1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Crealtiy Ender 3 V3 SE
  4. แนะนำโปรแกรม Creality Print
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Creality Print
  4. แนะนำโปรแกรม Creality Print
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Creality Ender S1 Pro / S1 Plus
  4. แนะนำโปรแกรม Creality Print
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Creality Ender 3 V2 Neo
  4. แนะนำโปรแกรม Creality Print

แนะนำโปรแกรม Creality Print

โปรแกรม Slicer ตัวล่าสุดของทาง Creality ที่พัฒนา UX และ UI ขึ้นมาใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานเครื่อง 3D Printer ของ Creality รุ่นใหม่ๆ ตัวโปรแกรมรองรับทั้งเครื่องรุ่น CR10 / Ender 3 รวมไปถึงรุ่น K1 และ S1 นอกจากนั้น ตัวโปรแกรม ยังสามารถที่จะเชื่อมต่อกับ Creality Cloud ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานเครื่อง Creality ทำได้ง่ายมากขึ้น สามารถ Remoter เพื่อเข้ามาดูการทำงานของเครื่องผ่านกล้อง หรือจะส่งไฟล์จากที่ไหนก็ได้ เพื่อสั่งให้เครื่องทำงาน

สามารถ Download โปรแกรม Creality Print ที่เว็บของทาง Creality ซึ่งจะมีให้เลือกใช้กับทั้งฝั่ง Windows / Mac OS และ Linux

กดลูกศรลง เพื่อเลือกเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นล่าสุด จะอยู่ด้านบนสุด

สเปคของคอมพิวเตอร์ที่แนะนำ

  1. การ์ดจออย่างน้อยต้องรองรับ Open GL 4.1
  2. ความละเอียดหน้าจอ 1920 x 1080
  3. CPU ที่ใช้ขั้นต่ำควรเป็น Inter Core i3 หรือ AMD Atlon 64
  4. พื้นที่ว่างใน Harddisk ต้องมีอย่างน้อย 600 MB
  5. หน่วยความจำ RAM อย่างน้อย 8GB

โปรแกรม Creality Print พัฒนามาให้ใช้กับระบบปฎิบัติการ 64 Bits ไม่สามารถใช้กับระบบ 32 Bits

นามสกุลไฟล์ที่รองรับ

สำหรับไฟล์โมเดล 3 มิติ ที่ตัวโปรแกรมรองรับ ที่สามารถเอาเข้ามาใช้ใน Crealtiy Print ได้ จะต้องมีนามสกุลของไฟล์ตามนี้

  1. ไฟล์โมเดล 3 มิติ นามสกุล .STL / .OBJ
  2. ไฟล์รูปภาพ นามสกุล .BMP / ..JPG / .JPEG / .PNG
  3. ไฟล์โปรเจค Creality นามสกุล .CXPRJ
  4. ไฟล์สั่งงานเครื่องปริ้น นามสกุล .G-Code

ตัวโปรแกรมรองรับไฟล์รูปภาพ สำหรับการแปลเป็นภาพ Lithoplane เท่านั้น ไม่สามารถแปลงรูปให้เป็นโมเดล 3 มิติได้

เริ่มพิมพ์งานชิ้นแรก

ก่อนที่จะไปเจาะลึก การใช้งานโปรแกรม Creality Print อย่างละเอียด ลองมาทดลองใช้โปรแกรมแบบง่ายๆ กันก่อน เพื่อจะเอาไฟล์ที่ได้จากโปรแกรม ไปลองพิมพ์กับเครื่อง และในระหว่างที่เครื่องกำลังปริ้นอยู่ ก็มาศึกษาการใช้โปรแกรม Crealtiy Print อย่างละเอียดและเจาะลึกกัน

เลือกรุ่นเครื่อง

หลังจากที่ลงโปรแกรมแล้ว เวลาเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรก ต้วโปรแกรมจะให้เลือกรุ่นเครื่องที่จะใช้ เวลาเลือกก็ให้ Series ของเครื่องก่อน ว่าเป็นเครื่องในตระกูลไหน หลังจากเลือกได้ก็ให้กดปุ่ม Add ตัวโปรแกรมก็จะให้เลือกขนาดรูหัวฉีดที่จะใช้กับเครื่องรุ่นที่เลือก

วิดีโอสอนการเลือกรุ่นเครื่อง

สำหรับการเลือกรูหัวฉีด จะมีให้เลือกเฉพาะในบางรุ่น เช่นรุ่น K1 Max จะมีให้เลือก 0.4 / 0.6 / 0.8 เนืองจากโปรแกรม Creality Print มีการตั้งค่า Profile สำหรับเครื่องแต่ละรุ่นมาแล้ว

นำเข้าไฟล์โมเดล 3 มิติที่ต้องการพิมพ์

หลังจากเลือกเครื่องเสร็จแล้ว ต่อไปก็ให้เอาไฟล์ที่อยากจะทดลองพิมพ์เข้ามา ซึ่งตัวไฟล์ ถ้ายังไม่มี หรือเขียนไม่เป็น ก็แนะนำให้ไป Download ที่เขาแจกฟรี สามารถเข้าไปเลือกดูได้ 7 เว็บแจกไฟล์ 3D ยอดนิยม

แนะนำให้เลือกไฟล์ที่ไม่ซับซ้อน เอารูปทรงง่ายๆก่อน เพราะการทดลองพิมพ์ในครั้งนี้ จะไม่ตั้งค่าอะไรมาก

สำหรับการเอาไฟล์เข้า ให้กดที่คำว่า Open File แล้วเลือกไฟล์ที่โหลดมาได้เลย

ตัวอย่างวิดีโอการเอาไฟล์ 3 มิติเข้ามาในโปรแกรม

การเลือกเส้นพลาสติกและความละเอียดที่จะใช้พิมพ์

เมื่อได้ไฟล์แล้ว ให้เลือกตามลำดับเลข คือ

  1. เลือกรุ่นเครื่องที่จะใช้
  2. เลือกชนิดเส้นพลาสติกหรือ Filament ที่จะใช้พิมพ์
  3. เลือกค่า Preset หรือความละเอียดที่จะใช้
  4. กดปุ่ม Slice

ในกรณี ที่มีเครื่องหลายรุ่น ให้เลือกเครื่องที่จะใช้งาน ต้องเลือกให้ตรง เพราะค่าค่างๆ ในการพิมพ์ จะถูกนำไปใช้ ถ้าเลือกผิด ชิ้นงานอาจจะปริ้นแล้วเสีย หรือไม่สวย ส่วนเส้นพลาสติก แนะนำให้เลือกเป็น CR-PLA ไปก่อน เพราะเป็นเส้นที่พิมพ์ง่ายที่สุด เหมาะกับมือใหม่ สำหรับความละเอียด ถ้าเลือก High Quality ก็จะใช้เวลาพิมพ์นานขึ้น แต่งานก็จะสวยกว่าการเลือก Normal

การ Preview เพื่อดูทางเดินหัวพิมพ์

หลังจากกดปุ่ม Slice ตัวโปรแกรม ก็เอาค่า Parameter ที่เลือกไว้ รวมถึงชนิดเส้นพลาสติก ที่จะใช้มาคำนวนและแปลงเป็นทางเดินหัวพิมพ์ เพื่อสั่งให้เครื่องทำงาน ซึ่งหน้านี้จะเรียกว่า Preview เป็นหน้าที่ผู้ใช้ สามารถที่เลื่อนดูการขึ้นรูปโมเดลแบบชั้นต่อชั้นได้ โดยการเลื่อนแทบ

วิดีโอแสดงการเลื่อนแถบสไลด์เพื่อดูการพิมพ์ในแต่ละชั้น

การบันทึกไฟล์สำหรับสั่งพิมพ์ที่เครื่อง

หลังจากดูทางเดินหัวพิมพ์แล้ว ก็ให้ทำการบันทึกไฟล์ที่จะพิมพ์ลงใน USB หรือ SD card ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นเครื่องที่ใช้ โดยให้ทำตามลำดับ

  1. กด Export to Local
  2. ตั้งชื่อไฟล์ ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามเกิน 20 ตัวอักษร
  3. เลือก Drive USB / SD card แล้วกด Save

เครื่อง Creality บางรุ่น ไม่สามารถอ่านไฟล์ใน Folder แนะนำให้ บันทึกลงไปเลย โดยไม่ต้องสร้าง Folder ขั้นมา

หลังจากได้ไฟล์แล้ว ก็สามารถนำไปเสียบที่เครื่องแล้ว สั่งปริ้นงานได้เลย ช่วงเวลาที่ปริ้นงานอยู่ ก็ลองมาหาเข้ามาศึกษาการใช้งานโปรแกรม Creality Print แบบเจาะลึกกันได้ ซึ่งจะมีอธิบายในหลายๆส่วน รวมไปถึงการ Calibration สำหรับเส้นพลาสติก ประเภทต่างๆ ที่ต้องใช้กับเครื่องรุ่น K1 Series ที่เน้นพิมพ์งานเร็ว

Updated on 19/10/2023

Was this article helpful?

Related Articles