1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Prusa Slicer
  4. การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Original Prusa i3 MK4
  4. การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Original Prusa i3 MK3S+
  4. การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Original Prusa Mini+
  4. การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer

การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer

โปรแกรม Prusa Slicer เป็นโปรแกรม สำหรับใช้คู่กับเครื่องพิมพ์ Oringial Prusa ทุกรุ่น และยังสามารถใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติ ยี่ห้ออื่นๆได้อีกด้วย ตัวโปรแกรมมีหน้าที สำหรับเปลี่ยนโมเดล 3 มิติให้เป็นทางเดินหัวพิมพ์ ตัวโปรแรกม สามารถที่จะบอกเวลาในการปริ้น รวมไปถึงปริมาณของวัสดุที่ใช้ปริ้น ว่าต้องใช้เท่าไหร่

Prusa Slicer เป็นโปรแกรม Open Source ที่สามารถ Download มาใช้ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จะลงกี่เครื่องก็ได้ ตัวโปรแกรมถูกพัฒนา ต่อยอดมากจากโปรแกรม Slic3r

EP1. แนะนำการใช้งานโปรแกรม

EP2. การเลือกรุ่นเครื่องเพื่อใช้กับโปรแกรม

การเลือกรุ่นเครื่องสำหรับใช้กับโปรแกรม Prusa Slicer นั้น จำเป็นต้องเลือกให้ตรงรุ่น เพราะเครื่องในแต่ละรุ่น จะมีความสามารถไม่เหมือนกัน สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเครื่องที่ใช้เป็นรุ่นไหน ก็สามารถดูรูปประกอบด้านล่างได้

สำหรับรุ่น MK3 กับ MK3S จะต่างกันที่ชุดหัวฉีด ซึ่งรุ่น MK3 จะใช้เซนเซอร์จับเส้นที่เป็นแบบ Optical โดยสังเกตุที่ใส่เส้น ตรงฝาครอบ จะมีท่อที่สูงขึ้นมา ส่วนตัวรุ่น MK3S นั้น จะใช้เซนเซอร์จับเส้นแบบ IR ร่วมกับ ก้านกระดก ซึ่งตรงฝาครอบชุดหัวของรุ่น MK3S จะไม่มีท่อขึ้นมา

ส่วนรุ่นอื่น ถ้าไม่รู้ ก็ให้ดูสติกเกอร์ที่แปะด้านหลังเครื่อง ที่อยู่เหนือชุดจ่ายไฟ จะมีชื่อรุ่นบอก

EP3. การเอาโมเดลเข้ามา ร่วมถึงการ ตัด ต่อ ยืด ย่อ ขยาย และการวางชิ้นงาน

โปรแกรม Prusa Slicer นั้นถูกพัฒนา ให้ผู้ใช้ สามารถใช้งานได้ง่ายและคล่องขึ้น โดยการนำเอาฟีเจอร์ที่่ใช้บ่อยๆ ออกมา อยู่บนหน้าจอและแสดงเป็นรูปไอคอนที่มีขนาดใหญ่ รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ Keyboard ที่ทำให้ผู้ใช้จัดการโมเดล ที่จะพิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ Place of face ที่สามารถเลือกตำแหน่งของโมเดล ที่จะวางบนพื้นที่พิมพ์

ในส่วนโปรแกรม ยังมีปุ่มสำหรับตัดชิ้นงาน เพื่อให้ผู้ใช้ได้ตัดชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถพิมพ์ในพื้นที่การพิมพ์เดียวกันได้

ใครอยากดูเป็น Profession ผมแนะนำให้จำและใช้ Shortcut Key บน Keyboard เพื่อให้การทำงานนั้นเร็วและสะดวกขึ้น

EP4. ลบและเพิ่มจำนวนชิ้นงานที่จะพิมพ์ รวมไปถึงการตั้งค่าการพิมพ์ที่ต่างกัน

โปรแกรม Prusa Slicer มาพร้อมกับฟีเจอร์ ที่สามารถพิมพ์งานหลายๆชิ้น ให้มีความแตกต่างกันได้ เช่น งานชิ้นที่ 1 ให้มีโครงสร้างหรือ Infill ที่ 50% ผนังมีความหนา 5 ชัั้น ส่วนชิ้นที่ 2 ให้มี โครงสร้างภายใน 100% หรือพิมพ์ตัน พร้อมกับมีผนัง 2 ชั้น ซึ่งโปรแกรม Slic3r Prusa Edition ตัวเก่าจะทำไม่ได้ ซึ่งการที่มีฟีเจอร์แบบนี้ จะทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการพิมพ์ รวมถึงสามารถทดลอง ความแข็งแรงของชิ้นงานได้ในการพิมพ์พร้อมกันแค่เดียว

EP5. การแยกชิ้นงานหลายชิ้น ออกจากไฟล์เดียวกัน

หลายๆคนอาจจะเคยเจอปัญหา เวลามีงานที่มีหลายๆชิ้นอยู่ในไฟล์เดียว ซึ่งทำให้ยากต่อการ ปรับแต่งโมเดล สำหรับโปรแกรม Prusa Slicer ตัวใหม่ จะมีฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการ และแยกโมเดลที่อยู่ในไฟล์เดียว ให้แตกออกเป็นชิ้นๆ ทำให้การแก้ไขและปรับแต่งโมเดล ทำได้ง่ายขึ้น

EP6. ใช้งาน Layer Editing สำหรับพิมพ์งาน ที่ความละเอียดต่างกันในโมเดลตัวเดียวกัน

ฟีเจอร์นี้ ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่จะทำให้งานพิมพ์สวยขึ้น และขัดแต่งชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นฟีเจอร์ที่ผู้ใช้ สามารถกำหนดตำแหน่งความสูงที่ต้องการ ว่าจะให้พิมพ์ละเอียด หรือพิมพ์หยาบได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้เรียกว่า Adaptive Layer Editing เหมาะสำหรับงานที่เป็นโมเดล ตัวการ์ตูน ที่มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง นอกจากงานจะสวยขึ้นแล้ว ยังทำให้เวลาในการพิมพ์ลด ลงไปด้วย ส่วนการใช้งานเป็นอย่างไร ลองไปดูวิดีโอด้านล่าง

EP7. การสร้างและลบ Support ตามตำแหน่งที่ต้องการ

ในส่วนของฟีเจอร์ น่าจะถูกใจหลายๆคน ที่ต้องการสร้าง Support หรือตัวรองรับด้วยตัวเอง ซึ่งโปรแกรม Prusa Slicer นั้นก็สามารถทำได้ฟีเจอร์นี้ได้แล้ว ถึงแม้อาจจะดูใช้งานยากไปหน่อย แต่ก็ถือว่าดีกว่าโปรแกรมตัวเก่า ที่ไม่มีมาให้เลย ในส่วนของ Support สามารถที่จะเพิ่มหรือลบได้ โดยการใช้ โมเดลสำเร็จรูป เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นตัวกำหนด ตำแหน่งของ Support

สำหรับ Prusa Slicer เวอร์ชั่นใหม่ จะมีฟีเจอร์ Paint สำหรับกำหนดพื้นที่ ในการสร้าง Support โดยใช้เมาส์เป็นแปรง ไปทา ตรงตำแหน่งที่ต้องการ

EP8. ใช้งาน Multi process หรือ Multi zone

Prusa Slicer ตัวใหม่มีฟีเจอร์การตั้งค่าแบบ Multi Process หมายความว่าในโมเดล 1 ตัว สามารถกำหนดให้ มีค่าการพิมพ์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละส่วน ยกตัวอย่างเช่น พิมพ์พื้นรองเท้าที่สามารถกำหนด ความแข็ง และความนิ่มในแต่ละโซนของแผ่นรองเท้าได้ เพื่อให้เกิดความสบาย ตอนสวมใส่และใช้งาน หรือจะพิมพ์งานหลายชิ้น ที่มีค่าที่แตกต่างกัน อย่างเช่น พิมพ์งานให้ลูกค้า 2 คน คนที่ 1 ต้องการความแข็งแรง โดยกำหนดให้มีโครงสร้างด้านใน 60% ส่วนลูกค้าอีกคน มีงานที่ต้องการความเร็ว และต้องการกำหนดโครงสร้างด้านในแค่ 5% ซึ่งการกำหนดแบบนี้ ถ้าเป็นโปรแกรม Slic3r ตัวเก่า จะทำไม่ได้ แต่ Prusa Slicer สามารถทำได้ ทำให้ผู้ใช้ สามารถพิมพ์งานหลาก หลายรูปแบบ ได้ในครั้งเดียว

EP9. การดูค่าต่างๆ ในหน้า Simulation

วิดีโอตัวนี้ อธิบายให้รู้จักวิธีการดูหน้าต่าง Simulation หรือแบบจำลองการพิมพ์ เพื่อที่ผู้ใช้ จะได้รู้คำศัพท์และส่วนต่างๆ ที่พิมพ์ นอกจากนั้น ยังสามารถดูความเร็วในการพิมพ์แต่ละส่วนได้อีกด้วย การดูแบบจำลองการพิมพ์ จะทำให้ผู้ใช้เห็นว่า โมเดลที่กำลังจะพิมพ์ สามารถได้หรือไม่ได้ เพราะถ้าโมเดลที่จะพิมพ์ มี Error หรือ เสีย นั้น ข้อผิดพลาด จะถูกนำมาแสดงในหน้า แบบจำลอง ซึ่งจะแสดงเป็นช่องว่าง หรือมีบางส่วนที่ขาดหายไป

 

Updated on 14/08/2023

Was this article helpful?

Related Articles