ปัญหาและวิธีแก้ไข การใช้งาน 3D Printing
ชิ้นงานหลุดจากฐานระหว่างพิมพ์
งานหลุดจากฐานอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ฐานพิมพ์ไม่ได้ระนาบ ให้ทำการ calibration ใหม่อีกรอบ และทดสอบพิมพ์อีกครับ ถ้าชิดไปให้ปรับระยะหัวฉีดลงเท่ากันทั้ง 4 จุด ถ้าห่างไปให้ปรับระยะหัวฉีดลงเท่ากัน ทั้ง4จุด ระยะที่พอดีคือเส้นชิดกันสม่ำเสมอ ไม่มีร่องและเส้นไม่เบียดกันเกินไป ดังรูป

- มีเศษพลาสติกติดฐานพิมพ์ เป็นแผ่นบางๆแทบมองไม่เห็น หลงเหลือจากการพิมพ์ครั้งก่อน ให้ใช้เกรียงขูดออกให้หมด ก่อนพิมพ์งานครั้งต่อไป
- ความมันจากนิ้วมือหรือจารบี ความมันมีผลทำให้งานพิมพ์ไม่ติดฐาน ดังนั้นควรเลี่ยงการสัมผัสฐานพิมพ์โดยตรงและหมั่นทำความสะอาดชะล้างคราบมัดด้วยแอลกอฮอล์
- ผิวยึดเกาะฐานพิมพ์น้อยเกินไป ให้เปิดใช้งาน Brim หรือ Raft ช่วย หรือเพิ่ม Initial Layer Line Width ขึ้น
- พิมพ์ชั้นแรกเร็วเกินไป ให้ลด Initial Layer Printing Speed ลง
- อุณหภูมิชั้นแรกน้อยเกินไป เพิ่ม Heated Bed Temperature Layer และ Printing Temperature Initial Layer เพื่อให้พลาสติกละลายติดฐานพิมพ์ดียิ่งขี้น
- แผ่นฐานพิมพ์เสื่อม ลอกเปลี่ยนแผ่นฐานพิมพ์เป็นชิ้นใหม่ หรือ เปลี่ยนเป็นแผ่น pei เพื่อการยึดเกาะที่แน่นยิ่งขึ้น
- วัสดุ ABS พิมพ์ไม่ติดฐาน ควรควบคุมอุณหภูมิระหว่างพิมพ์ให้นิ่ง เช่น พิมพ์ในตู้ครอบ เพือลดการหดตัวของพลาสติก
หัวฉีดตันระหว่างพิมพ์
หัวฉีดตันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นfilamentพันกันในม้วน ขนาดเส้นfilamentไม่คงที่ เส้นfilamentหักระหว่างพิมพ์ พัดลมหยุดทำงาน เครื่องอยู่ในที่ร้อนเกินไป เขม่าพลาสติกจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ดังนั้นควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงตามที่กล่าวมาข้างต้นก่อน แล้วจึงแก้ไขอาการหัวฉีดตันได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เช็คให้แน่ใจว่า นำเส้น filament ออกจากหัวฉีดตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง (อุ่นหัวฉีดก่อนใส่/ถอดเส้น filament)
- เช็คให้แน่ใจว่า ได้ตัดปลายเส้น filament เฉียง45องศา พร้อมดัดให้ตรง เพราะถ้าไม่ดัด อาจทำให้เส้น filament ติดระหว่างท่อ ไม่ลงไม่สู่หัวฉีดได้
- อุ่นหัวฉีดให้ร้อน แล้วจึงดึง filament เดิมออกทันที
- ใส่เส้น filament เส้นใหม่ เพื่อดันเส้นเก่าออกมา หากยังไม่สามารถนำเส้นพลาสติกที่ค้างออกมาได้ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

วิธีถอดหัวฉีด 3D Printing เครื่อง snapmaker
- รออุณหภูมิลดลงจนเท่ากับอุณหภูมิห้อง

- ปิดเครื่อง ถอดสาย module และตัว module ออกจากแกน X

- ถอดฝาปิดด้านขวาออก

- ใช้ประแจหกเหลี่ยมขันคลายสกรูที่ยึดหัวฉีด(ไม่ควรขันออกหมด เพราะอาจตกหายได้)

- คลายสกรูด้านล่างก้อนอลูมิเนียม

- ถอด heater และ thermistor ออกจากก้อนอลูมิเนียม

- กดปุ่มสปริงด้านหน้าและถอดชิ้นส่วนหัวฉีดออกมา

- กดปุ่มสปริงด้านหน้าและใส่ชิ้นส่วนหัวฉีดใหม่ลงตำแหน่งเดิม หันก้อนอลูมิเนียมให้ขนานกับด้านข้าง

- ขันสกรูยึดหัวฉีดให้แน่น

- ใส่ heater และ thermistor กลับเข้าที่เดิม ให้ heater โผล่จากก้อนอลูมิเนียมเท่ากันทั้ง 2 ด้าน

- ขันสกรูด้านล่างยึด heater ให้พอตึงมือ อย่าแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้ heater เสียหายได้

- N. ปิดฝาด้านข้าง ขันสกรูยึด

- ยึด module ติดแกน X และเชื่อมต่อสาย module

เชื่อมต่อ USB Port ไม่ได้
- ปิดโปรแกรมที่มีการเชื่อมต่อ port ให้หมด เช่น Cura
- Restart โปรแกรม Snapmakerjs แล้วลองใหม่อีกรอบ
- Restart คอมพิวเตอร์ แล้วลองใหม่อีกรอบ
กดสั่งปริ้นแล้วอุณหภูมิที่สั่งพิมพ์เด้งกลับเป็น 0
- ลองเปลี่ยนเป็น module อื่น เช่น Laser หรือ CNC แล้วกด ON เช็คดูว่าทำงานปกติหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นที่ module 3D Printing
- เช็คดูว่าขณะที่เกิด Error ไฟ LED ด้านหลังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือไม่ ถ้าใช่ แปลว่าการทำงานของ sensor ผิดปกติ
- ติดต่อทางร้าน สยาม เรปแรป เพื่อเปลี่ยนอะไหล่ sensor
Snapmaker profile สำหรับ Cura และ Simplify3D
- หมายเหตุ : หากให้ซอฟแวร์อื่นที่ไม่ใช้ Snapmakerjs แล้วเครื่องเกิดเสียหายขึ้น จะถือว่าสิ้นสุดประกัน
Cura

Start Gcode:
- G28 ;Home
- G1 Z15.0 F6000 ;Move the platform down 15mm
- G0 X-4 Y-1 Z0
- G92 E0
- G1 F200 E20
- G92 E0
End Gcode:
- M104 S0
- M140 S0
- ;Retract the filament
- G92 E1
- G1 E-1 F300
- G28 X0 Y0
- M84


Simplify3D
Download ไฟล์ .fff ได้ ที่นี่