1. Home
  2. Knowledge Base
  3. กล่อง AMS สำหรับ BambuLab
  4. แนะนำกล่อง AMS ใช้กับรุ่น X1 และ P1

แนะนำกล่อง AMS ใช้กับรุ่น X1 และ P1

สำหรับคนที่ใช้ตัว AMS หรือ Automated Material System ซึ่งเป็นกล่องที่สามารถป้อนและสลับเส้นพลาสติกเข้าไปที่ตัวเครื่อง Bambu Lab สามารถใช้ได้กับเครื่อง Bambu Lab ทุกรุ่น ทั้งรุ่น P1P / P1S / X1C ซึ่งข้อดีของการใช้ AMS จะช่วยยกระดับ การใช้งานเครื่อง ให้มากขึ้น สามารถพิมพ์งานหลายสี หรือจะพิมพ์เส้นพลาสติกต่างชนิดกัน ในโมเดลตัวเดียวกันได้

ก่อนที่จะใช้กล่อง AMS ลองมาทำความเข้าใจใหลักการทำงาน รวมไปถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมา

ตัวเครื่อง AMS ทำงานอย่างไร ?

ตัว AMS ถือว่าเป็นอุปกรณ์เสริม ที่ต้องมีการจ่ายไฟ เพื่อให้สามารถทำงานได้ ซึ่งตัว AMS จะทำได้งานได้สมบูรณ์ จะต้องผ่านอุปกรณ์เหล่านี้

  • ช่องป้อนเส้นพลาสติก (Filament Solt)
  • อุปกรณ์รวมและจ่ายเส้น (Filament Hub)
  • อุปกรณ์ช่วยดีงเส้นพลาสติก (Filament Buffer)

นอกจากอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีเซนเซอร์อีกเกือบ 10 ตัว ที่จะคอยช่วยตรวจสอบการทำงาน ที่สามารถเช็คได้ว่า เส้นที่ป้อนเข้าไป มีหัก / งอ หรือติดขัดด้านใน AMS ซึ่งตัว AMS จะทำงานรวมกับเครื่อง Bambu Lab ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ ตัวเครื่องปริ้นจะหยุดโดยอัตโนมัติ เพื่อรอให้ผู้ใช้มาแก้ไข

ช่องป้อนเส้นพลาสติก (Filament Solt)

กล่อง AMS 1 ตัว จะมีช่องใส่และป้อนเส้นจำนวน 4 ตัว ซึ่งสามารถใส่เส้นพลาสติก Filament ได้ 4 ม้วน และในแต่ละช่อง จะมีมอเตอร์ในการควบคุมการป้อนเส้นเข้าไปที่หัวฉีด สามารถที่จะดันเส้น ในเวลาที่ต้องการใช้ และดึงเส้นออกเวลาที่ไม่ได้ใช้

AMS 1 ตัวจะสามารถใส่เส้นได้ 4 ม้วน

นอกจากนั้นตัวป้อนเส้น จะมีเซนเซอร์ที่คอยตรวจจับเส้นพลาสติก ถ้ามีเส้นผ่านเซนเซอร์เข้าไป ตัวมอเตอร์ก็จะเริ่มกระบวนการโหลดเส้นให้แบบอัตโนมัติ

อุปกรณ์รวมและจ่ายเส้น (Filament Hub)

ชิ้นส่วนตัวนี้ จะอยู่ด้านใต้ ไม่สามารถมองเห็นได้ ถ้าจะเอาออกมา จำเป็นต้องยกตัว AMS ทั้งหมดขึ้นมาจากกล่อง สำหรับตัว Filament Hub จะเป็นตัวสำคัญที่จะเลือกว่า จะเอาเส้นพลาสติกในช่องไหน เข้าไปที่หัวฉีด

ต้องยก AMS ออกมา ถึงจะเป็นอุปกรณ์ชิ้นนี้

ซึ่งภายในตัว Filament Hub จะมีทั้งมอเตอร์ สำหรับป้อนเส้นไปที่หัวฉีดที่อยู่ในเครื่อง รวมไปถึงดึงเส้นกลับ เวลาเปลี่ยนเส้น และยังมี Encoder คอยตรวจสอบระยะทาง ที่ป้อนเส้นพลาสติก เพื่อใช้เป็น Feed Back ในการดึงเส้นกลับ ถ้ามีการเปลี่ยนเส้น ไปใช้ช่องอื่น

อุปกรณ์ช่วยดีงเส้นพลาสติก (Filament Buffer)

สำหรับอุปกรณ์ชิ้นนี้ จะอยู่ด้านหลังของเครื่องพิมพ์ มีหน้าที่ คอยสั่งให้มอเตอร์ที่อยู่ใน AMS คอยป้อนเส้น รวมไปถึงเช็คเส้นให้หัวฉีด ว่ามีเพียงพอ สำหรับการฉีดเส้นออกมาไหม ถ้าไม่พอ ก็จะสั่งให้มอเตอร์ใน AMS ทำการป้อนเส้นมาเพิ่ม

ตัว Buffer อยู่ด้านหลังเครื่อง

ข้อดีของตัว Filament Buffer คือช่วยลดแรงดึงเส้นจากหัวฉีด ถ้าไม่มีอุปกรณ์ตัวนี้ มอเตอร์ดันเส้น ที่หัวฉีด ต้องใช้กำลังมากในการดึงเส้นที่อยู่ในกล่อง AMS

หมั่นสังเกตุตัวสปริงที่อยู่ด้านใน Filament Buffer ว่าไม่บิดเบี้ยว เพราะถ้าสปริงเสียรูป อาจจะทำให้การดึงเส้น ผิดปกติ แล้วทำให้งานที่ปริ้นอยู่เสีย

AMS ต่อได้มากกว่า 1 ตัว

จุดเด่นอีกอย่างของเครื่อง Bambu Lab คือ สามารถที่จะต่อ กล่อง AMS ได้มากถึง 4 ตัว ทำให้สามารถใส่เส้นพลาสติกได้มากถึง 16 ม้วน ซึ่งการที่จะต่อกล่อง AMS เพิ่มจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า AMS hub

AMS Hub

สำหรับ AMS Hub จะต่อได้ จำเป็นต้องถอด AMS buffer ตัวเก่าออกก่อน แล้วเอา AMS Hub ไปใส่แทน ซึ่งตัว AMS Hub จะทำหน้าที่เป็น Buffer ในตัว แต่จะมีช่องสำหรับเสียบท่อไปที่กล่อง AMS จำนวน 4 ช่อง ในส่วนของการจ่ายไฟไปที่ กล่อง AMS จะทำได้ด้วยการเสียบสาย ระหว่างกล่อง AMS ด้วยกันเอง

AMS Hub สามารถใส่แทน Filament buffer ได้เลย
การจ่ายไฟ ทำได้ด้วยการต่อสายผ่านกล่อง AMS ของกันละกัน

ข้อดีของการใช้กล่อง AMS

ตัวกล่อง AMS นอกจากจะทำหน้าที่เป็นตัวเลือกเส้นพลาสติก ส่งไปที่หัวฉีดแล้ว ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เป็นกล่องสำหรับเก็บเส้นพลาสติก เพื่อป้องกันความชื้นและฝุ่น ตรงฝาปิดครอบกล่องด้านล่าง จะมีซีลยาง ที่ช่วยป้องกันอากาศเข้าไป ยิ่งอากาศเข้าไปได้น้อย เส้นก็จะไม่ชื้น ทำให้งานพิมพ์ไม่มีใยแมงมุม ด้านในกล่อง AMS ยังมีช่องสำหรับใส่ Silica Gel หรือตัวช่วยดูดความชื้น

นอกจากป้องกันความชื้นได้แล้ว ยังป้องกันฝุ่นได้อีกด้วย

ในกล่อง AMS มีเซนเซอร์ที่สามารถวัดความชื้นภายใน ซึ่งจะแสดงเป็นรูปไอคอน ในหน้าจอของเครื่อง ถ้าเป็นสีเขียว หมายความว่า ความชื้นต่ำ แต่ถ้าเป็นสีแดง แปลว่า ความชื้นสูง ให้ทำการเปลี่ยน ตัวดูดความชิ้น หรือ ผง Silica Gel

สำหรับคนที่ใช้เส้นชอง Bambu Lab จะยิ่งสะดวกมากขึ้น ถ้าใช้กับกล่อง AMS เพราะเส้น Bambu จะมีการวางชิฟ RFID ไปที่ม้วนเส้นด้วย ซึ่งตัว AMS ก็จะมีตัวอ่าน RFID เมื่อทำการป้อนเส้น Bambu Lab เข้าไป ตัว AMS ก็จะสื่อสารกับเครื่องพิมพ์ แล้วป้อนข้อมูลของเส้นเข้าไปให้เอง โดยอัตโนมัติ

ถ้าใช้เส้นยี่ห้ออื่น จำเป็นต้องกรอกข้อมูลของเส้นพลาสติกที่ใส่ เข้าไปเอง

ข้อควรระวังสำหรับการใช้กล่อง AMS

การใช้งานกล่อง AMS ให้ระวังเรื่องของคุณภาพของเส้นพลาสติกที่ใช้ด้วย เพราะถ้าใช้เส้นที่มีคุณภาพต่ำ มีปัญหาเรื่องขนาดเส้นที่ไม่เท่ากัน อาจจะทำให้เส้นที่ป้อนเข้าไป ติดอยู่ด้านใน นอกจากนั้น ถ้าเส้นพลาสติกมีความชื้นมากๆ ก็ไม่ควรใช้กับกล่อง AMS เพราะเส้นที่ชื้น จะมีความเปราะและหักง่าย ทำให้มีปัญหาในการป้อนเส้นเข้าไปที่เครื่อง ซึ่งถ้าเส้นหักคาอยู่ด้านใน ก็อาจจะต้องรื้อกล่อง AMS เพื่อเอาเส้นออก ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน

สำหรับขนาดและม้วนเส้นที่ใช้ ต้องมีความกว้างระหว่าง 50 – 68 มิลลิเมตร และความโตของม้วนเส้นต้องอยู่ระหว่าง 197-202 มิลลิเมตร

ห้ามใส่เส้น TPU / PVA รวมไปถึงเส้นที่มีความนิ่มมากๆ ในกล่อง AMS เพราะเส้นอาจจะไปพันกับชุดเฟืองป้อนเส้น และทำให้เกิดความเสียหายได้ สำหรับเส้น Composite ที่ผสมคาร์บอนไฟเบอร์ กับใยแก้ว ก็ไม่แนะนำให้ใช้บ่อยๆ เพราะอาจจะทำให้เฟืองที่ดันเส้นพลาสติก เกิดการสีกหรอได้

สำหรับม้วนเส้นพลาสติก ที่ใช้กระดาษ ถ้าจะใช้กับกล่อง AMS แนะนำให้พิมพ์ตัว Adapter ที่เป็นพลาสติกมาครอบบนแกนกระดาษอีกที เพราะถ้าใช้ม้วนกระดาษวางลงไปในกล่อง AMS อาจจะทำให้เกิดการเสียดสี ระหว่างลูกยากและกระดาษ จนเกิดฝุ่นด้านใน ซึ่งตัวฝุ่นอาจจะไปเกาะที่เซนเซอร์ที่อยู่ในเครื่อง แล้วทำให้การอ่านค่า ต่างๆมีความผิดพลาด

ตัวครอบม้วนกระดาษ ป้องกันการเสียดสี

สำหรับคนที่ใช้เส้นพลาสติก ยี่ห้อ Polymaker สามารถที่จะไปโหลดตัวครอบ Adapter แกนกระดาษได้ที่ Link นี้ พิมพ์ออกมาแล้ว จะใส่ได้พอดีกับม้วน แนะนำให้ใช้เส้น PETG ในการพิมพ์ Adapter ชิ้นนี้

Updated on 20/07/2023

Was this article helpful?

Related Articles