1. Home
  2. Knowledge Base
  3. เครื่อง Crealtiy Ender 3 V3 SE
  4. การบำรุงรักษาเครื่อง Ender 3 V3 Se

การบำรุงรักษาเครื่อง Ender 3 V3 Se

สำหรับการใช้เครื่อง ควรที่จะตั้งชั่วโมงการทำงาน สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องด้วย เพื่อให้เครื่องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ รวมไปถึงงานที่ปริ้นออกมา จะได้มีขนาดที่ตรงตามแบบที่เขียนไว้ เพราะถ้าไม่บำรุงรักษา ชิ้นส่วนของเครื่องบางชิ้น อาจทำงานติดขัด ทำให้งานปริ้นเสีย

การดูแลรักษาฐานพิมพ์งาน

ตัวเครื่อง Ender 3 V3 Se จะมาพร้อมกับแผ่นเหล็กฐานพิมพ์แบบแม่เหล็ก ซึ่งสามารถที่จะยกออก แล้วบิด เพื่อเอาชิ้นงานออกได้ ซึ่งตัวแผ่น จะมีการเคลือบสาร ที่ช่วยให้พลาสติกติดแน่น เวลาพิมพ์ สำหรับการใช้งานแผ่น ก็ไม่ควรที่จะบิดและงอแผ่น มากเกินไป เพราะจะทำให้แผ่นเสียรูป รวมไปถึงเวลาเอาชิ้นงานออก แนะนำให้ แผ่นฐานเย็นก่อน แล้วจึงค่อยบิดออก เวลาบิด ให้บิดขึ้นและลง ตามมุมของแผ่น

รอให้แผ่นเย็นก่อน แล้วค่อยบิดออก

ในกรณี ที่งานปริ้นไม่หนา หรือมีความบาง เวลาบิด ตัวงานอาจจะไม่หลุด ถ้าเกิดแบบนี้ ใช้เกรียง ในการแซะเอางานออก เวลาใช้เกรียง ก็ให้ระวังมุมของเกรียง ไปขูดกับแผ่นฐาน

เส้นพลาสติกบางชนิด อาจจะพิมพ์แล้วไม่ติดกับฐาน จำเป็นจะต้องใช้ตัวช่วย จำพวกกาว ซึ่งแนะนำให้ใช้กาวน้ำ Magigoo ที่ทำขึ้นมาสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ โดยเฉพาะ ตัวกาวมีหลายสูตรและสามารถใช้กับพลาสติกได้หลายชนิด ข้อดีของกาวน้ำ คือไม่ทิ้งคราบ ลงบนฐานพิมพ์ สามารถใช้ได้หลายครั้ง ในการทาครั้งเดียว รวมไปถึง ล้างน้ำเปล่า ทำความสะอาดได้เลย

ถ้าชิ้นงานที่พิมพ์ มีหน้ากว้าง เกือบเต็มพื้นที่การพิมพ์ของเครื่อง แนะนำให้ทากาว จะช่วยให้งานไม่ยกตัว ช่วยให้ปริ้นงานเสร็จ

ตัวแผ่นเหล็กฐานพิมพ์ เวลาใช้นานๆ ก็จะมีอาการเสื่อม ซึ่งถ้าใช้ไปแล้วงานเริ่มไม่ติด ก็แนะนำให้ซื้อแผ่นใหม่มาใช้งานแทน ตัวแผ่นจะไม่ได้อยู่ในการรับประกัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วสึกหรอ ตามอายุการใช้งาน

การใส่จารบีหล่อลื่น

การดูแลรักษาในส่วนของ Lead Screw และแกนเหล็ก จะช่วยให้งานปริ้นออกมา เรียบและเนียน ดังนั้น แนะนำให้ใส่ทุกๆ อาทิตย์ ซึ่งจารบี ที่แนะนำ จะเป็นจารบีที่มีเนื้อสีขาว หรือมีส่วนผสมของ PTFE หรือเทฟลอน

ก่อนที่จะทาจารบีทุกครั้ง ต้องใช้กระดาษเช็ดคราบจารบีของเก่าออกก่อนทุกครั้ง เวลาทา ก็ไม่ควรที่จะทาเยอะ เพราะ ถ้าทาเยอะ ตัวจารบี จะรวมตัวกันเป็นก้อน และจะเป็นแหล่งที่ใยพลาติก และฝุ่นมารวมตัวกัน

สำหรับเครื่อง Ender 3 V3 SE จะมีตำแหน่งในการใส่จารบี ด้วยกัน 2 จุด คือ แกน Lead Screw และ แกนเครื่องฐานพิมพ์หรือแกน Y เวลาใส่จารบี แนะนำให้ปิดเครื่องก่อน แล้วค่อยใส่จารบี ถ้าเป็นแกน Z (ขึ้น-ลง) ให้ลากสายพานที่อยู่ด้านบน เพื่อให้แกนขยับ ส่วนที่เป็นฐานพิมพ์ ก็ใช้มือลากได้เลย เวลาขยับแกน แนะนำให้ทำช้าๆ เพราะถ้าลากเร็วเกิน จะเกิดกระแสไฟย้อน ไปที่บอร์ดของเครื่องได้

สำหรับลูกล้อสีดำ ที่วิ่งอยู่บนราง ไม่ต้องใส่จารบี ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเอาฝุ่นออกก็พอ ถ้าใส่ จะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่น และจะยิ่งทำให้ลูกล้อสีกและเสียเร็ว

การเปลี่ยนหัวฉีด

หัวฉีดที่ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญ และเป็นปลายทางที่พลาสติก จะไหลออกมา งานสวยหรือไม่สวยก็ขึ้นอยู่กับหัวฉีด ซึ่งหัวฉีดก็เป็นชิ้นส่วนที่สึกหรอเหมือนกัน เวลาใช้ไปนานๆ รูของหัวฉีด อาจจะมีการขยายใหญ่ขึ้น เพราะเจอการเสียดสี ทำให้งานที่ปริ้นออกมา ไม่สวย หรือมีขนาดไม่ตรงตามแบบ

การเปลี่ยนหัวฉีด เป็นการแก้ไขงานที่เคยพิมพ์สวย และอยู่ๆ พิมพ์ไม่สวย ได้เป็นอย่างดี สำหรับหัวฉีดของเครื่อง Ender 3 V3 SE ถ้าต้องการเพิ่มคุณภาพงานพิมพ์​ แนะนำให้ใช้หัวฉีด Bondtech จากประเทศ สวีเดน ซึ่งเป็นหัวฉีด ที่มีการเคลือบสารกันติด ข่วยให้พลาสติกไม่ไปกองติดที่หัว

สำหรับการเปลี่ยนหัวฉีดเครื่อง Ender 3 V3 SE ก่อนอื่นให้ถอดตัวซิลิโคนหุ้มหัวฉีดออกก่อน ซึ่งสามารถดึงออกมาตรงๆได้เลย

เมื่อถอดเอาซิลิโคนออกแล้วก็จะเห็นหัวฉีด ให้ทำการ Preheat หัวฉีด ให้หัวฉีดร้อน เพื่อจะช่วยให้การเอาหัวฉีดออกง่าย เมื่อความร้อนได้แล้ว ให้เอาประแจขันเอาหัวฉีดออก เวลาขันอาจจะต้องใช้ประแจอีกตัว จับที่ตัว Heat Block ก่อน แล้วค่อยขันเอาหัวฉีดออก

ถ้าไม่ Preheat หรืออุ่นหัวฉีดแล้วไปขันหัวฉีดออก ตอนนี้หัวฉีดยังเย็นอยู่ อาจจะทำให้หัวฉีดเสียหายและพังได้

เมื่อขันเอาหัวฉีดออกแล้ว ให้ปิดเครื่อง แล้วรอให้ความร้อนหายไป พอที่จะเอามือจับได้ ก็ให้เอาหัวฉีดอันใหม่ขันใส่เข้าไป เวลาขันก็ขันให้สุด แต่ยังไม่ต้องขันแน่น เมื่อใช้มือขันแล้ว ก็ให้เปิด Preheat เพื่ออุ่นหัวฉีดให้ร้อนอีกครั้ง เมื่อความร้อนได้ที่แล้ว ก็ให้เอาประแจขันหัวฉีดให้แน่น เวลาขันก็ให้เอาประแจอีกตัวจับไปที่ Heat Block แล้วค่อยขัน

1-30.png

การขันหัวฉีดให้แน่นตอนร้อน จะช่วยให้หัวฉีดและ Heat Block ขยายตัว ทำให้เวลาขัน หัวฉีดจะแน่นกว่าเดิม และช่วยให้มั่นใจได้ว่า ด้านในจะไม่ม่ช่องที่พลาสติกจะรั่วออกไปได้

พอขันหัวฉีดแน่นแล้ว ก็ให้ปิดเครื่อง รอหัวฉีดเย็นตัวลง เสร็จแล้วให้เอาซิลิโคนหุ้มหัวฉีด ใส่กลับเข้าที่เดิม

1-31.png

ซิลิโคนหุ้มหัวฉีด เป็นสิ่งจำเป็น และต้องใส่ เพราะตัวซิลิโคน จะเป็นตัวช่วยหุ้มให้ความร้อนที่หัวนิ่ง ไม่แกว่งไปมา และยังช่วยป้องกันลม จากพัดลมที่เป่างาน มาโดนหัวฉีด เพราะถ้าไม่มี ความร้อนของหัวฉีดจะไม่นิ่ง ทำให้เส้นที่ถูกฉีดออกมา ไม่สม่ำเสมอ หรือสีเพี้ยน

วิดีโอสอนการทำความสะอาดและการเปลี่ยนหัวฉีด

Updated on 18/10/2023

Was this article helpful?

Related Articles