1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Bambu Studio
  4. การเพิ่มเส้นพลาสติกและการเปลี่ยนค่า

การเพิ่มเส้นพลาสติกและการเปลี่ยนค่า

อย่างที่รู้กันว่า เครื่อง Bambulab นั้นรองรับการใช้งานเส้น Third Party หรือเส้นพลาสติกยี่ห้ออื่น ซึ่งถ้าในโปรแกรม ไม่มียี่ห้อที่ซื้อมาให้เลือก ก็สามารถเพิ่มเส้นพลาสติก เข้าไปสร้าง Profile ค่า Setting แล้วบันทีกในโปรแกรม Bambu Studio ได้เลย

สำหรับเส้นพลาสติกที่ใช้ จะต้องมีขนาด 1.75 มิลลิเมตร เท่านั้น

สำหรับการเพิ่มเส้น Filament จะใช้การ Copy จากเส้นที่มีให้เลือกอยู่ในโปรแกรม แล้วนำค่าของเส้นนั้น มาปรับแต่งหรือแก้ไขแล้วบันทึกเป็นชื่อใหม่

ในตัวอย่างนี้ จะเพิ่มเส้น Polylite ABS เข้าไป ซึ่งในโปรแกรม Bambu Studio ไม่มีเส้นนี้ ดังนั้นเราจะใช้ Profile ของเส้น Bambu ABS เป็นตัวหลัก แล้วค่อยไปทำการแก้ไข แล้วบันทึกเป็นชื่อใหม่

หลายๆคนอาจจะไม่รู้ว่า Bambulab ไมได้ผลิตเส้นเอง แต่จ้างโรงงานอื่นผลิตให้ แล้วแปะแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งโรงงานที่ผลิตให้ในตอนนี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 เจ้าคือ Polymaker และ Sunlu ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆ สีเส้นของเส้น Bambu จะเหมือนกับเส้น Polymaker

ตัวอย่างการเพิ่มเส้น Polylite ABS

    1. เลือกเส้นให้เป็นเส้น Bambu ABS
    2. กดปุ่มหมายเลข 2 เพื่อเปิดหน้าต่างการแก้ค่า
    3. เปิดโหมด Advance เพื่อแสดงค่าทั้งหมด
    หน้าต่างแสดงค่าต่างๆ ที่ปรับได้
    วิดีโอแสดงตัวอย่างการเพิ่มเส้น

    มารู้จักแทบการตั้งค่าและตัวแปรต่างๆที่สามารถปรับได้

    สำหรับการปรับแต่งค่าเกี่ยวกับเส้นพลาสติกหรือ Filament นั้นจะมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร้อนหัวพิมพ์ และฐาน รวมไปถึงพัดลมที่ใช้เป่างาน ก็จะอยู่ในการตั้งค่าของเส้น Filament

    การปรับตั้งค่า ควรตะที่จะต้องทำการเทสปริ้นด้วย เพื่อให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมา มีความสวยงามและขนาดที่ตรง ตามแบบที่เขียนไว้

    แทบการตั้งค่า Filament

    ในแทบนี้ จะเป็นการกำหนดชนิดเส้น อุณหภูมิความร้อนของหัวฉีดและฐานปริ้น เพื่อให้เหมาะสมกับเส้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ได้แก่

    Basic Infomation

    • Tpye คือชนิดเส้น ตรงนี้ต้องใส่ให้ถูก เพราะโปรแกรมจะเช็ค ว่าแผ่นปริ้นที่ใช้ถูกกับเส้นที่เลือกหรือไม่
    • Vendor คือ ยี่ห้อหรือผู้ผลิตเส้น
    • Default Colot คือ สีของเส้น
    • Diameter คือขนาดของเส้นพลาสติก อันนี้ให้ใส่ 1.75 เป็นค่ามาตรฐาน แต่ถ้าวัดจากเส้นเอามาใส่ เป็นค่าจริงก็ได้
    • Flow Ratio คืออัตราการไหลของเส้น 0.95 คือ 95% ถ้าใส่ 1.0 คือ 100% ค่านี้ ขึ้นอยู่กับเส้นที่ใช้ ถ้าอยากให้เส้นออกมาเยอะ ก็ใส่ให้มากกว่า 1 ค่านี้ ถ้าใส่มากหรือน้อยไป ขนาดชิ้นงานอาจจะไม่ตรงตามแบบที่เขียนไว้
    • Density คือ ความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะ แต่ละเส้นจะไม่เท่ากัน ค่านี้เป็นค่าสำหรับคำนวน ปริมาณเส้นที่ใช้พิมพ์ และแสดงออกมาเป็นหน่วยกรัม
    • Price คือราคาของเส้นพลาสติก ต่อ 1 กิโลกรัม สามารถใส่เพื่อคำนวนค่าเส้นพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ใส่เป็นเงินบาท ก็ได้ เวลา Slice งาน ก็จะโชว์ หน่วยออกมาเป็นบาท
    • Temperature of Vitrification คือ อุณหภูมิความร้อน ที่เส้นพลาสติกเร่ิมจะนิ่ม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้ความร้อนที่ฐานไม่เกินค่านี้
    • Recommend Nozzle Temperature คือ ช่วงอุณหภูมิความร้อน ต่ำสุดและสูงสุด ของเส้นพลาสติก
    ค่าความหนาแน่นของเส้นแต่ละประเภท ภาพจาก Simplify3D

    ในส่วนนี้จะเป็นความร้อนที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งจะมีให้ใส่ 2 ช่องคือ First Layer และ Other Layers สำหรับ First Layer คือ ชั้นแรกหรือเลเยอร์แรก ซึ่งจะสำคัญที่สุด ความร้อนในชั้นนี้ อาจจะสูง หรือต่ำกว่าชั้นอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดพลาสติก ส่วน Other Layers คือชั้นที่เหลือ สามารถปรับความร้อนได้

    สำหรับการปรับความร้อน ก็ไม่ควรให้แตกต่างกันเกิน 5-10 องศา และไม่ควรต่ำหรือเกินกว่า ช่วงความร้อนที่ระบุมาในกล่อง

    • Nozzle คือค่าอุณหภูมิความร้อนของหัวฉีดสำหรับฉีดงาน
    • Cool Plate / Pla Plate คือค่าความร้อนของฐานพิมพ์ ชนิด Cool Plate
    • Engineering Plate คือค่าความร้อนของฐานพิมพ์ ชนิด Engineering Plate
    • High Temp Plate คือค่าความร้อนของฐานพิมพ์ ชนิด High Temp Plate
    • Texture PEI Plate คือค่าความร้อนของฐานพิมพ์ ชนิด Texture PEI Plate

    ถ้าต้องการปิดความร้อน ให้ใส่ตัวเลขเป็น 0

    Volumetric Speed limitation

    ในส่วนหัวข้อนี้ จะเป็นตัวกำหนดเรื่องของความเร็วในการฉีดเส้นพลาสติก ยิ่งตัวเลขยี่งเยอะ เครื่องก็จะสามารถปรับความเร็วได้มากขึ้น

    • Max Volumetric Speed คือค่าสูงสุด ที่หัวฉีดสามารถดันเส้นพลาสติกออกมาได้ ใน 1 วินาที

    ตัวเลขที่ใส่ จะต้องเหมาะสมกับเส้นพลาสติกด้วย เพราะถ้าใส่มากเกินไป เส้นจะฉีดไม่ออก แล้วทำให้หัวฉีดตันได้ ถ้าใส่น้อยไป เวลาเร่งความเร็วจะเร่งไม่ขึ้น เพราะถูกจำกัดด้วยค่าในช่องนี้

    แทบการตั้งค่า Cooling

    สำหรับแทบนี้จะเกี่ยวกับ พัดลมที่เป่าไปที่ชิ้นงานที่กำลังพิมพ์ ซึ่งจะมีค่าที่ตั้งได้ ตั้งแต่ระยะเวลาเปิด-ปิดพัดลม ความแรงของลม ทางเดินหัวพิมพ์เฉพาะที่อยากให้พัดลดเป่าให้แรง หรือเบา

    Cooling for specific layer

    • No cooling for the first คือ ให้ปิดพัดลมจนกว่า จะพิมพ์ไปถึงชั้นเลเยอร์ที่กำหนด แล้วค่อยเปิด เช่น ใส่ 3 หมายถึง พัดลมเป่างานจะทำงานก็ต่อเมื่อ ชิ้นงานถูกปริ้นไปจนถึงเลเยอร์ที่ 4

    Part Cooling Fan

    • Min Fan Speed Threshold คือ ค่าความแรงพัดลมที่ต้องการให้เป่าเบาที่สุด ซึ่งจะต้องใส่ค่า 2 ตัวได้แก่ กำลังพัดลมที่เป็น % ที่ต้องการให้เป่าเบาที่สุด รวมไปถึงระยะเวลาที่ต้องการให้พัดลมทำงาน ยกตัวอย่างเช่น Fan Speed ใส่ 10% และ Layer Time ใส่ 30 วินาที หมายความว่า ถ้าโปรแกรมคำนวนแล้วว่า ถ้าเลเยอร์ทั้งหมด ที่กำลังพิมพ์ ใช้เวลาในการพิมพ์ ตำ่กว่าแต่ไม่เกิน 30 วินาที ให้พัดลมทำงานที่ความแรงต่ำสุด 10%
    • Max Fan Speed Threshold คือ ค่าความแรงพัดลมที่ต้องการให้เป่าแรงที่สุด ซึ่งจะต้องใส่ค่า 2 ตัวได้แก่ กำลังพัดลมที่เป็น % ที่ต้องการให้เป่าแรงที่สุด รวมไปถึงระยะเวลาที่ต้องการให้พัดลมทำงาน ยกตัวอย่างเช่น Fan Speed ใส่ 80% และ Layer Time ใส่ 3 วินาที หมายความว่า ถ้าโปรแกรมคำนวนแล้วว่า ถ้าเลเยอร์ทั้งหมด ที่กำลังพิมพ์ ใช้เวลาในการพิมพ์ น้อยกว่า 3 วินาที ให้พัดลมทำงานที่ความแรงมากสุด 80%
    กำหนดความแรง และการช่วงการทำงาน

    ค่าที่ใส่ใน 2 ช่องนี้จะเป็นตัวกำหนดความเร็วพัดลม เบาสุดและแรงสุด รวมไปถึงการสั่งให้พัดลมทำงานที่ความแรงเท่าไหร่ ถ้าความเร็วอยู่ในช่วง Layer Time ของทั้ง 2 ค่า ตัวความแรงของพัดลมก็จะแปรผันไปตามเวลาในการพิมพ์เลเยอร์นั้น แต่จะไม่เกินค่าความแรงที่กำหนด

    • Keep Fan Always On คือ สั่งให้พัดลมเปิดตลอด แม้ว่าเลเยอร์ที่พิมพ์นั้นจะใช้เวลามากกว่า ค่า Layer Time ที่ใส่ในช่อง Min Fan Speed Threshold ตัวพัดลมก็จะยังเป่าที่ความแรงเบาสุด
    ปรับความเร็วในการปริ้น เพื่อให้พลาสติกเย็นตัวทัน
    • Slow Printing Down For Better Layer Cooling คือ สั่งให้หัวพิมพ์เดินช้าลง เพื่อช่วยให้เลเยอร์นั้นติดกันแน่น ซึ่งจะทำงาน ตามข้อหนดในส่วนของ Layer Time ที่ใส่ในช่อง Max Fan Speed Threshold หมายความว่า ถ้าเลเยอร์ที่จะพิมพ์นั้นเสร็จเร็ว ให้โปรแกรทำการเปลี่ยนค่าความเร็วของหัวพิมพ์เพื่อดีงเวลาให้พัดลมสามารถเป่าลมให้ชิ้นงานเย็นได้ท้น
    • Min Print Speed คือ ความเร็วช้าสุด ที่จะให้หัวพิมพ์ ปริ้นงาน ซึ่งจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเปิดใช้งานในส่วนของ Slow Printing Down For Better Layer Cooling
    • Force Cooling for Overhangs and Bridge คือการบังคับให้พัดลมทำงาน เวลาที่หัวพิมพ์กำลังพิมพ์ส่วนที่เป็น Overhang หรือส่วนที่ยื่น แหลมเกินออกมาจากโมเดล
    • Cooling Overhang Threshold คือ เปอร์เซนต์ที่คิดจากมุมหรือองศา ที่ยื่นเกินออกมา ที่ต้องการให้พัดลมทำงาน ถ้าใส่ 0 คือให้พัดลมเป่าทุกองศา
    • Fan Speed for Overhange คือ ความแรงสูงสุดของพัดลม ที่จะให้เป่าออกมา ถ้าหัวพิมพ์กำลังพิมพ์ส่วนที่เป็น Overhange หรือส่วนยื่น ส่วนเกิน

    Auxillary Part Cooling Fan

    ในส่วนนี้ จะเป็นพัดลมที่ติดอยู่ด้านข้างฐานปริ้น ที่เป็นพัดลมเสริม เพื่อช่วยเป่าให้ชิ้นงานเย็น ตัวได้เร็วขึ้น

    • Fan Speed คือความแรงของพัดลม Aux fan มีหน่วยเป็น %
    หน้าตาของพัดลม Auxillary Fan

    การใช้พัดลมตัวนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับเส้นพลาสติก PLA เป็นหลัก

    แทบการตั้งค่า Setting Overrides

    สำหรับแทบนี้จะเป็นการ เปลี่ยนค่าในส่วนของการดึงเส้น Retraction และการยกหัวฉีด เพื่อช่วยลดใยแมงมุมหรือ Spider Web

    สำหรับค่าในแทบนี้ จะเป็นค่าที่โปรแกรม Bambu Studio ตั้งเอาไว้ สำหรับเครื่องแต่ละรุ่น ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนค่าได้ โดยใช้การ Override เขียนค่าใหม่ ทับค่ามาตรฐาน

    ตัวแปรต่างๆ ในแทบนี้ จะเกี่ยวกับค่า Retration เป็นส่วนใหญ่

    คำว่า Retration นั้นหมายถึงการดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีด ซึ่งเวลาพิมพ์งาน หัวฉีดจะมีการย้ายจุดพิมพ์ไป มา ซึ่งเวลาย้ายจุดพิมพ์ ในระยะที่ยาว อาจจะมีเส้นพลาสติกไหลเยิ้ม ออกมาจากหัวฉีด ซึ่งก็จะพาดไป พาดมา ทำให้ต้องมาเก็บงานและกำจัดใยพวกนี้ออกหลังจากพิมพ์เสร็จ

    การเปลี่ยนค่า Retration ก็จะช่วยลดใยแมงมุมพวกนี้ ซึ่งค่าที่เปลี่ยนได้จะมีตามนี้

    • Length คือ ระยะดึงเส้นกลับไปในหัวฉีด มีหน่วยเป็นมิล
    • Z Hop when Retracting คือ ระยะความสูง ที่ให้หัวฉีดยกขึ้นในขณะ ที่ดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีด
    • Z Hop Type คือ รูปแบบการยกหัวฉีด ว่าจะให้ยกแบบตรงๆ หรือจะให้ยกแบบให้ม้วนหัว หรือจะให้ยกแบบขึ้นเอียงๆ
    • Retraction Speed คือ ความเร็วในการดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีด
    • Detraction Speed คือ ความเร็วในการดันเส้นลงมา เพื่อทำการฉีดงานต่อ
    • Travel Distance Threshold คือ ระยะทางเดินหัวพิมพ์ตอนไม่ได้พิมพ์ ที่จะให้การ Retraction ทำงาน

    สำหรับค่า Travel Distance Threshold จะเป็นเหมือนสวิตช์สำหรับสั่งให้การ Retract หรือไม่ Retract ตัวอย่าง ถ้าตั้งไว้ 2 mm หมายความว่า ถ้าหัวพิมพ์เปลี่ยนหรือย้ายไปจุดอื่น โดยที่เคลื่อนที่ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ไม่ต้องทำการ Retract ให้หัวพิมพ์เคลื่อนที่ได้เลย แต่ถ้าเกิน 2 มิล เมื่อไหล่ ให้หัวพิมพ์ทำการดีงเส้น หรือ Retract ก่อน การย้ายจุดพิมพ์

    • Retract On Layer Change คือ บังคับให้ทำการดีงเส้นหรือ Retraction กลับทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเลเยอร์ หรือเริ่มพิมพ์ชั้นใหม่
    • Wipe While Retracting คือ การสั่งให้หัวฉีดทำการกระฉากหัวออกจากตัวงาน ก่อนที่จะทำการ Retract
    • Wipe Distance คือระยะทางที่หัวฉีดจะกระฉากออกไป ว่าให้ห่างออกจากงานที่พิมพ์กี่มิลลิเมตร
    • Retract Amount Before Wipe คือ สั่งให้ดีงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีด ก่อนที่จะทำการกระฉากหัว หน่วยเป็น % จากค่า Length ที่ตั้งไว้
    การเปลี่ยนค่าสามารถเลือกได้ ว่าจะเปลี่ยนค่าอะไร เพื่อให้เหมาะสมกับเส้นแต่ละชนิด

    ไม่ต้องกลัวว่าเปลี่ยนแล้วจะ กลับมาใช้ค่าเดิมไม่ได้ เพราะตัวโปรแกรมจะมีเครื่องหมาย Return ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงค่า ถ้าต้องการกลับค่ามาตรฐาน ให้กดตรงเครื่องหมาย Return ทีนึง

    แทบการตั้งค่า Advance

    สำหรับแทบนี้จะเป็นในส่วนของ Filament G-Code ซึ่งจะมีให้ใส่ 2 ส่วนได้แก่ Filament Start G-Code และ Filament End G-Code

    G-Code ในส่วนนี้จะเฉพาะสำหรับ เส้นพลาสติก เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเครื่อง จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการสลับเส้นพลาสติก หรือมีการใช้ AMS ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีการปรับหรือใส่ค่า เพิ่มเติมในส่วนนี้

    การบันทึกค่าและการตั้งชื่อ

    หลังจากที่เปลี่ยนค่า ตามที่ต้องการแล้ว จำเป็นต้องบันทีก และตั้งชื่อ เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ในครั้งหน้า สามารถทำได้โดยกดปุ่ม บันทึกในกล่อง สีเหลี่ยม

    1. ตั้งซื่อตามที่ต้องการ
    2. เลือก User Preset
    3. กดปุ่ม OK เพื่อทำการบันทีก
    Updated on 07/09/2023

    Was this article helpful?

    Related Articles