวมอเตอร์ทั้ง 2 ตัวจะต้องหมุนไปด้วยกัน

ตำแหน่งของมอเตอร์ของระบบ Core XY ของเครื่อง Bambu จะอยู่ด้านหลังเครื่อง ซึ่งสามารถปรับตั้งความตึงและหย่อนของสายพานได้
แกนขึ้นลง Z-Axis
สำหรับการเคลื่อนที่ของฐานพิมพ์นั้น ตัวเครื่อง จะใช้ Lead Screw จำนวน 3 ตัว ด้านหน้า 2 ตัวและด้านหลัง 1 ตัว ในการยกฐานพิมพ์ ขึ้นและลง ซึ่งแกน Lead Screw จะถูกผูกเชื่อมกันดัวยสานพาย 1 เส้น และใช้มอเตอร์แค่ตัวเดียว ในการขยับฐาน
ชุดหัวพิมพ์
หัวพิมพ์ของเครื่อง Bambu Lab จะเป็นระบบ Direct Drive ซึ่งตัวหัวฉีด Hotend กับตัวดันเส้น Extruder นั้นอยู่ติดกัน ชุดหัวพิมพ์จะมีฝาครอบปิดอยู่ สามารถเปิดได้ ไม่ต้องใช้เครื่องมือ เพราะฝาครอบถูกยึดติดด้วยแม่เหล็ก ด้านหน้ามีพัดลมสำหรับเป่าชิ้นงานที่กำลังพิมพ์ ส่วนด้านข้างจะมี Lidar Sensor

ชุดดันเส้น Extruder และหัวฉีด Hotend
สำหรับ Extruder หรือตัวดันเส้น จะอยู่ด้านบนหัวฉีด มีหน้าที่ดันเส้นพลาสติกลงไปที่หัวฉีด ซึ่งชุดดันเส้นของเครื่อง X1 จะใช้เฟืองเกียร์คู่ ที่มีการเซาะร่องให้มีฟัน เพื่อขบเส้นพลาสติก ตัวเฟืองเกีนร์จะมีการทดรอบ เพื่อเพิ่มแรงอัด ในการดันเส้นไปที่หัวฉีด และยังช่วยให้การดึงและดันเส้นมีความละเอียด และแม่นยำ

ในส่วนของหัวฉีดหรือ Hotend ที่มากับหัวฉีด แบบ Unibody ที่รวมหัวฉีด กับซิงค์ระบายความร้อนเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว หัวฉีดเป็นแบบ All Metal ที่ใช้โลหะทั้งหมด ตัวหัวฉีดทำความร้อนได้สูงถึง 300 องศา ทำให้สามารถพิมพ์พลาสติกได้หลากหลายชนิด

ฐานทำความร้อน Heated Bed
ตัวเครื่องมาพร้อมกับ ฐานทำความร้อน ที่สามารถทำความร้อนได้สูงสุด 110 องศา ฐานทำความร้อน มีประโยชน์อย่างมาก เวลาที่พิมพ์พลาสติกวิศวกรรม จำพวก PETG / ABS / ASA และ PC เพราะจะช่วยให้งานไม่หลุดจากฐาน เพราะพลาสติกเหล่านี้ มีการหดตัวที่สูงมาก ซึ่งด้านบนฐานทำความร้อน เป็นแม่เหล็กยาง สำหรับวางแผ่นรองปริ้น
แผ่นรองปริ้น Build Plate
ตัวเครื่อง Bambu Lab X1 Series จะมีแผ่นรองปริ้น ที่ใช้ได้ 2 หน้า ซึ่งตัวแผ่นรองปริ้น จะวางบนฐานทำความร้อนอีกที ตัวแผ่นทำจากเหล็กสปริง แล้วติดด้วยสติกเกอร์แบบพิเศษที่ช่วยให้พลาสติกติดที่ฐาน เวลาปริ้นงานเสร็จ ก็แค่ยกแผ่นรองปริ้นออก แล้วบิดแผ่นไปมา เพื่อให้ชิ้นงานหลุดออกจากแผ่น
ด้าน Cool Plate จะใช้กับเส้นพลาสติก PLA ซึ่งด้านนี้ จำเป็นต้องทากาว ที่แถมไปกับเครื่อง ก่อนที่จะปริ้นงาน เวลาใช้ด้าน Cool Plate ความร้อนที่ฐานจะไม่ทำงาน ถ้าไม่ทากาว งานจะติดแน่นเกินไป จนบางที่ ไม่สามารถเอางานออกได้ กาวที่ใช้ สามารถที่จะใช้กาว UHU หรือ กาว Magigoo ที่ทำมาสำหรับ 3D printer โดยเฉพาะก็ได้

ด้าน Engineering Plate จะเอาไว้สำหรับพิมพ์พลาสติก จำวพก ABS / PC / TPU และ ไนลอน PA หรือจะใช้กับเส้น PLA ก็ได้ แต่ต้องเปิดความร้อนที่ฐานด้วย

ระบบเป่าลม Cooling System
จุดที่เด่นมากๆของเครื่อง Bambu Lab ก็คือการปริ้นงานที่รวดเร็วกว่าเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งการพิมพ์เร็ว จะมีปัญหาได้ ถ้าไม่มีพัดลมคอยเป่าให้ชิ้นงานที่พิมพ์เย็นก่อน ที่จะพิมพ์ชั้นใหม่ลงไป ซึ่งเครื่อง X1 Series จะมีพัดลมสำหรับเป่างานอยู่ 2 ตัวด้วยกัน
ตัวแรกอยู่ที่ชุดหัวพิมพ์ ตรงฝาครอบ ซึ่งพัดลมตัวนี้จะเป็นตัวที่อยู่ใกล้ชิ้นงานที่พิมพ์ ซึ่งการเปิด ปิดของพัดลมตัวนี้ จะเป็นแบบอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับพลาสติกที่ใช้ รวมไปถึงรูปแบบของงาน ก็เป็นตัวกำหนดความแรงของลมที่เป่าออกมา

ตัวทีสองอยู่ ด้านข้างของเครื่อง พัดลมตัวนี้เรียกว่า Aux Fan ซึ่งจะเป็นพัดลม Blower ตัวใหม่ ที่สามารถเปิด ปิดได้ด้วยผู้ใช้ หรือจะให้โปรแกรม เป็นตัวกำหนดก็ได้ ซึ่ง พัดลม Aux Fan ส่วนใหญ่จะใช้คู่กับเส้นพลาสติก PLA เพราะเป็นเส้นที่ร้อนเร็ว แต่เย็นช้า ซึ่งถ้าไม่มีพัดลมตัวนี้ งานที่พิมพ์ออกมาอาจจะย้วย เสียรูปได้

อุปกรณ์ด้านหลังเครื่อง
สำหรับด้านหลังเครื่องของรุ่น X1 Series นั้นจะมีส่วนประกอบดังนี้
- ตัวตั้งสายพาน (Belt Tensioners)
- พัดลมระบายความร้อนในห้องพิมพ์ (Chamger Temperature Control Fan)
- ช่องทิ้งเศษพลาสติกจากหัวฉีด (Excess Chute)
- ตัวป้อนเส้นเข้า AMS สำหรับรุ่น X1 Carbon Combo (Filament Buffer)

ตัวตั้งสายพาน เอาไว้สำหรับตั้งความตึงและหย่อนของสานพาน จะตั้งก็ต่อเมื่อ มีเส้นริ้วรอยเป็นชั้นปรากฎบนงานที่พิมพ์ออกมา สำหรับพัดลมระบายความร้อนในห้องพิมพ์ จะทำงานแบบอัตโนมัติ สำหรับดึงความร้อนออกจากเครื่อง เพื่อรักษาความร้อนในห้องพิมพ์
สำหรับช่องทิ้งเศษจะเป็นช่องที่ปล่อยเศษพลาสติกที่ฉีดออกมาจากหัวฉีด ตัวเครื่อง Bambu Lab จะมีการฉีดเส้นพลาสติกทิ้งก่อนจะเริ่มพิมพ์ หรือถ้าเป็นการพิมพ์หลายสี หัวฉีดก็จะมาฉีดทิ้งเพื่อเคลีย์สีเส้นที่ค้างในหัว ให้เป็นเส้นสีใหม่ ก่อนจะเรี่มพิมพ์ต่อ
อุปกรณ์ตัวสุดท้ายที่อยู่กลางเครื่อง เรียกว่า Filament Buffer อุปกรณ์ชิ้นนี้ จะมีเฉพาเครื่องรุ่น Combo ที่มีตัว AMS ไปกับเครื่อง หน้าที่ของอุปกรณ์ตัวนี้ จะคอยดึงเส้นพลาสติกที่อยู่ในกล่อง AMS มารอไว้ ก่อนที่ชุดดันเส้น Extruder ในหัวฉีดจะทำการดึงเส้นไปใช้ ช่วยให้มอเตอร์ดันเส้นทำงานไม่หนักเกินไป
ระบบอิเล็กทรอนิคส์ และเซนเซอร์ต่างๆ
เครื่อง Bambu Lab X1 Series จะเป็นเครื่องรุ่น Top ซึ่งจะมีการใช้บอร์ดควบคุมและเซนเซอร์มาช่วยให้การใช้เครื่อง ไม่ยุ่งยาก ใม่จุกจิก
Logic Board
บอร์ดที่ใช้กับเครื่อง Bambu Lab รุ่น X1 Series จะเป็นบอร์ดที่ใช้ CPU ความเร็วสูง และมี MCU แบบ Dual Core เพื่อช่วยประมวลผลข้อมูลที่มาจากเซนเซอร์ภายในเครื่อง ตัว CPU มีระบบ AI ที่ช่วยในการ Detect และตรวจจับงานที่พิมพ์อยู่ ว่าหลุดจากฐาน หรือว่า งานพิมพ์เสียไม่เป็นรูปร่าง
ถ้าตรงจเจอ ตัวเครื่องจะมีการแจ้งเตือนไปให้ผู้ใช้งาน ผ่าน App Bambu Handy รวมไปถึงสั่งหยุดการพิมพ์ได้เอง
Micro Lidar
หนึ่งในนวัตกรรม ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของเครื่อง Bambu Lab ก็คือ Lidar เซนเซอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับวัดระยะ และความลึก ซึ่งเซนเซอร์ตัวนี้ ทาง Bambu นำมาประยุกต์ใช้ เพื่อหาค่าที่เหมาะสมในการฉีดเส้นพลาสติก ตัวเซนเซอร์จะอยู่ด้านข้างของชุดหัวฉีด
ตัวเครื่องรุ่น X1 ก่อนพิมพ์งานจะทำการฉีดเส้นเทส ขึ้นมา 4 เส้น แต่ละเส้นฉีดด้วยแรงดันที่ต่างกัน ซึ่งพอฉีดเส้นเทสเสร็จ ตัว Lidar ที่อยู่ติดกับหัวฉีด ก็จะเข้ามา เพื่อทำการสแกนเส้น เพื่อหาเส้นที่ฉีดออกมา สม่ำเสมอที่สุด แล้วจำค่าที่ฉีดเส้นนั้น เอามาใช้สำหรับพิมพ์งาน
กล้องสำหรับ Monitor
ด้านในเครื่อง X1 Series จะมีกล้องติดตั้งอยู่ ซึ่งกล้องตัวนี้ มีหลายหน้าที่ ดังนี้
- ตรวจสอบงานปริ้นว่าเสีย หรือไม่เสีย ที่เรียกว่า Spaghetti Detection
- ดูการทำงานจากระยะไกลแบบ Real Time ผ่านโปรแกรม Bambu Studio หรือ App Bambu Handy
- อัดวิดีโอ Timelapse

ตัวกล้องจะทำงานอยู่ตลอดแล้วคอยส่งข้อมูลไปที่ Logic Board ที่มีระบบ AI ซึ่งจะคอยดูว่า งานที่กำลังปริ้นอยู่หลุดจากฐาน หรือมีเส้นฝอยออกมา ไม่ติดกับงาน ที่เรียกว่า เส้น สปาเก็ตตี้ ซึ่งถ้ากล้องตรวจจับเจอ ก็จะส่งข้อความไปให้ผู้ใช้ผ่าน App Bambu Handy เพื่อจะสั่งหยุดแบบ Remote ทางไกลได้เลย