1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Original Prusa i3 MK3S+
  4. การใช้เครื่อง Original Prusa MK3S / MKS3+

การใช้เครื่อง Original Prusa MK3S / MKS3+

สำหรับใน Section นี้ก็จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานเครื่อง Prusa รุ่น MK3 และ MK3S+ ซึ่งทั้ง 2 รุ่น จะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของชุดหัวฉีด ที่จะไม่เหมือนกัน นอกนั้นก็จะคล้ายๆ กัน ไม่ได้แตกต่างกันมาก ในส่วนของวิดีโอที่จะสอน จะมีตั้งแต่อธิบายคำสั่งหน้าจอ จนไปถึงการถอดหัวฉีดเพื่อจะเอามาทำความสะอาด หรือแก้ไข ในกรณีหัวฉีดตัว

สำหรับใครที่ดูวิดีโอแล้ว แต่ไม่กล้าทำ ก็สามารถโทรเข้ามาปรึกษากับทางทีมงานที่ร้านได้ หรือไม่ก็ยกเข้ามาให้ที่ร้านทำการซ่อมให้ก็ได้

1. อุปกรณ์ที่มากับเครื่อง

เครื่อง Original Prusa ทุกตัวที่ทางร้านจำหน่าย เป็นของแท้จากประเทศ เช็ค รีพับบลิค ซึ่งเมื่อผู้ใช้ได้รับ ก็จะมีกล่องอุปกรณ์และม้วนเส้นพลาสติกไปด้วย ซึ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ในกล่องจะมีตามนี้ ถ้าใครได้ไม่ครบ รบกวนติดต่อกลับมาที่บริษัทได้ทันที

  1. ชุดเครื่องมือสำหรับซ่อมเครื่อง เช่น ไขควง / คีม / ประแจแอลหกเหลี่ยม
  2. แผ่นแอลกฮอล์ สำหรับเช็ดทำความสะอาดฐานพิมพ์ เพื่อลบคราบน้ำมันที่เกิดจากนิ้วมือ (หมดแล้วสามารถใช้สำลีชุบแอลกฮอล์ล้างแผลได้)
  3. เข็มสำหรับแหย่หัวฉีด ในกรณีที่หัวฉีดตัน (เป็นเข็มที่แพทย์จีนใช้ฝังเข็ม)
  4. ที่แขวนเส้นพลาสติก
  5. น็อตสำหรับเป็นอะไหล่ และเคเบิ้ลไทด์สีดำ สำหรับเก็บพันสายไฟ
  6. ปลั๊กไฟ
  7. สาย USB Type B สำหรับ Update เฟิรม์แวร์
  8. คู่มือภาษาอังกฤษการใช้งานเครื่องและโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
  9. เหล็กยาวสำหรับกดเส้นพลาสติก ในกรณีที่หัวฉีด (ไม่ได้มีแจ้งในวิดีโอ ชิ้นนี้เป็นชิ้นทางบริษัททำขึ้นมาเอง)
  10. เยลลี่ Haribo (กินได้)

2. อธิบายคำสั่งและความหมายในหน้าจอ LCD

สำหรับหน้าจอของเครื่อง Original Prusa นั้น เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดในการใช้งานเครื่อง ซึ่งหน้าจอเครื่อง Pursa จะมีไว้แสดงคำสั่ง รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิความร้อนของหัวฉีด หรืออุณหภูมิของฐานพิมพ์ รวมไปถึงยังแสดงค่าความเร็วในการพิมพ์งาน และเวลาที่พิมพ์ ในส่วนของเมนูที่อยู่ในหน้าจอ ก็จะมีหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะกดเข้าไปเพื่อดูและปรับแต่งค่าต่างๆได้ เช่น

  • เปลี่ยนอุณหภูมิของหัวฉีดหรือฐานพิมพ์
  • เปลี่ยนเส้นพลาสติกระหว่างพิมพ์งาน
  • ปรับลดและเพิ่มความเร็วในการพิมพ์

นอกจากนั้นในหน้าจอ LCD ยังสามารถที่จะแสดงค่าสถิติของการใช้เครื่อง รวมถึงค่าต่างๆของเครื่องเช่นอุณหภูมิ, กระแสไฟ, ความตึงสายพาน

3. Self test เช็คระบบให้พร้อมใช้งาน

สำหรับเครื่อง Prusa ทุกรุ่น จะมีคำสั่ง Self Test สำหรับเช็คอุปกรณ์และ Sensor ต่างๆ ของเครื่อง เพื่อเช็คว่าเครื่องทำงานปกติ ไม่มีข้อผิดพลาด เมื่อ Selftest แล้วเจอปัญหา ตัวเครื่องก็จะแสดงข้อผิดพลาดขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ชิ้นส่วนไหน หรืออุปกรณ์ไหน ที่เสีย โดยที่ไม่ต้องไปนั่งเดาสุ่มเอาเอง

ซึ่งการตรวจเช็ค สามารถทำได้ตลอด หรือถ้าผู้ใช้เจอปัญหาเกี่ยวกับการพิมพ์งาน เช่น งานพิมพ์เสียรูป หรือย้วย ซึ่งอาจจะเกิดจากพัดลมไม่ทำงาน ตรงนี้สามารถใช้ Selftest ในการตรวจเช็คได้ ซึ่งถ้าตรวจเช็คแล้วเจอปัญหา หน้าจอ LCD จะแสดงผลว่า Fail และให้ข้อแนะนำในการซ่อมแซมเบื้องต้น โดยที่ผู้ใช้ต้องเข้าไปดูในคู่มือ

เวลาที่เครื่องพิมพ์มีปัญหา แนะนำให้ถ่ายรูปข้อความที่แสดงขึ้นหน้าจอก่อน เสร็จแล้วให้ทำ Self Test เพื่อเช็คระบบทั้งหมดของเครื่อง ถ้ามีปัญหา ให้ส่งข้อความที่แสดงมา ให้กับทางร้าน ทางร้านจะได้ประเมินได้ว่า ชิ้นส่วนตัวไหนที่เสียหาย

4. การใส่อุปกรณ์สำหรับแขวนเส้นพลาสติก

สำหรับเครื่องของ Prusa ทุกรุ่น จะมีตัวแขวนเส้นมาให้ด้วย ซึ่งตัวแขวนเส้นของ Prusa จะสามารถแขวนเส้นได้ 2 ม้วน ตัวแขวนเส้น จะทำมาจากพลาสติกฉีดขึ้นรูป ซึ่งมีความเหนียว ซึ่งจะติดตั้งอยู่ด้านบนของเครื่อง

การเก็บเส้นพลาสติก ในกรณีที่ไม่ใช้แล้ว ให้เอาปลายเส้นสอดเข้าไปในรู ที่อยู่ตรงม้วนเส้น ควรจะทำแบบนี้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นพันกัน ถ้ารู้ว่าจะไม่ใช้ ให้เอาเส้นออกจากเครื่องแล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกแบบมีซิป เพื่อป้องกันความชื้น

5. การ Load หรือใส่เส้นพลาสติก รวมถึงการ Unload เอาเส้นออก

ในส่วนของการใส่เส้นพลาสติกเข้าและออก จะเป็นส่วนที่ทำบ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ สำหรับการใช้เครื่อง Original Prusa ทุกรุ่น ซึ่งข้อดีของเครื่อง Prusa ก็คือ ตัวเครื่องจะมีเซนเซอร์ตรวจจับเส้นพลาสติก ถ้ามีการแหย่เส้นลงไปที่ชุดหัวฉีด แล้วเซนเซอร์ตรวจจับได้ ตัวหน้าจอก็จะแสดงผล Preset อุณหภูมิของเส้นพลาสติกที่กำลังจะใส่เข้าไป ผู้ใช้แค่เลือกชนิดเส้นในหน้าจอ ให้ตรงกับเส้นที่ใส่ จากนั้น ตัวเครื่องก็จะทำการอุ่นหัวฉีดและฐานพิมพ์ให้เองโดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ Preset ตั้งไว้ ก็จะมีเสียงเตือนให้ผู้ใช้ มาทำการกดปุ่มที่หน้าจอ เพื่อทำการโหลดเส้นพลาสติก

สำหรับการเอาเส้นออก ก็แค่เลือก Unload Filament แล้วเลือกชนิดเส้นที่อยู่ด้านในเครื่อง รอจนกว่าอุณหภูมิถึงค่าตาม Preset ของเส้นที่เลือก ตัวเครื่องจะทำการดึงเส้นออกให้เองโดยอัตโนมัติ

6. วิธีการทำ Calibration Z

การ Calibrate Z หรือการตั้งแกน Z จะเป็นการบังคับให้หัวฉีด ขึ้นและลงพร้อมกัน ซึ่งการทำ Calibrate Z นั้นจะทำบ่อย เพราะสามารถแก้ใขปัญหาหลายๆ อย่างของการพิมพ์ได้ การ Calibrate Z จะทำก็ต่อเมื่อ

  1. มีการขนย้ายเครื่องหรือเปลี่ยนที่วางเครื่อง
  2. งานพิมพ์เริ่มพิมพ์ไมติดฐาน หรือติดแค่ด้านเดียว อีกด้านพิมพ์ไม่ติด
  3. ให้ทำก่อนทุกครั้ง ที่จะทำ First Layer Calibration เพื่อเป็นการตั้งศูนย์เครื่องใหม่ ให้หัวพิมพ์ ขนานกับฐานพิมพ์

เวลากดปุ่ม Calibration Z หัวพิมพ์จะขยับขึ้นไปด้านบนสุด จนเกิดเสียงดัง ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตกใจ เพราะเครื่องกำลังจะทำให้หัวพิมพ์ ขนานกับฐานปริ้น

7. การตั้งระยะหัวพิมพ์ด้วยคำสั่ง First Layer Calibration

ในส่วนของการทำ First Layer Calibration นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหางานพิมพ์ไม่ติดฐาน ซึ่งการจะทำ First Layer Calibration ต้องทำ Calibration Z ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า หัวฉีดจะอยู่ในระนาบและตั้งฉากกับฐานพิมพ์ สำหรับการทำ First Layer Calibration จะเป็นการบอกเครื่องพิมพ์ว่า ระยะห่างระหว่างหัวพิมพ์กับฐาน ควรจะอยู่ในระดับไหน ที่เรียกว่าเหมาะสม ซึ่งตรงนี้ผู้ใช้เครื่องจะเป็นคนหาเอง และแต่ละเครื่องจะมีค่านี้ไม่เท่ากัน

ระยะหัวพิมพ์กับฐานพิมพ์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด สำหรับการพิมพ์งานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ FDM เพราะถ้าตั้งระยะไม่ดี งานพิมพ์จะไม่ติดกับฐาน แต่ถ้าตั้งหัวพิมพ์ชิดกับฐานเกินไป เส้นพลาสติกก็จะออกมาลำบาก ทำให้งานพิมพ์ชั้นแรกไม่สวย และอาจจะทำให้งานพิมพ์ชั้นต่อไป พิมพ์ต่อไม่ได้ ดังนั้นการตั้งระยะหัวพิมพ์กับฐานพิมพ์ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ

ก่อนทำ First Layer Calibration ต้องทำความสะอาดฐานกับหัวฉีดเสียก่อน เพื่อที่จะได้ค่าที่แม่นยำที่สุด สำหรับค่าที่ปรับ จะเป็นค่าติดลบเสมอ และไม่ควรเกิน -2.0 มิลลิเมตร ถ้าเกิน ให้ยกเครื่องมาที่ร้าน เพื่อเช็ค Sensor ที่ใช้วัดฐานปริ้น

8. การ Update Firmware ให้กับเครื่อง

สำหรับการ Update Firmware ก็เหมือนกับ การแก้ไขสมองกลที่อยู่ในเครื่องพิมพ์ เพื่อแก้ข้อบกพร่องและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับเครื่อง ซึ่งทาง Prusa จะปล่อยเฟิรม์แวร์ออกมา ให้ผู้ใช้ได้นำไป Update ให้กับเครื่องตัวเอง โดยสามารถเข้าไป Download ได้ Link นี้ แต่ก่อนจะโหลดมา ต้องทราบก่อนว่าเครื่องที่ใช้อยู่เป็นรุ่นอะไร โดยให้สังเกตุป้ายที่ติดอยู่ด้านหลังเครื่อง สำหรับโปรแกรมที่จะใช้ Update Firmware ก็จะใช้โปรแกรม Prusa Slicer

ห้ามเลือก Firmware ผิดรุ่น เพราะจะทำให้การทำงานของเครื่องเพี้ยนและผิดพลาดได้

หลังจากที่ทำการ Update Firmware เสร็จแล้ว ให้ทำ Calibrate XYZ และ First Layer Calibration ซึ่งลำดับการทำ ให้ทำ Calibrate XYZ ก่อน และค่อยทำ First Layer Calibration 

Updated on 10/08/2023

Was this article helpful?

Related Articles