การปริ้นงานที่ละชิ้น จะเหมาะกับเส้นพลาสติกที่พิมพ์ยากๆ หรือพลาสติกที่มีใยเยอะ อย่างเส้น TPU รวมไปถึงเส้นพลาสติกที่มาราคาแพง อย่าง เส้นไนลอน หรือเส้น PC
การพิมพ์งานที่ละชิ้น จะช่วยลดใยแมงมุม และช่วยให้งานพิมพ์แข็งแรงมากขึ้น เพราะไม่มีการทิ้งช่วงรอนานเกินไป ทำให้เส้นพลาสติกหลอมละลายติดกันเป็นเนื้อเดียวมากขึ้น ซึ่งเหมาะมากสำหรับ พิมพ์พลาสติกวิศวิกรรม อย่าง ไนลอน หรือ ไนลอนผสมคาร์บอร์ไฟเบอร์
ข้อจำกัดของการปริ้นงานที่ละชิ้น
ไม่ใช่มีแต่ข้อดี การปริ้นงานที่ละชิ้น ก็มีข้อเสียเหมือกันคือ วางชิ้นงานบนแผ่นได้จำนวนน้อยลง เพราะว่าจะต้องมีการเผื่อพื้นที่ให้หัวพิมพ์วิ่ง ซึ่งถ้าไม่มี หัวพิมพ์ ก็จะไปชนกับงานที่พิมพ์เสร็จแล้ว ทำให้งานหรือหัวฉีดเสียหายได้
นอกจากต้องเผื่อพื้นที่รอบหัวพิมพ์แล้ว ยังต้องเพื่อเรื่องความสูงของชิ้นงานอีกด้วย เพราะการใช้งานฟีเจอร์นี้ อาจจะต้องจำกัดเรื่องความสูงของชิ้นงานด้วย เพราะถ้างานปริ้นสูงเกินไป เวลาปริ้นเสร็จ ตัวฐานก็จะยกขึ้นมา เพื่อจะเริ่มพิมพ์ชั้นต่อไป ซึ่งถ้างานสูงมากเกิน ก็จะทำให้ชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จ ชนเข้ากับแกนของหัวพิมพ์ แต่ถ้ามีงานสูงที่ต้องการพิมพ์แบบที่ละชิ้นก็สามารถทำได้ แต่ต้องจัดลำดับการพิมพ์ให้งานที่สูงสุดอยู่ลำดับสุดท้าย และควรวางไว้ด้านหลังของเครื่อง

การจัดลำดับการพิมพ์งาน
สำหรับการปริ้นงานแบบ by object หรือ Sequencial สามารถที่จะลำดับการพิมพ์งานได้ โดยการเลื่อนงานที่ต้องการพิมพ์ชิ้นแรก ให้อยู่ด้านบนสุด
