สำหรับโมเดล 3 มิติบางชิ้นมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่พิมพ์ ทำให้โปรแกรม Bambu Studio ไม่สามารถที่จะทำไฟล์ได้ วิธีแก้คือ การตัดโมเดล ให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อให้สามารถวางอยู่ในพื้นที่ในการพิมพ์ได้ นอกจากนั้นการตัดชิ้นงาน ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ การตัดเพื่อให้ได้พื้นที่เรียบ สำหรับวางลงบนฐานพิมพ์
ตัวโปรแกรม Bambu Studio ก็จะมีเครื่องมือ ที่ช่วยในการตัดโมเดล โดยใช้ Plane ที่สามารถเลือกและหมุนได้
วิธีการตัดโมเดล 3 มิติ
สำหรับคำสั่งที่ใช้ตัดโมเดล จะอยู่ด้านบนของโปรแกรม Bambu Studio หรือจะใช้ Shortcut โดยการกดปุ่ม C เพื่อเรียกฟังค์ชั่นการตัด ก่อนเรียกใช้ฟีเจอร์ Cut ต้องกดเลือกชิ้นงานโมเดลที่ต้องการจะตัดก่อน

ปรับ Plane เพื่อเลือกมุมหรือแนวการตัด
ทำการปรับ Plane ซึ่งสามารถที่จะหมุน หรือขยับ Plane ไปตรงตำแหน่งที่ต้องการตัดได้ โดยทำได้ 2 วิธีคือ ใส่ตัวเลขความสูงลงไปในช่อง Height หรือมุมที่ต้องการหมุนลงในช่อง Rotation หรือจะใช้ เมาส์ไปกดค้างไว้ตรงลูกศรที่ปรากฎขึ้นที่โมเดล แล้วทำการลากเมาส์ก็ได้ จะเป็นการหาตำแหน่งแบบ Freeform

ใช้ Mouse ลากเป็นเส้นเพื่อเลือกแนวตัด
อีกวิธีในการเลือกแนวตัด ก็ตือการใช้เมาส์ลาก แต่ก่อนที่จะลากเมาส์ จำเป็นต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้ พร้อมกับลากเมาส์ จะมีเส้นประปรากฏเป็นแนวตัว และตัว Plane ก็จะปรากฏตรงตำแหน่งตัดตรงนั้น

เลือกชิ้นงานที่ต้องการหลังตัด (Perform Cut)
สำหรับการตัดงานทุกครั้ง ตัวงานจะแบ่งเป็น 2 ชิ้น ดามแนวของ Plane ซึ่งก่อนที่จะกดปุ่ม Perform Cut เพื่อยืนยัน ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกได้ว่า จะให้เก็บงานชิ้นไหนไว้ ซึ่งจะมีกล่องให้เลือก

- Upper Part Keep: ตัดแล้วเก็บชิ้นบนไว้
- Upper Part Place On Cut: ตัดแล้วเก็บชิ้นบนไว้แล้วเอาด้านที่ถูกตัดวางไว้ที่พื้น
- Upper Part Flip: ตัดแล้วเก็บชิ้นบนไว้ แล้วให้ Flip เอาค้านตรงข้ามแนวตัดวางไว้บนพื้น
- Lower Part Keep: ตัดแล้วเก็บชิ้นล่างไว้
- Lower Part Place On Cut: ตัดแล้วเก็บชิ้นล่างไว้แล้วเอาด้านที่ถูกตัดวางไว้ที่พื้น
- Lower Part Flip: ตัดแล้วเก็บชิ้นล่างไว้ แล้วให้ Flip เอาค้านตรงข้ามแนวตัดวางไว้บนพื้น
ตัดชิ้นงานเป็น Object หรือ Part
สำหรับฟีเจอร์นี้ จะเป็นการตัดงานแล้วแยกออกมาเป็นอีกโมเดล ซึ่งจุดเด่นของการตัดงานแบบนี้ จะช่วยให้กำหนดได้ ว่าชิ้นงานที่ตัดแบ่งออกมา จะให้ใช้เส้นพลาสติกตัวไหนหรือสีไหนพิมพ์ เหมาะสำหรับคนที่ใช้เครื่องคู่กับกล่อง AMS และต้องการพิมพ์งานหลายสี


การสร้างตัวต่อ Connector
สำหรับงานชิ้นใหญ่ ที่แบ่งตัดออกมา แล้วจำเป็นต้องต่อกลับเวลาพิมพ์เสร็จ อาจจะมีปัญหาในเรื่องของมุมในการต่อ ที่อาจจะทำให้สับสน และบางครั้งรอยที่ต่ออาจจะไปพอดี ตัวโปรแกรม Bambu Studio เลยมีฟีเจอร์ในการสร้าง Connector ซึ่งเป็นการเจาะหลุมลงไปในงานที่ถูกตัดแบ่ง ซึ่งนอกจากจะเจาะหลุมให้แล้ว ยังสร้างตัว Connector เอาไว้เสียบระหว่าง ชิ้นงานที่ถูกตัดแบ่ง


ค่าต่างๆที่กำหนดได้สำหรับการสร้าง Connector
ในการสร้าง Connector ที่เป็นตัวเชื่อม งานที่ตัดแบ่งออกมา จะสามารถกำหนดได้ทั้งรูปร่างของตัว Connector รวมถึง ความลึก และความแน่นเวลาเสียบ สามารถที่จะกำหนดได้หมด

- Type: เป็นชนิดของการเสียบ ถ้าเป็น Plug จะเป็นแบบตรงๆ แต่ถ้าเป็น Dowel จะเป็นแบบหางเหยี่ยว ซึ่งจะแน่นเวลาประกบ แต่ก็จะใส่ยากกว่า ถ้าเลือกเป็น Plug จะสามารถเลือก Style และ Shape ได้
- Style: มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ Prism และ Frustum ซึ่งตัว Prism จะเป็นแบบตรงๆ ส่วนอีกตัวจะเป็นรูปแบบโคนที่ด้านล่างจะกว้างกว่าด้านบน
- Shape: รูปร่างของตัว Connector ว่าจะให้เป็น สามเหลี่ยม / สีเหลี่ยม / หกเหลี่ยม หรือวงกลม
- Depth ratio: มีให้ปรับ 2 ค่า คือความลึกมีหน่วยเป็นมิล ในส่วนที่เป็น % จะเป็นการปรับเรื่องของขนาดให้มีการเผื่อระยะ เวลาเอาชิ้นงานมาประกบกัน ให้ชิดและสนิทพอดี
- Size: ขนาดของตัว Connector ว่าจะให้มีขนาดใหญ่แค่ไหน รวมไปถึงระยะเผื่อที่เป็น % ให้เวลาเสียบแล้วแน่น หรือหลวม
หลังจากกำหนดค่าเสร็จแล้ว สามารถลากเมาส์ มาจิ้มตรงส่วนที่ต้องการให้โปรแกรมสร้าง Connector ซึ่งจะสร้างกี่ตำแหน่งก็ได้ ตัวโปรแกรมก็จะทำการเจาะ และสร้าง Connector ที่เป็นตัวเสียบขึ้นมาด้วย ซึ่งก็จะพิมพ์ไปพร้อมกันกับชิ้นงาน
