1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Bambu Studio
  4. แนะนำหน้าตาและเครื่องมือโปรแกรม Bambu Studio

แนะนำหน้าตาและเครื่องมือโปรแกรม Bambu Studio

สำหรับโปรแกม Bambu Studio นั้นเป็นโปรแกม Slicer ที่พัฒนาต่อยอดมาจากโปรแกรม Slic3R ซึ่งเป็นโปรแกรมตัวเดียวกันกับ ที่ใช้ในโปรแกรม Prusa Slicer ซึ่งถ้าใครเคยใช้ Prusa Slicer มา ก็จะสามารถใช้โปรแกรมตัวนี้ได้เหมือนๆครับ แค่หน้าต่าง และตำแหน่งของเครื่องมือ อาจจะไม่เหมือนกัน แค่คำศัพท์ที่ใช้สั่งงาน จะมีความคล้ายกัน

ส่วนประกอบของโปรแกรม

หลังจากที่เปิดโปรแกรม Bambu Studio ขึ้นมาแล้ว จะมีหน้าต่างโปรแกรมเปิดขึ้นมา ซึ่งในหน้าต่างนี้ จะแบ่งเป็น 6 องค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบบางส่วน จะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีการเลือกคำสั่ง หรือเลือกโมเดล เพื่อให้การตั้งค่า เกี่ยวข้องกับคำสั่งที่เลือกมา

หน้าตาของโปรแกรม Bambu Studio
  1. แทบเลือกหน้าต่างการแสดงผล
  2. แทบการตั้งค่า สำหรับการเลือกเส้นพลาสติก การตั้งค่าความละเอียด และฟีเจอร์อื่นๆ
  3. แทบคำสั่ง ที่ใช้บ่อยๆ สำหรับการจัดการโมเดล เช่น หมุน / เคลื่อนย้าย / ตัด และอื่นๆที่ใช้ประจำ
  4. แทบคำสั่งสำหรับ การ Slice โมเดลและส่งไฟล์ เพื่อไปปริ้นงาน
  5. แทบแสดงข้อความ รวมไปถึงการแจ้งเตือนต่างๆ
  6. พื้นที่สำหรับการวางชิ้นงานและการแสดงผล

แทบการตั้งค่า (2) จะเป็นแทบที่มีแทบย่อย สำหรับการตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับการพิมพ์งาน ซึ่งแทบนี้ จะมีค่าต่างๆ ซ่อนอยู่ ซึ่งถ้าอยากให้ค่าที่แสดงนั้น โชว์ออกมาทั้งหมด ต้องเลื่อนเปิดปุ่มในช่อง Advance

เปิดฟีเจอร์ทั้งหมด ด้วยการเปิด Advance โหมด

1. แทบเลือกหน้าต่างการแสดงผล

ในส่วนของแทบนี้ จะเป็นการเลือกการแสดงผล ซึ่งจะมีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 5 แทบ

  1. แทบ Home (รูปบ้าน)
  2. แทบหน้าต่าง Prepare
  3. แทบหน้าต่าง Preview
  4. แทบหน้าต่าง Device
  5. แทบหน้าต่าอง Project

1.1 แทบ Home (รูปบ้าน)

หน้าต่างสำหรับเก็บ Project และ Log In

แทบนี้ จะเป็นแทบแรก เวลาเปิดโปรแกรม Bambu Studio ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นแทบสำหรับสร้าง Project งานพิมพ์ และแก็บงาน Project ที่ บันทึกเอาไว้ และยังเอาไว้สำหรับ Log In เพื่อใช้งานแทบ Device สำหรับการดูการทำงานของเครื่องผ่านกล้อง

1.2 แทบหน้าต่าง Prepare

หน้าต่าง Prepare สำหรับกำหนดค่าการพิมพ์

สำหรับแทบนี้เป็นแทบที่ใช้บ่อยสุด เพราะเป็นแทบที่สามารถกำหนดค่าการพิมพ์ได้ ตั้งแต่ รุ่นเครื่องที่จะใช้ปริ้น / เส้นพลาสติกที่ใช้ / ความละเอียดในการพิมพ์ รวมไปถึงการจัดวางท่าทางในการพิมพ์

1.3 แทบหน้าต่าง Preview

หน้าต่างจำลองการเดินของหัวพิมพ์

ในส่วนของแทบ Preview จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการกด Slice Plate เพื่อที่โปรแแกรมจะสร้าง ทางเดินของหัวพิมพ์ออกมา แล้วนำมาทำการจำลองหรือ Simulate ให้เห็นในแทบนี้ ในแทบนี้ จะมีตัวเลื่อนที่สามารถเลื่อนสไลด์เพื่อดูการว่า งานพิมพ์แต่ละชั้น พิมพ์แบบไหน

ก่อนที่จะส่งไฟล์ไปพิมพ์ที่เครื่อง ควรจะเช็คทางเดินของหัวพิมพ์ ในแทบ Preview นี้ก่อนทุกครั้ง เพราะงานจะพิมพ์ได้หรือไม่ได้ จะโชว์ออกมาให้เห็นในหน้าต่างนี้ ซึ่งงานปริ้นบางชิ้น อาจจะมีความบางมาก จนทำให้หัวพิมพ์ไม่สามารถฉีดเส้นออกได้ ตัวแทบ Preview ก็จะแสดงผลออกมาเป็น ช่องว่างให้เห็น

1.4 แทบหน้าต่าง Device

ในหน้าต่างนี้ จะเป็นการ Remote เพื่อควบคุมและดูการทำงานของเครื่อง ผ่านโปรแกรม ได้เลย และสามารถดูการทำงานของเครื่องผ่านกล้อง นอกจากนั้นยังสามารถที่จะปรับความเร็ว / ความร้อนของหัวฉีด รวมถึงการปรับตั้งค่าเครื่อง ได้ผ่านแทบหน้าต่างนี้

หน้าต่างนี้ จะเหมือนกันโปรแกรม Bambu Handy ที่เป็น App ในมือถือ สำหรับดูการทำงานของเครื่อง

1.5 แทบหน้าต่าง Project

แทบหน้าต่างนี้ จะแสดงผล เกี่ยวกับรายละเอียดของ ไฟล์ หรือ Project ที่โหลดขึ้นมา ซึ่งไฟล์ที่เปิดในนามสกุลที่เป็น .3mf จะสามารถระบุข้อมูลเหล่านี้ ลงไปได้ ทำให้รู้ว่า เจ้าของไฟล์คือใคร รวมไปถึงยังสามารถบันทึก Profile ที่ใช้พิมพ์ ทำให้คนที่นำไฟล์นี้ มาปริ้น สามารถดูรายละเอียด การตั้งค่าต่างๆได้

2. แทบการตั้งค่าการพิมพ์

ในส่วนของแทบนี้ จะเป็นการรวบรวมค่าต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพิมพ์ ซึ่งจะแบ่ง 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

A. เลือกรุ่นเครื่องและแผ่นฐานรองปริ้นที่ใช้
B. เลือกเส้นพลาสติกที่จะใช้ในการปริ้น
C. เลือกความละเอียดในการพิมพ์ รวมถึงการปรับค่าต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่พิมพ์

2.1 ส่วน A

ก่อนที่จะทำการ Slice เพื่อสร้าง โค้ดสำหรับสั่งให้เครื่องพิมพ์นั้น จำเป็นต้องเลือกรุ่นเครื่องให้ถูกก่อน รวมไปถึงแผ่นฐานรองพิมพ์ ก็ต้องเลือกให้ถูกด้วย เพราะถ้าเลือกผิด อาจจะทำให้พลาสติกที่พิมพ์ ไม่ติดฐาน และหลุดออก ก่อนที่งานจะพิมพ์เสร็จ ซึ่งตรงนี้สามารถเลือกได้ในส่วน A

2.2 ส่วน B

จะเป็นการเลือกชนิดเส้นพลาสติกที่จะใช้พิมพ์ ซึ่งตัวโปรแกรม จะมีพลาสติกบางส่วนให้เลือก ถ้าไม่มี สามารถที่จะเพิ่มเข้าไปได้ โดยการกด Add/Remove Filament

เพิ่มเส้นพลาสติกเข้าไปในโปรแกรม

2.3 ส่วน C

ในส่วนสุดท้าย จะเป็นการเลือกความละเอียดในการพิมพ์ ซึ่งจะป็นค่าสำเร็จที่ทาง Bambulab เป็นคนกำหนดมา สามารถเลือกความละเอียดที่ต้องการ แล้วสั่งปริ้นได้เลย หรือถ้าอยากปรับค่า Parameter ต่างๆ เพื่อ ให้เหมาะกับงานที่ปริ้น เช่นความเร็ว /ความแข็งแรง / การสร้าง Support หรือ ตัวรองรับ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ในส่วนนี้ ซึ่งจะแบ่งออกมาเป็นแทบย่อยด้วยกันทั้งหมด 5 แทบ

  1. Quality (ความละเอียดในการพิมพ์ / การเก็บรายละเอียด)
  2. Strength (ความแข็งแรง / จำนวนผนัง / รุปแบบ Infill)
  3. Speed (ความเร็วในการพิมพ์)
  4. Support (รูปแบบการสร้าง Support หรือตัวรองรับ)
  5. Other (ฟีเจอร์ต่างๆที่ช่วยให้การพิมพ์ดีขึ้น)

3 แทบคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ

ในส่วนของแทบนี้ จะแสดงขึ้นมาในเฉพาะหน้าต่างแทบ Prepare เท่านั้น ซึ่งจะเป็นแทบ ที่รวมรวมเครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการจัดการโมเดล 3 มิติ ซึ่งจะมีทั้งหมด 16 ปุ่มด้วยกัน

  1. ปุ่มเอาไฟล์ 3 มิติเข้ามาในโปรแกรมหรือ Import file (Add)
  2. การเพิ่ม Plate สำหรับการจัดการโมเดลหลายๆ ชิ้น (Add Plate)
  3. การหมุนหามุมวางชิ้นงานบนฐานแบบอัตโนมัติ (Auto Orient)
  4. การจัดวางชิ้นงานหลายชิ้นแบบอัตโนมัติ (Arrange all Object)
  5. แยกงานเป็นโมเดลอีกตัว (Split to Object)
  6. แยกงานเป็นขิ้น แต่ยังอยู่ในโมเดลตัวเดียวกัน (Split to Part)
  7. ตั้งค่าความละเอียดในแต่ละเลเยอร์ให้ต่างกัน (Variable layer height)
  8. เปลี่ยนตำแหน่งโมเดลที่วางอยู่บนฐานพิมพ์ (Move)
  9. หมุนโมเดล (Rotate)
  10. ย่อ-ขยายโมเดล (Scale)
  11. เลือกแผ่นฐานหน้ากว้างสุดลงบนฐาน (Lay on Face)
  12. ตัดแบ่งโมเดล และสร้าง Connector (Cut)
  13. ระบายสีตำแหน่งที่ต้องการสร้าง Support หรือตัวรองรับ (Support Painting)
  14. ระบายสีตำแหน่งขึ้นเลเยอร์ใหม่ (Seam Painting)
  15. สร้างตัวหนังสือแปะไปที่โมเดล (Text shape)
  16. ดูโมเดลประกอบเสร็จ จากการแยกพิมพ์เป็นชิ้นๆ (Assembly View)

ปุ่มเหล่านี้ จะทำงานได้ ต้องกดไปที่โมเดลที่ต้องการเสียก่อน สำหรับปุ่ม Split to Part และ Split to Object นั้น จะเปิดให้ใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อ โมเดลที่โหลดเข้ามา มีหลายชิ้น อยู่ในตัวเดียวกัน

4. แทบคำสั่งการ Slice โมเดลและส่งไฟล์

ในส่วนของแทบนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เป็น Slice และ ส่วนที่เป็น Print ซึ่งลำดับการใช้งานคือ ต้องกดปุ่ม Slice ก่อน ถึงจะกดปุ่ม Print ได้ ซึ่งการ Slice จะแบ่งออกเป็น 2 โหมด

ปุ่ม Slice มี 2 โหมด Slice All กับ Slice Plate

ถ้าเลือก Slice Plate จะเป็นการให้โปรแกรมทำการ Slice เฉพาะ Plate ที่เลือก เนื่องจากโปรแกรม Bambu Studio สามารถที่จะสร้าง Plate ในการทำงานได้หลายแผ่น ในกรณีที่มีโมเดลหลายๆชิ้น ซึ่งจะช่วยให้การจัดการงานแบบ Project ทำได้ง่ายขึ้น

Plate ที่ต้องการ Slice จะมีสีที่เข้ม

ในทางตรงข้าม ถ้าเลือกเป็น Slice all คือให้โปรแกรมทำการ Slice ทุกเพลท ที่อยู่ใน Project ซึ่งถ้ามีหลายเพลท หรือมีโมเดลหลายชิ้น ก็จะใช้เวลาที่มากขึ้น

สำหรับปุ่ม Print จะมีให้เลือก 6 แบบ ซึ่งก็จะมี ฟังค์ชั่นคล้ายๆกับการ Sliec คือ ถ้าเลือกเป็น Plate ก็จะเลือกเฉพาะ Plate ที่เลือกอยู่ แต่ถ้าเลือกเป็น All ก็คือเลือกทั้งหมดใน Project

ปุ่ม Prin จะมีให้เลือก Print / Send และ Export รวมไปถึงเลือกแค่ Plate เฉพาะแผ่น หรือเลือกทั้งหมด

ในปุ่ม Print จะมีให้เลือก 6 Option คือ

  1. Print plate: ส่งไฟล์ไปปริ้นทันที โดยปริ้นเฉพาะเพลทที่เลือก
  2. Print all: ส่งไฟล์ทั้งหมดไปปริ้นทันที โดยงานทั้งหมดจะอยู่ในไฟล์ชื่อเดียวกัน เวลาปริ้นเสร็จ ตัวเครื่องจะโชว์ไฟล์ที่เหลือ ที่ต้องปริ้น ให้ผู้ใช้กดปริ้นต่อ
  3. Send: ส่งไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่อง แต่ยังไม่ปริ้น จนกว่าผู้ใช้เดินไปกดเลือกที่หน้าเครื่อง
  4. Send all: ส่งไฟล์ทั้งหมดที่ทำการ Slice ไปเก็บไว้ในเครื่อง ยังไม่ปริ้น ต้องไปกดเลือกเอง ไฟล์ที่ไป จะเป็นไฟล์เดียว แต่มีงาน Slice ทั้งหมด อยู่ในไฟล์นี้
  5. Export plate slice file: บันทึกไฟล์ ที่ถูกเลือกบนเพลท ลงใน Computer หรือ SD card เพื่อเอาไปเสียบที่เครื่องเอง
  6. Export all slice file: บันทึกไฟล์ทั้งหมดที่มีใน Project ลงใน Computer หรือ SD card เพื่อไปเสียบและเลือกที่หน้าเครื่อง

ถ้าเลือก Print ต้องระวัง ว่าด้านในเครื่องพิมพ์ จะต้องไม่มีงานติดอยู่ที่ฐาน เพราะถ้ามี ตัวงานที่ติดอยู่ อาจจะวิ่งไปชนหัวฉีด และอาจทำให้เครื่องเสียหายได้

5. แทบแสดงข้อความ รวมไปถึงการแจ้งเตือนต่างๆ

สำหรับช่องหน้าต่างที่แสดงในแทบนี้ จะเป็นการบอกรายละเอียดหรือการแจ้งเตือนต่างๆ ซึ่งจะแบ่งออกมาเป็นสี ถ้าเป็นกล่องสีเขียว ก็จะเป็นข้อมูลทั่วๆไป แต่ถ้าเป็นสีแดง หรือสีเหลือง จะเป็นการแจ้งเตือน

การแจ้งเตือนหรือกล่องสีแดง ส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำ และวิธีการแก้ไข ที่สามารถกดเข้าไปอ่านได้ ผ่าน Link ที่แสดงขึ้นมา

6. พื้นที่สำหรับการวางชิ้นงานและการแสดงผล

ในส่วนสุดท้าย จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับการดูและจัดการโมเดล ซึ่งส่วนนี้จะใช้ เมาส์ในการควบคุม เรื่องมุมมองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Zoom เข้า-ออก หรือ การ Pan รวมไปถึงการ Click เพื่อเลือกโมเดล

6.1 การเคลื่อนย้ายโมเดล (Move)

ทำได้โดยการกด เมาส์ซ้ายค้างไว้ที่โมเดลที่ต้องการเคลื่อนย้าย

6.2 การขยับหน้าต่าง (Pan)

ทำได้โดยกดเมาส์ปุ่มขวาค้างไว้ ตรงพื้นที่ว่าง แล้วทำการเลื่อนมือ เพื่อขยับหาตำแหน่ง

6.3 การ Zoom เข้า-ออก

ทำได้โดยใช้ Scroll Wheel ที่อยู่บนเมาส์

6.4 การหมุนเพื่อดูรอบๆตัวงาน

ทำได้โดยกดเมาส์ปุ่มซ้าย ตรงพื้นที่ว่าง แล้วขยับมือ เพื่อหมุน

6.5 การเรียกเมนูย่อย

ทำได้โดยการกดเมาส์ปุ่มขวา ตรงที่โมเดล เพื่อเรียกเมนูขึ้นมา
Updated on 29/07/2023

Was this article helpful?

Related Articles