สำหรับแผ่นรองปริ้นที่สามารถใช้กับเครื่อง BambuLab ได้จะมีหลายแบบ ตัวแผ่นจะทำจากเหล็กสปริง ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการเคลือบสารที่แตกต่างกัน บางแผ่นจะเป็นการติดสติกเกอร์ เพื่อให้เหมาะกับการปริ้นเส้นพลาสติกในแต่ละชนิด และแผ่นเหล็กรองปริ้นทุกแผ่น สามารถที่จะบิดและงอได้ เพื่อให้การเอางานออก ทำได้ง่าย
แผ่น Bambu Lab ออกแบบมาให้ใช้ได้ 2 หน้า ซึ่งบางแผ่นก็จะใช้กับเส้นพลาสติกที่แตกต่างกัน ต้องสังเกตุบนแผ่น ว่าใช้กับเส้นอะไร บางแผ่นก็จะใช้การเคลือบสารลงไป แทนการติดสติกเกอร์
สำหรับคนที่ซื้อเครื่อง Bambu Lab รุ่น X1 Series ไป จะได้แผ่นรองปริ้นที่เป็นแผ่นเรียบ Cool plate และ Engineering Plate ในแผ่นเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง 2 หน้า

ส่วนคนที่ซื้อเครื่อง Bambu Lab รุ่น P1 Series จะได้แผ่นรองปริ้น ที่เป็นแบบ Texture ซึ่งจะมีผิวขรุขระ และหยาบ ซึ่งจะเหมือนกัน ทั้ง 2 ฝั่ง ใช้ได้ทั้ง 2 หน้าเหมือนกัน ซึ่งแผ่น Texture ที่เป็นแผ่นหยาบ สามารถใช้กับเส้นพลาสติก ได้หลากหลายชนิด ทั้งเส้น PLA และเส้นพลาสติกวิศวกรรมจำพวก ABS / ASA / PETG / TPU / PC และ ไนลอน PA
ก่อนพิมพ์งาน
- ตรวจสอบว่าไม่มีเศษพลาสติก ติดค้างอยู่บนแผ่น ถ้ามี ให้เอาออก เวลาดู ต้องดูให้ครบทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
- ตัวแผ่นรองปริ้น สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการล้างน้ำ เพื่อล้างคราบกาวออกก่อน ล้างด้วยน้ำ หรือใช้น้ำยาล้างจาน ล้างทำความสะอาดได้ ล้างเสร็จต้องเช็ดให้แห้ง
- ทากาวลงบนแผ่นตามชนิดของเส้นพลาสติก เพื่อช่วยให้ตัวงานติดแน่น เวลาพิมพ์ รวมไปถึงช่วยยืดอายุการใช้งานของแผ่น
- เช็คฐานทำความร้อนว่าไม่มีเศษพลาสติก ตกอยู่ ถ้ามีให้นำออก
- วางแผ่นรองปริ้นลงบนตำแหน่ง ของฐานทำความร้อน โดยให้สังเกตุ ว่ามุมของแผ่นจะต้องลงไปอยู่ในร่อง ที่ป้องกันไม่ให้แผ่นดิ้นไปมา

สำหรับเครื่อง X1 Series แผ่นที่ไปกับเครื่อง จะเป็นแผ่นที่ใช้ได้ 2 ฝั่ง ซึ่งแต่ละฝั่งก็จะใช้เส้นพลาสติกที่แตกต่างกัน ตัวแผ่นรองปริ้นของเครื่อง X1 Series จะเป็นแบบสติกเกอร์ สามารถลอกออกได้
แผ่นรองปริ้น Bambu Cool Plate

สำหรับแผ่นนี้จะเหมาะกับการปริ้นพลาสติก ที่มีค่า Glass Transition ต่ำ หรือใช้ความร้อนต่ำ เส้นที่แนะนำสำหรับใช้กับแผ่น Cool Plate ได้แก่
ขนิดเส้น | ความร้อนฐาน | ทากาว |
เส้น PLA / PLA-CF / PLA-GF | 30-45 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
เส้นยาง TPU | 30-35 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
เส้น PVA | 35-45 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
แผ่น Cool Plate จำเป็นต้องทากาวก่อนใช้งานทุกครั้ง ถ้าไม่ทา อาจจะทำให้พลาสติกที่ฉีดออกมา ติดกับแผ่น จนไม่สามารถลอกออกได้ และอาจทำให้แผ่นเสียหายได้ ส่วนกาวที่ใช้แนะนำเป็นกาวน้ำ เพราะทำความสะอาดง่าย ทางร้านแนะนำเป็นกาว Magigoo ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยเฉพาะ
แผ่นรองปริ้น Bambu Engineering Plate

สำหรับแผ่นนี้ จะอยู่อีกด้านตรงข้ามของแผ่น Cool Plate ซึ่งแผ่นรองปริ้นตัวนี้ จะเอาไว้พิมพ์เส้นพลาสติกวิศวกรรม ที่แสดงในตาราง
ขนิดเส้น | ความร้อนฐาน | ทากาว |
เส้นยาง TPU | 30-35 องศาเซลเซียส | ควรทากาว |
เส้น PETG | 70-80 องศาเซลเซียส | ควรทากาว |
เส้น ABS | 100-110 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
เส้น PC / PC-CF | 100-110 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
เส้น PA / PA-CF / PAHT-CF | 100-110 องศาเซลเซียส | จำเป็นต้องทากาว |
สำหรับแผ่นด้านนี้ ทางร้านแนะนำให้ทากาว ก่อนใช้ เพราะเส้นพลาสติก ส่วนใหญ่ที่ใช้กับฝั่งนี้ จะเป็นเพลาสติกวิศวกรรม ซึ่งกาวที่ใช้ ก็จะมีให้เลือกหลายสูตร สามารถเข้าไปเลือกได้ที่ Link นี้ และควรจะเลือกให้ตรงกับเส้นพลาสติกที่จะใช้ปริ้น
แผ่นรองปริ้น Bambu Dual Sided Textured PEI

สำหรับแผ่นรองปริ้นตัวนี้ จะมีผิวสัมผัส ที่ขรุขระและหยาบ เวลาเอามือลูบ งานที่ปริ้นออกมา ด้านล่าง ที่สัมผัสกับตัวแผ่นก็จะมีลายตามแผ่น ตัวแผ่นทำจากการพ่นผงพลาสติก PEI เคลือบลงไปบนแผ่นเหล็ก ทั้ง 2 ฝั่งจะเหมือนกัน ตัวแผ่นรองรับการปริ้นพลาสติกได้หลายชนิด รวมไปถึงพลาสติกที่มีความร้อนต่ำอย่าง PLA
ขนิดเส้น | ความร้อนฐาน | ทากาว |
เส้น PLA / PLA-CF / PLA-GF | 45-60องศาเซลเซียส | ไม่จำเป็น |
เส้น ABS | 90-100 องศาเซลเซียส | ไม่จำเป็น |
เส้น PETG | 60-80 องศาเซลเซียส | ไม่จำเป็น |
เส้น TPU | 35-45 องศาเซลเซียส | ต้องทากาว |
เส้น ASA | 90-100 องศาเซลเซียส | ไม่จำเป็น |
เส้น PVA | 45-60 องศาเซลเซียส | ไม่จำเป็น |
เส้น PC / PC-CF | 90-110 องศาเซลเซียส | ต้องทากาว |
เส้น PA / PA-CF / PAHT-CF | 90-110 องศาเซลเซียส | ต้องทากาว |
จุดเด่นของแผ่นรองปริ้นตัวนี้ คือเมื่อให้ความร้อน ชิ้นงานจะติดแน่น แต่เวลาที่ปริ้นงานเสร็จแล้ว ฐานเริ่มเย็น งานก็จะหลุดออกง่าย ตัวแผ่นสามารถใช้กาวทา เพื่อช่วยให้งานติดแน่น ซึ่งตัวกาวแนะนำเป็นของ Magigoo ที่มีให้เลือกหลายสูตร