1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Original Prusa i3 MK3S+
  4. การตรวจเช็คและซ่อมเบื้องต้น เครื่อง Prusa MK3S

การตรวจเช็คและซ่อมเบื้องต้น เครื่อง Prusa MK3S

สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากยกเครื่องมาที่ร้าน แล้วอยากลองซ่อมเองดูก่อน สามารถดูวิดีโอ การตรวจเช็ค เครื่อง รวมไปถึงการถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออกมา เพื่อตรวจสอบและแก้ไข ถ้าดูแล้วไม่เข้าใจ สามารถทักเข้ามาถาม ที่ร้านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย

1.ตรวจเช็คการทำงานของเซนเซอร์เช็คเส้นพลาสติก

สำหรับเครื่อง Original Prusa ตั้งแต่รุ่น MK2.5 เป็นต้นไป จะมาพร้อมกับเซนเซอร์ตรวจจับเส้นพลาสติก ซึ่งจะเอาไว้เช็คว่าเส้นที่กำลังพิมพ์อยู่ หมดหรือยัง ถ้าเส้นหมดตัวเครื่องจะหยุด แล้วรอให้ผู้ใช้เข้ามาเปลี่ยนเส้น เพื่อกลับไปพิมพ์งานต่อที่เดิม ซึ่งบางครั้ง เซนเซอร์อาจจะมีการทำงานผิดพลาด ทำให้ตัวเครื่องหยุดทำงาน ทั้งๆที่มียังมีเส้นพลาสติกอยู่ ซึ่งถ้าเกิดกรณีเกิดขึ้น ผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบการทำงานของเซนเซอร์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าเซนเซอร์ไม่ตอบสนอง ก็สามารถที่จะเปลี่ยนตัวเซนเซอร์ได้เอง

2. การถอดหัวฉีด เครื่อง Prusa รุ่น MK3

การถอดหัวฉีดนั้นผู้ใช้สามารถทำเองได้ ซึ่งการถอดหัวฉีดจะทำก็ต่อเมื่อเครื่องมีอาการหัวฉีดตัน / เส้นพลาสติกคาอยู่ด้านในท่อ หรือต้องการเปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่ ก่อนการถอดหัวฉีด ในกรณีที่หัวฉีดตัน แล้วได้มีการใช้เหล็กกดลงไปแล้ว แต่เส้นก็ยังไม่ไหลออกที่ปลายหัว ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แปลว่า ในชุดหัวฉีดอาจจะมีการคลายตัวของท่อเหล็กที่อยู่ด้านใน ทำให้เส้นพลาสติกทะลักออกมาด้านข้าง หรือไม่ท่อด้านในก็มีสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ขอบด้านในท่อเหล็ก ซึ่งวิธีการซ่อม ก็คือการถอดหัวฉีดออกมาทำความสะอาดในทุกชิ้นส่วน แล้วทำการประกอบกลับ ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการถอดหัวฉีด ก็คือไดร์เป่าลมร้อน ซึ่งจะช่วยให้การถอดหัวฉีดง่ายขึ้น รวมไปถึงช่วยให้การทำความสะอาดหัวฉีด ทำได้หมดจด

หัวฉีด MK3 จะแตกต่างจากรุ่น MK3S และ MK3S+ ซึ่งตัวเช็คเส้นพลาสติกจะเป็นแบบ Optical ที่ตรวจเส้นด้วยแสง ซึ่งจะมีปัญหาเยอะ เพราะมีเรื่องฝุ่นที่ทำให้เครื่องอ่านค่าผิดพลาด ถ้าลูกค้ามีเครื่องรุ่นนี้อยู่สามารถที่จะนำมา Upgrade เป็นรุ่น MK3S+ ได้ มีค่าใช้จ่ายประมาณ​ 3000 บาท

3. การถอดหัวฉีดและประกอบกลับ เครื่อง Prusa รุ่น MK3S และ MK3S+

ในส่วนวิดีโอนี้จะเป็นการสอนวิธีการถอดชุดหัวฉีดของเครื่อง Prusa รุ่น MK3S และ MK3S+ ซึ่งจะแตกต่างจากรุ่น MK3 เพราะใช้เซนเซอร์ตรวจจับเส้นพลาสติกแตกต่างกัน สำหรับการถอดหัวฉีด จะทำก็ต่อเมื่อ หัวฉีดตัน ใช้เหล็กกดลงมาแล้ว ก็ยังไม่ออก หรือมีเส้นพลาสติกพันเป็นปม อยู่ด้านในดึงไม่ออก ก็จำเป็นต้องถอดหัวฉีดออกมา สำหรับผู้ใช้บางคนอาจจะต้องการทำความสะอาดชุดท่อด้านในหัวฉีด ก็สามารถทำตามวิดีโอนี้ได้เลย ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ที่ต้องมีก็คือไดร์ร้อน เอาไว้สำหรับเป่าให้หัวฉีดร้อน เพื่อให้ถอดชุดหัวฉีดได้ง่ายขึ้น

4. ตรวจสอบเซนเซอร์วัดฐานพิมพ์​หรือ P.I.N.D.A Probe

ก่อนพิมพ์ทุกครั้ง ตัวเครื่องจะทำการวัดฐานหรือ Calibrate ฐาน ซึ่งในบางครั้ง อาจจะมีข้อความแสดงข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ขณะเครื่องกำลังทำการวัดฐาน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ให้ลองเช็คดูว่า ตัวเซนเซอร์วัดฐานที่ติดข้างหัวฉีดนั้น ทำงานปกติหรือไม่ โดยการเช็คสถานะของเซนเซอร์ผ่านหน้าจอ ของเครื่อง

5. การทำ Calibration XYZ สำหรับเครื่องที่มีการถอดฐานพิมพ์และปรับสายพาน

เครื่อง Original Prusa ทุกรุ่น จะมีเซนเซอร์สำหรับวัดฐานพิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจและเป็นจุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งเซนเซอร์ตัวนี้ จะคอยวัดสนามแม่เหล็กที่ฐานพิมพ์ เพื่อปรับระยะความสูงของหัวฉีดให้เหมาะสมตามสภาพผิวของฐานพิมพ์ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะใช้ได้สมบูรณ์ ก็ต้องมีการ Calibrate XYZ ซึ่งจะทำก็ต่อเมื่อ

  1.  มีการปรับตั้งความตึงของสายพานในแกน X หรือแกน Y
  2. มีการถอดฐานพิมพ์หรือชุดหัวฉีดออกจากแกน
  3. มีการถอดหัวฉีดออกมาเพื่อทำความสะอาด
  4. มีการถอดฐานพิมพ์ทำความร้อน
  5. มีการ Update Firmware เป็นเวอร์ชั่นใหม่

ซึ่งถ้ามีการทำสิ่งที่กล่าวมาด้านบน ผูํใช้ก็ควจจะต้องทำการ Calibrate XYZ ใหม่ เพื่อให้เครื่องสามารถหาค่าระยะที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์งาน ซึ่งการทำ Calibrate XYZ สำหรับเฟิรม์แวร์เวอร์ชั่นใหม่จะใช้ระยะเวลามากขึ้นกว่าที่แสดงในวิดีโอ แต่วิธีการและขั้นตอนจะเหมือนกันทุกประการ แค่ใช้เวลามากขึ้น

สำหรับ FIrmware ตัวใหม่ การ Calibration อ่านนจะไม่เหมือนในวิดีโอทั้งหมด และอาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม

6. การเทสฟีเจอร์ไฟดับพิมพ์ต่อ รวมถึงเส้นหมด แล้วเครื่องหยุดรอ

สำหรับเครื่อง Prusa MK3 จะมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้การพิมพ์งานสำเร็จมากขึ้น ไม่ว่า ไฟดับ แล้วเครื่องกลับมาพิมพ์ต่อที่เดิมเวลาไฟมา รวมไปถึงถ้าเส้นพลาสติกหมดระหว่างปริ้น ตัวเครื่องจะหยุด รอให้มาเปลี่ยนเส้น แล้วกลับไปพิมพ์ต่อที่เดิมได้ และก็ฟีเจอร์ ที่ป้องกันอาการ Layer Shift หรือการเคลื่อนของตัวงานที่ปริ้น ซึ่งระบบทั้งหมดนี้ สามารถเทสได้ ว่าทำงานปกติหรือไม่

ฟีเจอร์เช็คเส้นพลาสติก จะทำงานดีขึ้น ในเครื่องรุ่น MK3S และ MK3S+ สามารถใช้กับเส้นพลาสติกที่ใสและโปร่งแสงได้ เพราะเปลี่ยนตัวเช็คเส้นมาใช้แบบกระเดื่อง ที่มีความแม่นยำ และเสถียรมากกว่า

Updated on 10/08/2023

Was this article helpful?

Related Articles