สำหรับโปรแกรม Bambu Studio นั้นเป็นโปรแกรม Slicer สำหรับใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติ ยี่ห้อ Bambulab ซึ่งได้กับทุกรุ่น ตัวโปรแกรมเป็น Open source ซึ่งหมายความว่า สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะลงในคอมพิวเตอร์ กี่เครื่องก็ได้ ตัวโปรแกรมที่ให้เลือกลงทั้งระบบ Window และ Mac
นอกจากจะใช้กับเครื่อง Bambulab ได้แล้ว ยังสามารถที่จะตั้งค่า เพื่อให้ใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติยี่ห้อ อื่นๆก็ได้ ซึ่งตัวโปรแกรม Bambu Studio ถูกพัฒนา ต่อยอดมาจากโปรแกรม Slicer ที่ชื่อว่า Slic3r
โปรแกรมโหลดได้ที่ไหน
สำหรับโปรแกรม Bambu Studio สามารถโหลดได้ที่ website ของ Bambulab ได้โดยตรง ซี่งจะมีให้เลือกทั้งเวอร์ชั่น สำหรับ Window และ Mac

- เลือก 1 สำหรับลงใน Window
- เลือก 2 สำหรับ Mac OSX
การลงโปรแกรม
สำหรับ Spec ของคอมพิวเตอร์ขั้นต่ำที่ใช้
- Windows 10 or higher
- Mac OS X v10.15 or higher
- Intel® Core 2 or AMD Athlon® 64 processor; 2 GHz or faster processor
- OpenGL 2.0-capable system
- Recommend 8GB RAM, at least 4GB
- 2.0 GB or more of available hard-disk space
หลังจาก Download เสร็จ ก็ให้ลงโปรแกรม ตามขั้นตอนปกติ
เลือก Region หรือที่ตั้งของเครื่อง
หลังจากลงโปรแกรม อย่างแรกที่เจอก็คือ การเลือกที่ตั้งของเครื่อง ตรงนี้แนะนำให้เลือก Asia ถ้าเครื่องอยู่ในเมืองไทย
เลือกรุ่นเครื่องที่ใช้

สำหรับหน้าต่างนี้จะเป็นเการเลือกรุ่นเครื่องและขนาดรูหัวฉีด ให้เลือกเครื่องให้ตรงกับรุ่นที่ใช้ เพราะจะช่วยเป็นการตั้งค่า Preset ต่างๆ ของโปรแกรม ให้เหมาะกับรุ่นเครื่องที่ใช้ สำหรับรูหัวฉีด เครื่องที่ซื้อไปทุกตัว มาตรฐานจะมีขนาดรู 0.4 มิลลิเมตร ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนหัวฉีด ก็ต้องมาเลือกเครื่องเพิ่มเข้าไป
เลือกเส้นพลาสติกที่จะใช้

หลังจากเลือกรุ่นเครื่องเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะให้เลือกเส้นพลาสติก ที่จะใช้ ซึ่งเครื่อง Bambulab สามารถใช้เส้นพลาสติกได้หลากหลายชนิด สำหรับเส้นที่ทางร้านอยากให้เลือกเอาไว้ ก็จะมีเส้นของ Bambu เอง ซึ่งเส้นที่แถมไปกับเครื่อง X1C combo จะมีเส้น Bambu PLA / Bambu PLA-CF และเส้น PLA Support ส่วนเครื่องรุ่น P1 Series ก็จะเป็นเส้น Bambu PLA
สำหรับเส้นยี่ห้ออื่นที่อยากให้เลือกเอาไว้ ก็คือเส้น Polylite และ เส้น Polyterra ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะเป็นเส้นยี่ห้อ Polymaker ซึ่งเป็นโรงงานที่ทำเส้นให้กับ Bambulab
ลงทะเบียนสร้าง Bambu Account
สำหรับหน้าต่างนี้ ทางร้านแนะนำให้สร้างบัญขี กับทาง Bambu เพื่อใช้ผูกเครื่องปริ้น เข้ากับบัญชี เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์ในเรื่องของการ ดูงานผ่านมือถือจากที่ไหนก็ได้ในโลก นอกจากดูงานได้แล้ว ยังมีการแจ้ง Notification เตือนในเรื่องๆต่าง ในกรณีที่เครื่องพิมพ์เจอปัญหาระหว่างทาง เข่น งานหลุดจากฐานปริ้น หรืองานพิมพ์แล้วเสียระหว่างทาง

- กด Login / Register เพื่อลงทะเบียน
- กดปุ่ม Create Account ถ้าต้องการระบุ Email ที่ต้องการลงทะเบียน
- ถ้าไม่อยากระบุ Email ก็สามารถใช้ Email ที่ผูกกับบัญชี Google / Facebook หรือ Apple มาลงทะเบียนก็ได้
นอกจากนั้น การสร้างบัญชี จะเป็นการผูกเครื่องเข้ากับระบบ Cloud ของทาง Bambulab ทำให้สามารถส่งไฟล์งาน จากที่ไหนก็ได้ ช่วยให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น
สำหรับโปรแกรม Bambu Handy นอกจากเอาไว้ดูกล้องที่ติดอยู่ในตัวเครื่องแล้ว ยังสามารถที่จะช่วยให้การตั้งค่าเครื่องทำได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องรุ่น P1 Series ที่ใช้หน้าจอแบบกด
แนะนำคำสั่งในเมนูด้านบน
ในส่วนของ เมนูด้านบนก็จะมีคำสั่งเกี่ยวกับกับการสร้าง Project ใหม่รวมไปถึงการนำโมเดลเข้ามาในโปรแกรม รวมไปถึงการ Export โมเดลออกมา
การเปลี่ยนภาษากับหน่วยที่ใช้ในโปรแกรม
สำหรับโมเดลที่โหลดเข้ามาในเครื่อง จะมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้บางคนอาจจะใช้หน่วยอื่น ก็สามารถมาเปลี่ยนได้ที่เมนูด้านบน โดยการหาเมนูที่ชื่อว่า Setting ใน Mac ถ้าเป็น Window ให้หาคำว่า Preference

- สำหรับเปลี่ยนภาษา
- สำหรับเปลี่ยนหน่วยหรือขนาดที่ใช้ในโปรแกรม
การเลือกเครื่องที่จะใช้และการเพิ่มเครื่อง
ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม Bambu Studio จะต้องเลือกเครื่องที่จะใช้ก่อน ซึ่งถ้าเลือกเครื่องไม่ตรงรุ่น จะทำให้การพิมพ์งานออกมาไม่ดี หรืองานพิมพ์ออกมาไม่สวย
สำหรับเครื่อง X1 Series ถ้าเลือกสลับกับเครื่อง P1 Series อาจจะตัดการทำงานบางฟีเจอร์ออกไป ทำให้ใช้เครื่องได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เวลาเลือกเครื่องตัวฐานปริ้นจะมีการเปลี่ยนแปลง ลองสังเกตุที่ฐานดู ถ้าเป็นรุ่น X1 Series จะมีแถบเส้นฉีดออกมา 4 แถว แสดงขึ้นบนฐาน

ตัวโปรแกรม Bambu Studio สามารถที่จะเพิ่มเครื่องเข้าไปได้ สำหรับคนที่มีเครื่องหลายรุ่น หรือมีการเปลี่ยนหัวฉีดให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนหัวฉีด ก็จะต้องเพิ่มเครื่องเข้าไปให้ตรงกับหัวฉีดที่ใช้

ตัวโปรแกรมสามารถที่จะมาเพิ่มเครื่องที่หลังก็ได้ ในกรณีที่ซื้อเครื่องเพิ่ม หรือมีการเปลี่ยนรูหัวฉีด ก็สามารถที่จะมา add เครื่อง ที่หลังก็ได้ โดยการกดปุ่มรูปเฟือง หมายเลข 1 แล้วเลือกเครื่อง ตามรูหัวฉีดที่ติดตั้ง

การเลือกแผ่นฐานที่จะใช้พิมพ์
เครื่อง Bambulab จะมีแผ่นฐานปริ้นให้เลือก 4 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับเส้นพลาสติกแต่ละแบบ เวลาใช้งาน ต้องเลือกแผ่นฐานให้ถูกกับเส้นที่ใช้

แผ่น Cool Plate

สำหรับแผ่น Cool Plate จะเอาไว้สำหรับพิมพ์เส้นพลาสติก PLA โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเลือกแผ่นนี้ ตัวฐานพิมพ์จะไม่ทำความร้อน และเวลาใช้แผ่นนี้ จำเป็นต้องทากาว ที่ฐานก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เส้น PLA ติดฐานพิมพ์แน่นจนเกินไป สำหรับกาวที่ใช้ สามาถใช้ กาวน้ำ Magigoo ก็ได้
แผ่น Engineering Plate

สำหรับแผ่นนี้เป็นแผ่น Enginering Plate สำหรับพิมพ์พลาสติกวิศวกรรมจำพวก PETG / ABS / เส้นยาง TPU / PP และ เส้น PC เวลาเลือกใช้แผ่นนี้ ตัวฐานทำความร้อนของเครื่องจะทำงาน ให้ตรงกับเส้นที่ปริ้น ซึ่งความร้อนสูงสุดที่ทำ อาจจะสูงถึง 100 องศา ส่วนการใช้งาน ถ้าเป็นเส้น ABS / PP หรือ PC ทางร้านแนะนำให้ทากาวลงบนแผ่น เพื่อช่วยให้พลาสติกยึดติดกับแผ่น ไม่หลุดหรือยกตัว ขึ้นมาระหว่างปริ้น ส่วนกาวที่ใช้ แนะนำเป็นกาว Magigoo ที่มีให้เลือกหลายสูตร ตามเส้นพลาสติกที่ใช้
แผ่น High Temp Plate

แผ่นฐานพิมพ์ High Temp Plate เป็นแผ่นเอนกประสงค์ ที่ใช้ได้กับเส้นเกือบทั้งหมด รวมไปถึงเส้น PLA เวลาใช้แผ่นนี้ ตัวเครื่องจะทำความร้อนที่ฐานด้วย ทำให้งานปริ้นติดแน่นเวลาพิมพ์ แล้วหลุดออกเอกเวลาที่แผ่นเย็นตัวลง และถ้าต้องการให้งานติดแน่นมากขึ้น ก็สามารถใช้ร่วมกับกาวทาฐาน Magigoo ได้อีกด้วย
แผ่น Texture PEI Plate

สำหรับแผ่นสุดท้ายตัวล่าสุดของทาง Bambu จะเป็นแผ่น Texture PEI ที่ใช้การพ่นเคลือบสาร PEI ลงไปบนแผ่นเหล็ก ซึ่งจะแตกต่างจากแผ่นตัวอื่นที่ใช้สติกเกอร์แปะไปบนแผ่น จุดเด่นของแผ่นนี้ คือผิวที่หยาบ เวลางานที่ปริ้นออกมาจะมีผิวด้านล่าง ที่เป็นร่อง เหมือนผิวเปลือกส้ม ตัวแผ่นนี้ สามารถใข้กับเส้น PLA โดยที่เวลาใช้ ตัวเครื่องจะเปิดความร้อนที่ฐาน
การเพิ่มเส้นพลาสติก
ในอนาคตถ้ามีการเพิ่มเส้น ก็สามารถที่จะเข้ามา Add เส้นเพิ่มได้ที่หลัง โดยการกดปุ่มรูปเฟือง หมายเลข 1 แล้วทำการ เลือกเส้นที่จะใช้ สำหรับเส้นพลาสติกแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ “วิธีการเลือกใช้เส้น Filament หรือเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์ 3D Printer”


เส้นพลาสติกในโปรแกรม Bambu Studio สามารถที่จะเพิ่มหรือลบได้ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะ Copy แล้วตั้งค่าเพิ่มเติม เพื่อบันทึกเป็นเส้นใหม่ในโปรแกรม ก็สามารถทำได้
สำหรับเส้นพลาสติกที่โปรแกรมมีมาให้จะเป็นเส้นพลาสติกที่ ทาง Bambulab ได้ทำการทดสอบกับเครื่องพิมพ์ไว้แล้ว ซึ่งจะมีค่าความร้อนของหัวฉีด / ฐานพิมพ์ / ค่า Retration รวมไปถึงการตั้งค่าในส่วนของพัดลมเป่างานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง สามารถเข้าไปดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ ที่หัวข้อ การเพิ่มเส้นพลาสติกและการเปลี่ยนค่าต่างๆ

การเลือก Preset สำหรับการพิมพ์งาน
สำหรับช่องนี้จะเป็นการเลือก ความละเอียดในการพิมพ์ ซึ่งจะเป็น Preset หรือค่าที่โปรแกรมได้กำหนดมาให้แล้ว ทั้งความละเอียดในการพิมพ์ / ปริมาณของ Infill / รูปแบบของ Infill / จำนวนผนังของงาน ซึ่งถ้าตัวเลขยิ่งเยอะ งานจะปริ้นหยาบ และใช้เวลาไม่นาน แต่ถ้าตัวเลขยิ่งน้อย งานก็จะยิ่งละเอียด แต่จะใช้เวลาพิมพ์นาน
ถ้าสังเกตุดีๆ จะเห็นว่า มีความละเอียดที่เท่ากันให้เลือกกันอยู่ แต่จะต่างกันที่คำว่า Standard กับ Strength ซึ่งความต่างของส่วนนี้ ก็คือปริมารและรูปแบบของ Infill หรือโครงสร้างด้านใน และจำนวนผนัง ซึ่งถ้าเลือกเป็น Strength จะเน้นงานพิมพ์ออกมาให้มีความแข็งแรง ซึ่งจะใช้เส้นพลาสติกเยอะกว่า และใช้เวลาพิมพ์นานกว่า

เปิด Mode Advance เพื่อแสดงการตั้งค่าทั้งหมด
ตัวโปรแกรม Bambu Studio เวลาลงโปรแกรมครั้งแรก จะไม่แสดงค่าบางตัว ซึ่งถ้าอยากให้โปรแกรมแสดงทั้งหมด จะต้องเปิดโหมด Advance เอาไว้ ซึ่งโหมด Advance จะมีลูกเล่นและฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อช่วยให้งานพิมพ์มีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงความแข็งแรงที่มากขึ้น กดที่หมายเลข 1 เพื่อเปิดการตั้งค่าแบบ Advance


ค่า Settng ในแทบ Quality (คุณภาพ)
คำว่า Quality แปลเป็นไทย ก็คือ คุณภาพ ดังนั้น แทบการตั้งค่าในช่องนี้ ก็จะเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งจะเน้นเรื่องของความสวยงามเป็นหลัก โดยเฉพาะผิวงานด้านนอก ที่เห็นด้วยตา และสามารถสัมผัสได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องผิวของชิ้นงาน ก็ให้มาเปลี่ยนค่าในแทบนี้ สำหรับรายละเอียดการตั้งค่า สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการตั้งค่าในแทบ Quality”

ค่า Setting ในแทบ Strength (ความแข็งแรง)
ในแทบนี จะเกี่ยวก้บความแข็งแรงของชิ้นงาน ซึ่งจะเกี่ยวกับ Infill หรือโครงสร้างด้านใน และผนังของงาน ว่าจะให้บางหรือหนา ซึ่งการปรับแต่ค่าในช่องนี้ จะเกี่ยวพันกับปริมาณพลาสติกที่ใช้ เพราะถ้างานยิ่งแข็งแรง ก็จะใช้เส้นพลาสติกมากขึ้น รวมไปถึงเวลาที่ใช้พิมพ์ก็จะมากตามไปด้วย สำหรับรายละเอียดการตั้งค่า สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการตั้งค่าในแทบ Strength”

ค่า Setting ในแทบ Speed (ความเร็ว)
งานจะเสร็จเร็วหรือช้า สามารถที่จะมาปรับได้ในแทบ Speed ซึ่งตัวโปรแกรม สามารถที่จะปรับความเร็วในการพิมพ์แต่ละส่วนได้ ส่วนไหนที่สำคัญที่ต้องการโชว์ผิว เช่น ผิวด้านข้าง และด้านบน ด้านล่าง ก็สามารถปรับลดความเร็วลง เพื่อให้ส่วนนั้นออกมาสวย แต่ถ้าส่วนที่อยู่ด้านใน เช่น Infill หรือ support เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น หรือต้องกำจัดทิ้ง ก็สามารถปรับให้พิมพ์เร็วกว่าส่วนอื่นๆได้ สำหรับความเร็วที่ใช้ในโปรแกรมจะมีหน่วยเป็น mm / sec หรือ มิลลิเมตร ต่อ วินาที สำหรับรายละเอียดการตั้งค่า สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการตั้งค่าในแทบ Speed”

ค่า Setting ในแทบ Support (ตัวรองรับ)
โมเดล 3 มิติ ที่มีส่วนยื่น หรือส่วนเกินที่ลอยยื่นออกมาจากตัวโมเดล จำเป็นต้องมีการสร้าง Support หรือตัวรองรับมาค้ำในส่วนที่ลอย เพื่อให้เครื่องสามารถปริ้นงานได้ ซึ่งในแทบนี้ จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการสร้างตัวรองรับ ทั้งในเรื่องของรูปแบบ และระยะห่างของตัว Support และตัวงาน ซึ่ง Support จะแกะง่ายหรือยาก ก็ต้องมาปรับในแทบนี้ สำหรับรายละเอียดการตั้งค่า สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการตั้งค่าในแทบ Support”

ค่า Setting ในแทบ Other (ฟีเจอร์พิเศษ)
สำหรับแทบนี้ จะเป็นฟีเจอร์หรือลูกเล่น ต่างๆ ของโปรแกรม ที่ส่วนใหญ่จะใช้คู่กับ AMS หรือชุดเปลี่ยนเส้นแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงการสั่งพิมพ์งานแบบที่ละชิ้น ที่เรียกว่า Sequential Printing นอกจากนั้น ยังมีฟีเจอร์สำหรับการสร้างผิว Texture บนผิวงานได้ สำหรับรายละเอียดการตั้งค่า สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการตั้งค่าในแทบ Other”

การโหลดโมเดล 3 มิติเข้ามา
การเอาโมเดลเข้ามาในโปรแกรม สามารถทำได้หลากหลายวิธี จะใช้การลาก Icon แล้ววางในโปรแกรมก็ได้ หรือจะกดปุ่ม Add ด้านบนก็ได้ สำหรับนามสกุลของโมเดล 3 มิติที่โปรแกรมรองรับ จะมี .STL / .OBJ / .3MF / .STP / . STEP


สำหรับใครที่ยังไม่มีโมเดล 3 มิติ หรือยังเขียนไม่เป็น แต่อยากจะลองใช้เครื่องปริ้น ก็สามารถทำได้ โดยไปโหลดไฟล์ฟรี ซึ่งตอนนี้มีหลายเว็บมากๆ ทางร้านแนะนำลองเข้าไปเลือกดูได้ที่ “7 เว็บแจกไฟล์ 3D ยอดนิยมในปี 2022” แต่ถ้าต้องการแบบเร็วๆ ในโปรแกรม Bambu Stuido ก็มีไฟล์ตัวอย่าง สำหรับเอาไว้เทสกับเครื่องพิมพ์ได้เหมือนกัน ซึ่งจะมีโมเดลที่มี Shape สำเร็จรูป เช่น กล่องสีเหลี่ยม / ทรงกระบอก / ทรงกลม รวมไปถึงมีไฟล์สำหรับการทดสอบเครื่องปริ้น
วิธีการคือให้ Click เมาส์ปุ่มขวา ตรงพื้นที่ว่าง เลือก Add Primitive แล้วเลือก โมเดลที่ต้องการได้เลย จะเอาเข้ามากี่ชิ้นก็ได้


การเพิ่มจำนวนโมเดล (Clone)
การคัดลอกโมเดล หรือเพิ่มโมเดล ที่เหมือนกัน สามารถทำได้ โดย Click ที่โมเดลที่ต้องการ Copy แล้วกด Mouse ปุ่มขวา หาคำสั่ง Clone โปรแกรมจะมีช่องมาให้ใส่ ว่าต้องการกี่ชิ้น ซึ่งจะมีสูตรคำนวน คือ N+1 เช่นถ้าต้องการ โมเดลทั้งหมด 4 ชิ้น ให้ใส่ 3 เข้าไปในช่อง ตัวโปรแกรมจะ Copy โมเดล ขึ้นมา 3 ตัว รวมกับชิ้นต้นแบบ อีก 1 รวมเป็น 4 ชิ้น


การกลับด้านงานแบบ Mirror
สำหรับฟีเจอร์นี้จะเหมาะสำหรับ งานพิมพ์โมเดลที่เหมือนกัน ต้องต้องการกลับด้านซ้าย ขวา เช่น จะปริ้นตัวครอบกระจกรถ เวลาเอาโมเดลเข้ามา ก็เข้ามาชิ้นเดียว แล้วก็ทำการ Copy แล้วก็กลับด้านโมเดล ก็จะได้โมเดล อีกด้านมาใช้พิมพ์ หรือในกรณีที่จะต้องทำตรายาง ที่ปั๊มตัวหนังสือ ถ้าไม่กลับด้าน เวลาพิมพ์เสร็จแล้ว เอามาปั๊ม ตัวหนังสือก็จะกลับด้าน อ่านไม่ออก ดังนั้น ก่อนปริ้น ก็ใช้ฟีเจอร์ในการกลับตัวหนังสือก่อน แล้วค่อยพิมพ์

การเลือกเส้นพลาสติกที่ใช้ปริ้น
สำหรับคนที่ใช้กล่อง AMS กับเครื่อง Bambu จะสามารถเลือกเส้นที่อยู่ในกล่อง มาใช้ปริ้นได้เลย ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกให้กับการใช้งาน เวลาใช้ก็แค่เลือกในโปรแกรมว่าจะเอา เส้นม้วนไหนพิมพ์ สำหรับวิธีการเลือกเส้นพลาสติก ทำได้โดยการกดที่โมเดล แล้วกด Click เมาส์ปุ่มขวา แล้วเลือกคำสั่ง Change Filament จากนั้นเลือกเส้นที่จะใช้



การเพิ่มฐานปริ้น (Add Plate)
ฟีเจอร์นี้ ถือเป็นฟีเจอร์สำคัญ และมีประโยชน์มากๆ เพราะทำให้การจัดการงาน ทำได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถแบ่งกลุ่มงานปริ้นได้ เหมาะสำหรับงานที่เป็นโปรเจค มีโมเดล 3 มิติประกอบกันหลายชิ้น สำหรับรายละเอียดการแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การเพิ่ม Plate สำหรับการจัดการโมเดลหลายๆ ชิ้น”


การจัดวางงานแบบอัตโนมัติ (Arrange all Object)
ตัวโปรแกรมมีฟีเจอร์ที่จะช่วยจัดวางชิ้นงานให้แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่มีชิ้นงานหลายชิ้นใน แผ่นปริ้นเดียวกัน ซึ่งผู้ใช้ สามารถที่จะกำหนดให้งานที่ถูกวาง จะให้ชิดหรือห่างกันเท่าไหร่ รวมไปถึงให้โปรแกรมคำนวน แล้วจัดวางงานให้ได้เยอะที่สุด ถ้าโปรแกรมไม่สามารถวางงานทั้งหมดบนแผ่นปริ้นเดียวกันได้ ตัวโปรแกรม ก็สามารถที่จะเพิ่ม Plate ให้แบบอัตโนมัติ แล้วนำงานไปจัดวางให้เอง สำหรับรายละเอียดการแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “เจาะลึกการใช้ฟีเจอร์จัดวางงานแบบอัตโนมัติ”


การจัดวางและเคลื่อนย้ายโมเดล (Move)
ตัวโมเดลสามารถที่จะจัดวางตรงตำแหน่งไหนก็ได้ในฐานปริ้น ซึ่งวิธีการย้ายตำแหน่งของโมเดล สามารถทำได้โดย Click เมาส์ปุ่มซ้ายที่โมเดลค้างไว้ แล้วทำการลากโมเดลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ


การหมุนชิ้นงาน (Rotate)
การหมุนโมเดล 3 มิติ สามารถทำได้โดยกดเลือกโมเดลที่ต้องการหมุน และกดปุ่ม Rotate หรือกดปุ่ม R ที่คีย์บอร์ดก็ได้ จะมีแกนหมุน โชว์ขึ้นมา สามารถใช้เมาส์กดค้างไปที่แกนที่จะหมุน แล้วขยับเมาส์เพื่อปรับองศาของตัวโมเดล ถ้าอยากใส่ตัวเลข ก็สามารถป้อนในช่องได้เลย โดยหน่วยที่ใส่จะเป็นองศา สามารถใส่ได้ตั้งแต่ 0-359

การย่อและขยายโมเดล (Scale)
โมเดลที่เอาเข้ามาในโปรแกรม สามารถที่จะย่อและขยายได้ โดยเลือกไปที่โมเดล แล้วกดปุ่ม S หรือจะเลือกไอคอน Scale ที่อยู่ด้านบน ซึ่งการย่อและขยาย ทำได้ทั้งแบบ Freeform คือลาก Mouse แล้วลากเอาเลย ว่าจะให้โมเดลใหญ่หรือเล็กเท่าไหร่ อีกวิธีก็คือใส่ตัวเลขลงไปในช่อง Scale ซึ่งตัวเลขทีใส่ จะใส่เป็นหน่วยมิล หรือจะใส่เป็นหน่วย % ก็ได้

ปกติการขยายหรือย่อโมเดล จะเป็นสัมพันธ์กันคือ ถ้าเปลี่ยนค่าในช่องใด ช่องนึง ค่าในช่องอื่นๆ ก็จะเปลี่ยนไปด้วยให้สัมพันธ์กัน เพื่อให้โมเดลไม่ผิดเพี้ยน แต่ถ้าต้องการให้ย่อ หรือขยายออกด้านใด ด้านนึง ก็สามารถทำได้ โดยเอาเครื่องหมายถูก ออกในช่อง Uniform
กาววางงานแบบเลือก Surface (ใช้บ่อย)
คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่ใช้บ่อยมาก เพราะช่วยให้การวางชิ้นงานลงบนฐานทำได้ง่าย อย่างที่รู้กันว่า งานปริ้น 3 มิติระบบ FDM นั้น ถ้าจะปริ้นให้สำเร็จ ก็ควรที่จะเลือกเอาผิวงานหรือด้านที่มีหน้ากว้างสุดแปะหรือวางไปที่ฐานพิมพ์ เพื่อให้งานติดแน่น ไม่หลุดระหว่างการพิมพ์งาน
ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้การเลือก หน้าที่จะวางพื้นทำได้ง่าย กว่าการใช้คำสั่ง Rotate หรือ หมุน เพราะบางที่การอาจจะไม่แม่น ทำให้ฐานของงานวางพื้นไม่สนิท เวลาพิมพ์อาจจะมีปัญหาได้

เวลาเลือกใช้คำส้งนี้ โปรแกรมจะคำนวนและแสดงหน้า หรือผิวงาน ที่สามารถนำส่วนนั้นไปวางที่พื้น ผู้ใช้ก็แค่เลือกผิวที่ต้องการไปวางพื้น ตัวโปรแกรมก็จะเอาหน้าด้านนั้นลงไปแปะที่พื้นให้แบบอัตโนมัติ
การตัดแบ่งโมเดล 3 มิติ (Cut)
ในบางครั้งโมเดล 3 มิติ ที่โหลดเข้ามาอาจจะมีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่สามารถที่จะปริ้นได้ในครั้งเดียว เลยจำเป็นต้องตัดหรือแบ่งโมเดลออก ซึ่งตัวโปรแกรม Bambu Studio ก็สามารถที่จะทำได้

สำหรับการตัดโมเดลสามารถที่จะได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งตัดเอียง หรือตัดตรง นอกจากนั้นตัวโปรแกรมยังมีฟีเจอร์ ที่พอตัดงานแล้ว ยังสามารถสร้างตัว ดุม หรือตัวเสียบ เพื่อต่อโมเดลกลับเข้าไป เวลาปริ้นงานเสร็จ เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบ สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การตัดแบ่งโมเดลและการสร้างดุม Connector”
การรวมผิวโมเดลโดยใช้วิธี Mesh Boolean
ในบางครั้ง การเอาโมเดล 2 ชิ้น มารวมกัน ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการขึ้นโมเดลใหม่ แต่ก่อนที่จะรวมโมเดล จำเป็นต้องให้ผิวของโมเดลทั้ง 2 ชิ้น รวมเป็นชิ้นเดียวกันก่อน เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้น เวลาปริ้นงานจะมีปัญหา และทำให้งานเสียได้

จริงๆ แล้วฟีเจอร์ Mesh Boolean ที่โปรแแกรมมีมาให้ นอกจากการรวมผิวแล้ว ยังมี แบบแบ่งแยก เอาเฉพาะส่วนที่รวมกัน สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การใช้งานฟีเจอร์ Mesh Boolean”
กาาสร้าง Support หรือตัวรองรับ
ในส่วนของ Support หรือตัวรองรับ นั้นก็เหมือนกับการสร้าง นั่งร้าน ที่ใช้สำหรับสร้างบ้านและสร้างตึก ถ้าไม่มีนั่งร้าน ก็จะไม่สามารถขั้น 2 ชั้น 3 ได้ สำหรับนั่งร้าน เมื่อใช้เสร็จก็ต้องรื้อออก สำหรับการปริ้นงาน 3 มิติ ที่ใช้พลาสติกในการขึ้นรูป การสร้าง Support ถือว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องมี ถ้าอยากรู้ว่า Support เป็นยังไง ลองเข้าไปอ่านบทความนี้ได้ “อยากเล่น 3D Printer ต้องรู้จัก Support”


สำหรับการสร้าง Support ในโปรแกรม Bambu Studio มีให้เลือกหลายแบบ เช่นแบบ Tree Suppport จะเหมาะกับงานโมเดลรูปปั้นหรืองาน Freeform ส่วนแบบ normal จะเหมาะกับงานแบบกล่อง หรืองานวิศวกรรม


การขึ้น Support สามารถทำได้หลายวิธี จะให้โปรแรกมสร้างให้อัตโนมัติเลยก็ได้ หรือจะสร้างเองก็ได้ ซึ่งตัวโปรแกรมจะมีฟีเจอร์ ให้ผู้ใช้ระบายลงบนพื้นผิวโมเดล สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การสร้าง Support แบบกำหนดเอง”
การระบุตำแหน่งยกของหัวปริ้น (Seam)
สำหรับคำสั่งนี้จะเป็นการบอกตำแหน่งให้หัวพิมพ์ยก เวลาเปลี่ยนชั้นเลเยอร์ หรือขึ้นพิมพ์ในชั้นใหม่ ปกติตัวโปรแกรมจะทำเลือกตำแหน่งการยกหัวให้ตามค่ามาตรฐานที่ตั้งมา ซึ่งจะเป็นค่า Alinged หรือ แนวเดียวกัน ซึ่งจึงๆแล้วมีหลายตัวเลือก


งานบางขิ้นที่พิมพ์ อาจจะซีเรียส และไม่อยากให้รอยตะเข็บหรือรอยยกหัวพิมพ์ อยู่ในตำแหน่งที่ Sensitive ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฟีเจอร์ระบุตำแหน่งการยกของหัวพิมพ์ได้ โดยใช้แปรงทาลงบนพื้นผิวโมเดล ในตำแหน่งที่ต้องการ
การเพิ่มข้อความหรือตัวหนังสือลงบนโมเดล
ฟีเจอร์นี้เป็นลูกเล่น ที่ช่วยเพิ่มตัวหนังสือหรือ Text ลงไปบนโมเดล 3 มิติ ซึ่งสามารถที่จะปรับแต่งตัวหนังสือได้ ตั้งแต่ รูปแบบ Font ตัวหนังสือ ขนาด รวมไปถึง ตำแหน่งที่วาง ว่าจะวางแบบโค้งตามโมเดล หรือจะวางแบบตรง ก็ทำได้ สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การสร้างตัวหนังสือ ลงบนโมเดล”

การระบุเส้นพลาสติกให้กับโมเดล
สำหรับเครื่อง Bambulab ที่ติดตั้ง AMS หรือตัวเปลี่ยน สลับเส้นแบบอัตโนมัติ ก็จะสามารถใช้ฟีเจอร์ Color Painting เพื่อที่จะระบุเส้นพลาสติก ที่จะใช้พิมพ์ในแต่ละตำแหน่ง หรือในแต่ละโมเดลก็ได้ สำหรับการสลับสีเส้น ตัวโปรแกรมจะคำนวนและสร้างโค้ด ที่ใช้เปลี่ยนเส้นให้แบบอัตโนมัติ

ในฟีเจอร์ Painting จะมีเครื่องมือในการลงสีให้เลือกหลายแบบ เพื่อช่วยให้การใส่สี ทำได้ละเอียดมากขึ้น สามารถที่จะเลือกเป็นทั้งชิ้น หรือจะเลือกเฉพาะส่วนก็สามารถทำได้ สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การพิมพ์งานหลายสีด้วยกล่อง AMS”
การดูไฟล์งานประกอบที่ Assembly มาแล้ว
สำหรับฟีเจอร์หรือเครื่องมือนี้จะช่วยแยกไฟล์งานที่มีหลายส่วน หรือหลายชิ้นออกมา เพื่อที่จะทำการระบุเส้นพลาสติก ที่จะใช้ เมื่อกดเข้ามาในเครื่องมือนี้ จะมีแทบสไลด์ที่เขียนว่า Explosion เมื่อเลื่อนลูกศร ก็จะเป็นการแยกชิ้นงานออกมา ในกรณีที่ มีชิ้นงานหลบอยู่ด้านใน หรือมองไม่เห็น ก็สามารถเลื่อนลูกศร ในส่วนของ Section View เพื่อผ่าโมเดล เข้าไปดูด้านใน ถ้าจะออกจากเครื่องมือนี้ ให้กดปุ่ม Return ที่อยู่มุมซ้ายด้านบน สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การะบุเส้นพลาสติกให้กับชิ้นงานที่ซับซ้อน”


การใช้ Flushing volume เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณการ ฉีดเส้นทิ้ง (Purge)
เวลาที่พิมพ์งานหลายสี ตัวเครื่องจะมีการฉีดเส้นทิ้งออกมา เพื่อเคลีย์สีด้านในหัวฉีด ซึ่งบางครั้ง การล้างสีที่อยู่ด้านใน อาจจะน้อยไป ทำให้สีเส้นที่ฉีดออกมาที่งาน เกิดอาการเพี้ยน สีไม่ตรง กับเส้นพลาสติกที่ใส่ ทำให้ งานออกมาไม่สวย ซึ่งอาการนี้ จะเกิดกับเส้นที่เปลี่ยนจากสีอ่อนไปเป็นสีเข้ม เช่น สีขาว ไปเป็นสีดำ ถ้าฉีดทิ้งออกมาน้อย ตัวเส้นก็จะกลายเป็นสีเทาตัวโปรแกรม Bambu Stuido จะมีเครื่องมือให้ปรับตัวเลข เพื่อให้เหมาะกับเส้นที่ใช้

นอกจาก Flushing Volume ที่อาจจะช่วยลดปริมาณการฉีดเส้นทิ้ง ได้แล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดการฉีดเส้นทิ้งได้เหมือนกัน ก็คือการปิด หรือยกเลิกการใช้ Prime Tower



สำหรับ Prime Tower จะเป็นโมเดล ที่โปรแกรมสร้างให้อัตโนมัติ เวลาปริ้นหลายสี ซึ่งข้อดีคือ ช่วยทำให้แน่ใจว่า สีที่ฉีดออกมานั้น เป็นสีของเส้นจริงๆ แต่ข้อเสียของการมี Prime Tower ก็คือ ใช้เส้น Filament มากขึ้นรวมไปถึงใช้เวลาในการพิมพ์เพิ่มขึ้น สำหรับคนที่ตั้งค่า Flushing Volume ดีแล้ว อาจจะไม่ต้องใช้ Prime Tower ก็ได้ ก็สามารถไปปิด คำสั่งนี้ได้ในแทบ Other
การใช้คำสั่ง Split part เพื่อแยกโมเดลที่มาเป็นชิ้นเดียว
เครื่องมือตัวนี้จะช่วยแยกไฟล์งานที่มาเป็นไฟล์เดียว แต่มีชิ้นส่วนประกอบมาด้วยหลายๆ ชิ้น ให้แยกออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการปริ้น รวมไปช่วยให้การระบุเส้นพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ทำได้ง่ายขึ้น สำหรับการแยกชิ้นส่วนจะใช้คำสั่ง Split to Object โดยจะต้องเลือกโมเดลก่อน แล้วถึงจะกดปุ่มได้


การดูทางเดินหัวพิมพ์ในหน้า Preview
หลังจากที่กำหนดค่าการพิมพ์ แล้วกดปุ่ม Slice ตัวโปรแกรม จะนำค่าต่างๆ ที่ได้ตั้งเอามา มาสร้างเป็นทางเดินหัวพิมพ์ ให้หัวพิมพ์ฉีดงานขึ้นมาเป็นรูปโมเดล 3 มิติ ซึ่งในหน้านี้ จะมีข้อมูลที่บอกทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณเส้น Filament ที่ใช้ปริ้นงาน / เวลาในการปริ้น / รูปแบบทางเดินหัวพิมพ์ สำหรับรายละเอียดการใช้งานแบบเจาะลึก สามารถดูได้ที่ “การตรวจเช็คทางเดินหัวพิมพ์ก่อนสั่งปริ้นงาน”

- ปุ่ม Preview
- กล่องแสดงข้อมูล ปริมาณเส้นและเวลาที่ใช้ปริ้น (สามารถเปลี่ยนโหมด เพื่อดูค่าอื่นๆ ได้)
- แทบสำหรับดูการพิมพ์ในแต่ละ Layer
- แทบสำหรับดูการเดินของหัวพิมพ์ ใน Layer นั้นๆ

ในหน้า Preview สามารถที่จะใส่ฟังค์ชั่น Pasue หรือหยุดชั่วคราว รวมไปถึงคำสั่งเปลี่ยเส้น โดยการเลื่อนแถบด้านข้าง ไปยังตำแหน่งความสูงที่ต้องการแล้วคลิ๊ก Mouse ปุ่มขวา ตรงเครื่องหมารูป +


การส่งไฟล์งานเพื่อสั่งปริ้น
หลังจาก Slice โมเดลและเช็คทางเดินหัวพิมพ์ผ่านหน้า Preview เรียบร้อยแล้ว ถ้าทุกอย่างดูแล้วโอเค ทั้งในเรื่องของเวลา และปริมาณเส้นที่ใช้ ก็สามารถที่จะส่งไฟล์ไปปริ้นที่เครื่องได้เลย ซึ่งเครื่อง Bambulab ทุกรุ่น สามารถส่งไฟล์ไปปริ้น แบบไร้สายผ่าน Wifi ได้ หรือจะ Export ไฟล์แล้ว Save ลง SD card เพื่อไปเสียบที่เลือกแล้วกดสั่งปริ้นที่หน้าเครื่องก็ได้
ตัวโปรแกรม Bambu Studio มี Option ในการสั่งปริ้นงานอยู่ 3 แบบด้วยกัน

- Print คือ การส่งไฟล์ไป ปริ้นแบบทันที โดยที่ไม่ต้องเดินไปที่เครื่อง เมื่อเครื่องได้รับไฟล์แล้ว ก็จะเริ่มทำงานเลย ถ้าเลือกข้อนี้ ต้องแน่ใจว่า แผ่นฐานปริ้น ต้องไม่มีงานอยู่ เพราะถ้ามี ตัวแผ่นฐานที่มีงาน ก็จะยกขึ้นแล้วไปชนกับหัวพิมพ์ได้
- Send คือ การส่งไฟล์ ไปรอที่เครื่อง โดยยังไม่ปริ้น ผู้ใช้จะต้องเดินไปที่หน้าเครื่องแล้ว เลือกไฟล์ที่จะปริ้นเองอีกครั้ง
- Export คือ การบันทึกไฟล์ลง Micro SD Card หรือลง คอมพิวเตอร์ แล้วนำ Micro SD card ไปเสียบที่เครื่อง แล้วเลือกไฟล์ที่จะปริ้น ที่อยู่ใน Micro SD Card
การ Connect เครื่องเพื่อควบคุมและดูงานผ่านกล้อง
อย่างที่รู้กันว่า ตัวเครื่อง Bambulab นั้นมีกล้อง และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Network ผ่าน Wifi ทำให้สามารถที่จะเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับโปรแกรม Bambu Studio หรือ App ในมือถือที่ชื่อว่า Bambu Handy ได้ เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถที่จะ Connect เครื่องผ่านโปรแกรม เพื่อเข้าไปดูการทำงานของเครื่องผ่านกล้องได้

- กดปุ่ม Device เพื่อเข้าสู่หน้าต่างดูการทำงานของเครื่อง
- เลือกเครื่องปริ้น ที่ต้องการเชื่อมต่อ
- กดปุ่ม Play เพื่อโหลดภาพจากกล้องเข้ามาดู
- กล่องสำหรับควบคุมเครื่อง ทั้งเรื่องความเร็ว และความร้อนของหัวฉีด
- ดูเส้นพลาสติกที่อยู่ในกล่อง AMS ถ้าไม่มี ก็จะแสดงเป็นเส้นพลาสติกที่ใช้อยู่

ตัวเครื่อง Bambu สามารถที่จะใช้กล้องในการถ่ายวิดีโอแบบ Timelapse ได้ สามารถที่จะเอาไฟล์วิดีโอที่บันทึกผ่านหน้าต่าง Device ได้
