1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Bambu Studio
  4. การพิมพ์งานหลายสีด้วยกล่อง AMS
  1. Home
  2. Knowledge Base
  3. กล่อง AMS สำหรับ BambuLab
  4. การพิมพ์งานหลายสีด้วยกล่อง AMS

การพิมพ์งานหลายสีด้วยกล่อง AMS

สารบัญ

จุดเด่นของเครื่อง Bambulab ก็คือกล่อง AMS ที่พอใส่เข้าไปแล้ว จะทำให้เครื่องสามารถพิมพ์งานหลายสีได้ ซึ่งตัวกล่อง AMS สามารถที่จะใช้ได้ก้บทั้งรุ่น P1P / P1S / X1C ในกล่อง AMS 1 ใบ จะสามารถใส่เส้นได้ 4 ม้วน แต่ตัวเครื่องสามารถรองรับการต่อกล่อง AMS ได้ถึง 4 กล่อง ทำให้สามารถพิมพ์พลาสติกได้ถึง 16 สี

การพิมพ์งานหลายสี ควรจะเลือกใช้เส้นพลาสติกชนิดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน เพื่อให้พลาสติกเชื่อมติดกันดี

การเพิ่มจำนวนเส้นในโปรแกรม

สำหรับการพิมพ์หลายสีนั้น ผู้ใช้จะต้องเพิ่มจำนวนของเส้นพลาสติกหรือสีเส้นเข้าไปในโปรแกรมก่อน ถึงจะสามารถใช้ฟีเจอร์เกี่ยวกับการปริ้นหลายสีได้ ซึ่งวิธีการเพิ่มเส้นพลาสติก มี 2 วิธี

1.เพิ่มแบบแมนวลโดยการกดเพิ่มเส้น

วิดีโอสอนการเพิ่มเส้นแบบ Manual

2.ใช้วิธี Sync ข้อมูลระหว่างเครื่องปริ้นกับโปรแกรม

วิดีโอสอนการ Sync ข้อมูล

สำหรับการ Sync เส้นพลาสติกที่อยู่ในกล่อง AMS จำเป็นจะต้องต่อเครื่องเข้ากับระบบ Network หรือ Wifi ก่อน ถึงจะทำการ Sync ข้อมูลได้

การระบุสีเส้นในโปรแกรม

สำหรับการเพิ่มสีเส้นแบบแมนนวล ผู้ใช้อาจจะต้องทำการระบุชนิดเส้นพลาสติก และสีของเส้นเอง ซึ่งการระบุสีเส้น จะเป็นการช่วยให้รู้ว่างานที่พิมพ์ออกมาจะมีหน้าตา ความสวยงาม ออกมาประมาณไหน ซึ่งตัวโปรแกรม Bambu Studio สามารถที่จะเลือกสีให้กับเส้นได้หลายเฉด หลายโทนสี ยิ่งถ้าพลาสติกที่ขายมีการระบุ Hex Code Color มา ก็ยิ่งช่วยให้งานที่พิมพ์ออกมาตรงกับสีเส้นพลาสติกที่ใช้พิมพ์

วิดีโอสอนการระบุสีเส้น

สำหรับคนที่ใช้เส้นยี่ห้อ Polymaker แล้วจะได้เปรียบกว่ายี่ห้ออื่นๆ เพราะเป็นเจ้าเดียว ที่มีการให้ Code สีมาด้วย ช่วยให้โมเดลที่แสดงในโปรแกรม มีสีที่ตรงกับสีของเส้นพลาสติก

เรียนรู้โมเดลที่จะพิมพ์หลายสี

สำหรับการพิมพ์หลายสี กับเครื่อง Bambulab สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะเขียนไฟล์แยกออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วประกอบกันในโปรแกรมเขียนแบบ แล้ว Export ออกมาเข้าโปรแกรม Bambu Studio เลยก็ได้ หรือจะเอาโมเดลมาใส่สีในโปรแกรม Bambu Studio เองก็ได้

แบ่งชิ้นทำสีจากโปรแกรมเขียนโมเดล 3 มิติ

สำหรับวิธีนี้ ตัวโมเดลจำเป็นจะต้องถูกแบ่งออกมาเป็นไฟล์​ที่แยกจากกัน เวลาเอาโมเดลเข้าโปรแกรม ต้องลากไฟล์ทั้งหมดเข้าไปพร้อมกัน ซึ่งพอเอาเข้าโปรแกรม Bambu Studio ตัวโปรแกรมจะถามว่า ไฟล์ที่เอาเข้ามาทั้งหมดนั้น เป็นโมเดลชิ้นเดียวกันใช่ไหรือไม่ อันนี้ให้ตอบ Yes ตัวโปรแกรมก็จะโหลดไฟล์ทั้งหมด ให้อยู่รวมกันในตำแหน่งที่เขียนมา

ถ้าตอบ YES โมเดลที่โหลดเข้ามาไม่ว่าจะมีกี่ชิ้น จะถูกล็อคตำแหน่งเอาไว้ เวลาเคลื่อนย้ายโมเดล จะไปทั้งหมด แต่ถ้าตอบ No ตัวโมเดลแต่ละชิ้นจะสามารถขยับออกจากตำแหน่งได้

ตัวอย่างการนำไฟล์นามสกุล .STL 2 ตัวเข้ามาพร้อมกัน

สำหรับไฟล์ที่ปริ้นสีและมีหลายชิ้น แนะนำให้บันทึกเป็นนามสกุล .3MF จะดีกว่า เพราะชนาดไฟล์จะเล็ก และมีข้อมูลของตำแหน่งงานแต่ละชิ้นบันทึกมาด้วย ซึ่งไฟล์ .3MF เป็นไฟล์ที่โปรแกรมเขียนโมเดล 3 มิติ สามารถ Export ออกมาได้

ในโปรแกรมเชียนโมเดล 3 มิติบางโปรแกรม เวลาที่ Export ไฟล์ออกมา โดยเฉพาะนามสกุล .3MF และ .STEP ด้านในไฟล์จะมีรายละเอียดของชิ้นส่วนที่เขียนประกอบกันไว้ ซึ่งพอเอาเข้าโปรแกรม จะแสดงชิ้นส่วนทั้งหมดออกมาในรูปของ Object ทั้งๆที่ตอนโหลดโมเดลเข้ามา โหลดแค่ไฟล์เดียวก็ตาม ถ้าเป็นไฟล์ลักษณะนี้ ก็ให้ตอบ YES โมเดลที่โหลดเข้ามาก็จะอยู่ในตำแหน่ง Origin เดียวกัน แล้วโดนเล็อค ไม่ให้เคลื่อนที่

ตัวอย่างการนำไฟล์นามสกุล .3MF เข้ามา

ระบายสีโมเดลในโปรแกรม Bamub Studio

สำหรับวิธีนี้จะเป็นการลงสีผ่านโปรแกรม Bambu Studio เลย ซึ่งการลงสีด้วยวิธีนี้ จะสะดวก เพราะไม่จำเป็นต้องแบ่งหรือแยกไฟล์งาน สามารถที่จะใช้ฟีเจอร์ Brush หรือ Fill เติมสีลงบนโมเดล 3 มิติได้เลย ซึ่งการลงสีแบบนี้ สามารถลงได้ทั้งบนผิวชิ้นงาน หรือจะลงทั้งชิ้นเลยก็ได้

1.โหลดโมเดลเข้าโปรแกรมที่ต้องการทำสี

2. เลือกไปที่โมเดล แล้วกดปุ่ม Color Painting หรือกดปุ่ม N บนคีย์บอร์ด

3. เลือกสีที่ต้องการ แล้วกดเลือเครื่องมือ Selection ที่ต้องการ แนะนำให้เลือก Fill

4. ทำการเลือกผื้นที่ผิวที่ต้องการลงสี โดยใช้เมาส์ Click

วิดีโอสอนการลงสีโมเดล

5. ย้อนกลับไปหน้า Prepare โดยการกดปุ่ม Color Painting เพื่อออกจากหน้าต่าง Painting

6. ทำการกดปุ่ม Slice เพื่อให้โปรแกรมสร้างไฟล์สำหรับพิมพ์งาน

ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง เป็นกล่องที่โปรแกรมสร้างขึ้นมาให้อัตโนมัติ เรียนว่า “Prime Tower” สำหรับฉีดเส้นพลาสติกทิ้งก่อนเข้าไปพิมพ์งาน เพื่อให้สีที่ฉีดออกมาเป็นสีตามเส้น ถ้าไม่มี Prime Tower สีที่ค้างอยู่ในหัว อาจจะไปผสมกับสีพลาสติกที่โหลดเข้ามาใหม่ แล้วทำให้สีเพี้ยนได้ สำหรับ Prime Tower สามารถที่จะปิดไม่ให้พิมพ์ก็ได้

7. เช็คทางเดินหัวพิมพ์และปริมาณเส้นที่ใช้ รวมถึงเวลาพิมพ์

หลังจากที่ทำการ Slice ตัวโปรแกรมก็จะแสดงข้อมูลของปริมาณเส้นพลาสติกที่ใช้ในแต่ละสี รวมไปถึงเวลาในการพิมพ์ ถ้าดูแล้วโอเค ก็สามารถที่จะสั่งปริ้นงานได้เลย

การสลับสีเส้นพลาสติก จะเป็นไปแบบอัตโนมัติ ซึ่งทุกครั้งที่มีการสลับเส้น จะมีการตัดเส้นพลาสติกทุกครั้ง และมีการฉีดเส้นพลาสติกทิ้งทุกครั้ง ซึ่งบางครั้ง ปริมาณเส้นที่ถูกฉีดทิ้ง เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว อาจจะมากกว่าตัวชิ้นงาน ดังนั้น ถ้าจะพิมพ์งานหลายๆสี ควรที่จะพิมพ์งานหลายๆ ตัวพร้อมกัน จะดีกว่า เพราะไม่ว่าจะพิมพ์ตัวเดียว หรือหลายตัว ปริมาณเส้นที่ถูกฉีดทิ้งก็จะเท่ากัน

อธิบายเครื่องมือในส่วนของ Color Painting

การลงสีด้วยโปรแกรม Bambu Studio นั้น จะมีความหยืดหยุ่น แล้วแค่เครื่องมือที่เลือกใช้ เพราะสามารถเลือกเป็นแบบ Selction ที่เป็นทั้งชิ้น หรือ เป็นเฉพาะผิวสามเหลี่ยม หรือจะเป็นแบบ Free hand ที่ใช้หลักการระบายสี โดยใช้แปรง ไปทาตรงส่วนที่ต้องการ ซึ่งตัวแปรงก็สามารถที่จะปร้บแต่งชนาดได้ เพื่อให้เก็บรายละเอียดในส่วนเล็กๆได้

  1. ช่องสำหรับเลือกสีเส้นพลาสติก
  2. เครื่องมือสำหรับการลงสี
  3. ขนาดของแปรงลงสี
  4. มุมมองแบบ ผ่าโมเดลข้างไน เพื่อให้สามารถลงสีโมเดลที่อยู่ด้านในได้
  5. ปุ่มสำหรับลบ สีที่ถูกลงไปแล้วทั้งหมด

หลังจากที่ทำการลงซื้อเสร็จแล้ว ก่อนที่จะ Slice แนะนำให้ Export โมเเดลออกมาเป็นนามสกุล .3MF ก่อนทุกครั้ง เพราะบางที ถ้ามีการทำอะไรกับโมเดล เช่น Split หรือแบ่งโมเดลออกเป็น Object หลังจากที่ลงสีเสร็จแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับได้ สำหรับการ Export สามารถทำได้โดย กด File > Export > Export Generic 3MF

Updated on 26/08/2023

Was this article helpful?

Related Articles