1. Home
  2. Knowledge Base
  3. โปรแกรม Bambu Studio
  4. เริ่มการใช้งาน Bambu Studio

เริ่มการใช้งาน Bambu Studio

โปรแกรม Bambu Studio เป็นโปรแกรม Slicer ที่เอาไว้ใช้คู่กับเครื่อง Bambu Lab ทุกรุ่น ตัวโปรแกรม ถูกออกแบบและต่อยอดมากจากโปรแกรม Slic3R ซึ่งจะมีความคล้ายกันกับ โปรแกรม Prusa Slicer แต่จะมีฟีเจอร์ที่เอาไว้ใช้กับเครื่อง Bambu Lab โดยเฉพาะ ตัวโปรแกรม มี Preset การตั้งค่าการพิมพ์ รวมไปถึง Profile สำเร็จรูปของเส้นพลาสติก เตรียมเอาไว้ให้แล้ว

ความต้องการขั้นต่ำของระบบ Computer

  1. Window 10 หรือ สูงกว่า
  2. Mac OS X V10.15 หรือสูงกว่า
  3. หน่วยประมวลผล Intel® Core 2 or AMD Athlon® 64 processor; 2 GHz or faster processor
  4. OpenGL 2.0 หรือดีกว่า
  5. หน่วยความจำขั้นต่ำ 4 GB แต่แนะนำให้ใช้ 8 GB
  6. พื้นที่เหลือใน Hard Disk อย่างน้อย 2.0 GB

Download และติดตั้งโปรแกรม

สามารถเข้าไปดู Link Download และการติดตั้งพร้อมลงทะเบียนได้ที่ Link นี้

เริ่มใช้งาน Bambu Studio

ลงทะเบียนสร้าง Account

แนะนำให้ Log In ด้วย Account ที่สร้างกับทาง Bambu เพื่อที่จะได้ใช้โปรแกรมได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวเครื่องที่ลงโปรแกรมและเครื่องพิมพ์ จะต้องต่อ Net เป็น Account เดียวกัน

การ Log in จะช่วยให้สามารถที่จะสั่งพิมพ์งานเก่า ผ่านทาง App Bambu Handy ในมือถือได้

สำหรับคนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนสร้าง Account กับ ทาง Bambu Lab สามารถที่จะไปสร้าง Account ได้ผ่านทาง App Bambu Handy ได้ อ่านวิธีการลงทะเบียนได้ที่ Link นี้

สร้างโปรเจค

ให้กดสร้างปุ่ม “New Project”

เปิดหรือ Load ไฟล์ที่ต้องการ

สำหร้บโมเดล 3 มิติ ที่ต้องการนำมาใช้กับโปรแกรม Bambu Studio แนะนำให้เป็นไฟล์ที่มีนามสกุล .STL / .OBJ และ .3MF ซึ่งถ้าใครยังเขียนโมเดลไม่เป็น ก็สามารถลองเข้าอ่านบทความนี้ “7 เว็บแจกไฟล์ 3D ยอดนิยมในปี 2022” เพื่อไปเลือกโมเดลที่จะมาลองพิมพ์กับเครื่องได้

หลังจากได้ไฟล์โมเดล 3 มิติ ที่จะทดลองพิมพ์แล้ว ให้มองไปด้านบน แล้วกดปุ่ม เพื่อนำไฟล์ที่จะพิมพ์เข้ามาในโปรแกรม Bambu Studio

เลือกรุ่นเครื่อง / เส้นพลาสติก / ความละเอียด

หลังจากเลือกโมเดล ที่จะพิมพ์แล้ว ต่อไปก็ต้องเลือกรุ่นเครื่องที่จะใช้ รวมไปถึงเส้นพลาสติก ซึ่งตรงนี้ต้องเลือกให้ตรงกับเส้นที่ใส่ในเครื่อง เพราะถ้าเลือกผิด อาจจะทำให้หัวฉีดตันได้ นอกจากเลือกเส้นแล้ว ตัวโปรแกรม ยังมี Preset ให้เลือก สำหรับการพิมพ์ ว่าจะพิมพ์ให้สวยและแข็งแรง หรือจะพิมพ์ให้หยาบ เพื่อให้ได้งานเร็ว

เลือกจากในกรอบสีแดง เรียงลำดับจาก บนลงล่าง
  1. เลือกเครื่องที่จะใช้ในช่อง “Printer” ซึ่งเครื่องที่มีให้เลือก จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าโปรแกรมในตอนแรก
  2. ในกล่อง “Filament” ให้เลือกเส้นพลาสติกที่จะใช้พิมพ์ ซึ่งพลาสติกตัวนี้จะต้องกันกับที่ใส่ในเครื่อง ถ้าเลือกผิด หรือใส่ไม่ตรง อาจจะทำให้หัวฉีดตันได้
  3. ในส่วนของ “Process” อันนี้จะเป็นการเลือก ความละเอียดและความแข็งแรงของชิ้นงานที่จะพิมพ์ออกมา ซี่งจะเป็น Preset ทีทางโปรแกรม ได้สร้างไว้ให้แล้ว สำหรับการเลือกให้ ถ้าตัวเลขยิ่งน้อย งานพิมพ์ย่ิงละเอียดแต่จะใช้เวลานาน ตรงกันข้าม ถ้าตัวเลขยิ่งเยอะ งานพิมพ์ก็จะเสร็จไว แต่ก็จะเห็นเป็นรอยชั้นๆ บนตัวงาน

จ้ดวางท่าทางในการพิมพ์

ในส่วนนี้ จะเป็นส่วนทีสำคัญที่สุดของการใช้เครื่องปริ้น 3 มิติ ที่ใช้การฉีดพลาสติกในการขึ้นรูป เพราะการวางชิ้นงาน จะเป็นตัวกำหนด เวลาในการพิมพ์​ รวมไปถึงความแข็งแรงของชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จ ซึ่งหลักการในการวางงาน สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ 3D Printer ระบบ FDM มาก่อน แนะนำให้เอาหลักการนี้ไปใช้

เอาหน้างานที่มีพื้นที่ผิว เยอะทีสุด วางที่ฐาน เพื่อช่วยให้งานยึดติดแน่น ไม่หลุดออกระหว่างพิมพ์

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ ลองเข้าไปอ่านบทความ “8 ขั้นตอนที่ถูกต้องในการใช้งาน เครื่องปริ้น 3D Printer” เพื่อให้เข้าใจในรายละเอียดของการวางงาน และก็ความละเอียดให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้วางชิ้นงานได้ถูกต้อง

กดปุ่ม Slice สร้างไฟล์พิมพ์

หลังจากที่เลือกเส้นพลาสติก และค่าการพิมพ์ รวมไปถึงจัดท่าทาง ของงานเรียบร้อยแล้ว ก็ให้กดปุ่ม “Slice” สีเขียว ที่อยู่ด้านบนซ้ายของโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม Bambu Studio เอาค่าต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ มาทำเป็นไฟล์ สำหรับสั่งงานให้เครื่องปริ้น ทำงานขึ้นมา

กระบวนการ Slice จะใช้เวลาในการคำนวน โดยขึ้นอยู่กับ โมเดล และความละเอียด ซึ่งถ้าไฟล์ที่โหลดเข้ามามีขนาดใหญ่ ก็อาจจะทำให้การ Slice ใช้เวลานาน นอกจากนั้น การคำนวน ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Computer ที่ใช้งานอีกด้วย

หลังจากกดปุ่ม Slice สีเขียว ตัวโปรแกรม ก็จะทำการเปลี่ยนหน้าจาก หน้าต่าง Prepare ไปที่หน้าต่าง Preview ซึ่งจะมีแถบแสดงสีแบบ Histrogram ปรากฎขี้น ตรงมุมขวาบน ซึ่งแถบแสดง HIstrogram จะแสดงทางเดินของหัวพิมพ์ โดยแบบเป็นสี และจะบอกเวลา และปริมาณของพลาสติกที่จะใช้พิมพ์ โมเดล

เวลาในการพิมพ์ที่แสดงออกมานั้น ค่อนข้างตรงกับเวลาพิมพ์จริง รวมไปถึง ปริมาณเส้นพลาสติกที่ใช้ ก็ตรง ซึ่งสามารถนำไปคำนวนเป็นต้นทุน ในการปริ้นได้

ส่งงานไปพิมพ์ผ่าน WLAN หรือ SD Card

การส่งไฟล์หลังจาก Slice ผ่านโปรแกม สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่ง วิธีที่สะดวกที่สุด คือส่งผ่านระบบไร้สาย Wireless LAN แต่ตัวเครื่องปริ้น กับ Computer จะต้องอยู่ในวง Lan เดียวกัน แต่ถ้าไม่สะดวก หรือตัวเครื่องไม่ต่อ WLAN ก็สามารถ Save ไฟล์ลงบน Micro SD Card แล้วสั่งพิมพ์ที่หน้าเครื่องได้

สั่งผ่าน WLAN

สำหรับคนที่ใช้ WLAN สามารถกดปุ่ม “Print” ที่อยู่ขวามือด้านบนสุด เมื่อกดปุ่ม จะมีหน้าต่างซ้อนขึ้นมา และโชว์รูปโมเดล รวมถึงบอกเวลา และปริมาณพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ซึ่งในหน้าต้างนี้ ตรงช่อง “Printer” จะมีชื่อเครื่อง ที่อยู่ในวง LAN แสดงขึ้นมา ถ้าไม่แสดง ให้กดปุ่ม “Refresh” หนึ่งครั้ง

ชื่อเครื่องที่แสดง สามารถทำการเปลี่ยนได้ ผ่านโปรแกรม Bambu Handy หรือจะผ่านหน้าต่าง Device ในโปรแกรม Bambu Studio การเปลี่ยนชื่อจะช่วยให้แยกแยะเครื่องได้ ในกรณึที่มีเครื่องปริ้นหลายตัว

หลังจากเลือกเครื่องที่จะใช้สั่งพิมพ์ได้แล้ว ยังสามารถที่จะเลือกให้เครื่องทำการ Calibrate ก่อนพิมพ์ก็ได้ ซึ่งตรงนี้ สามารถติ๊กออกได้ ถ้าไม่ต้องการ แต่แนะนำให้เปิดไว้ดีกว่า หลังจากเลือกทุกอย่างที่ต้องการแล้วให้กดปุ่ม “Send” ตัวโปรแกรม ก็จะทำการส่งไฟล์ ไปที่ เครื่อง และเครื่องก็จะเริ่มทำงานในทันที หลังจากที่ส่งไฟล์เสร็จ

เครื่อง Bambu Lab ทุกรุ่นตอนนี้ สามารถ ถ่ายวิดีโอ Timelapse เก็บไว้ใน Micro SD card ได้ ซึ่งสามารถเลือกเปิดปิดได้ในหน้าต่างนี้

พิมพ์งานผ่าน Micro SD Card

ในกรณ๊ที่ไม่ได้ต่อ WLAN ก็สามารถสั่งงานเครื่องให้พิมพ์ผ่าน Micro SD Card ได้ โดยให้เลือกลูกศรลง ที่ตรงปุ่ม “Print” จะมี Drop Down List ที่เขียนว่า “Export Sliced File” ให้เลือกคำสั่งนี้ แล้วกดปุ่ม 1 ครั้ง ตัวโปรแกรมก็จะโชว์หน้าต่าง สำหรับให้บันทึกไฟล์ ซึ่งตรงนี้ ก็ให้เลือก Drive ที่จะบันทึกเป็น Drive ของ Micro SD Card ที่เสียบไว้ที่คอมพิวเตอร์ จากนั้นให้กด Save

ไฟล์ที่บันทีกและส่งไปที่เครื่อง Bambu Lab จะเป็นไฟล์ที่ใช้นามสกุล .3mf ซึ่งเป็นนามสกุลใหม่ล่าสุด ที่ใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติ ซึ่งนามสกุล .3mf จะคล้ายกับ Zip ไฟล์ ที่ใช้บีบอัดข้อมูล ซึ่งด้านในไฟล์ .3mf จะบรรจุข้อมูล ทางเดินของหัวพิมพ์ / รูปภาพที่แสดงบนจอ Touch Screen และค่าค่างๆ ที่จำเป็น

เครื่องปริ้นจะแสดงรูปที่บันทึกเอาไว้ในไฟล์ .3mf

หลังจากบันทีกไฟล์ลง Micro SD Card เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำไปเสียบที่เครื่องปริ้น แล้วเลือกรูปงานที่แสดงขึ้นมา และสั่งให้เครื่องปริ้นทำงาน

ดูการทำงานผ่านโปรแกรม

หลังจากที่เครื่องปริ้นเริ่ม พิมพ์งาน ผู้ใช้ สามารถที่จะ Remote เข้าไปดูกล้อง และการทำงานของเครื่องได้ ผ่านโปรแกรม Bambu Studio ซึ่งจะอยู่ในหน้าต่างที่ชื่อว่า “Device” ซึ่งในหน้านี้ สามารถที่จะสั่งหยุดเครื่องชั่วคราว จนไปถึงยกเลิกการพิมพ์ก็ได้ รวมไปถึงการปรับความร้อนหัวฉีด ฐานพิมพ์และความเร็วในการปริ้น ก็สามารถที่จะปรับได้ ผ่านหน้าต่างนี้

Updated on 14/07/2023

Was this article helpful?

Related Articles