การสร้าง G-code และ สั่งพิมพ์
วิธีสร้าง G-code
- Download โปรแกรม Snapmakerjs ที่ https://snapmaker.com/download/snapmaker1
- เลือกรูปกล่อง(3D Printing G-code Generator)
- กด upload file และเลือกไฟล์3D นามสกุล .stl หรือ .obj หรือ ลากไฟล์มาใส่ก็ได้เช่นกัน
- เคลื่อนย้ายโมเดล ขยายขนาด หรือ หมุน โมเดลตามต้องการ
- Material เลือกวัสดุให้ตรงตาม filament ที่จะพิมพ์ หรือคลิ๊กที่เครื่องหมาย "+" เพื่อเพิ่มวัสดุและแก้ไขค่าต่างๆ
- Diameter คือ ขนาดรูหัวฉีด สำหรับเครื่อง snapmaker original 1.0 คือ 1.75 mm
- Flow คือ ปริมาณพลาสติกที่ดันออกมาขณะพิมพ์ หากต้องการปรับจูนให้เนื้อพลาสติกฉีดออกมามากขึ้ันหรือน้อยลง สามารถแก้ไขได้ที่ช่องนี้
- Printing Temperature คือ อุณหภูมิที่ใช้พิมพ์งาน
- Printing Temperature Initial Layer คือ อุณหภูมิชั้นแรก (ควรสูงกว่า Printing Temperature ประมาณ 5-10 °C)
- Final Printing Temperature คือ อุณหภูมิก่อนงานพิมพ์เสร็จ
- Has Heated Build Plate คือ ฐานความร้อน กดติ๊กถูกเมื่อต้องการใช้งาน
- Build Plate Temperature คือ อุณหภูมิฐานร้อน
- Build Plate Temperature Initial Layer คือ อุณหภูมิฐานร้อนขณะพิมพ์ชั้นแรกอุณหภูมิหัวฉีดและฐานความร้อนที่เหมาะสม
PLA : หัวฉีด ~200 °C ฐานพิมพ์ 50-60 °C
PETG : หัวฉีด ~220 °C ฐานพิมพ์ 70 °C
ABS : หัวฉีด ~230 °C ฐานพิมพ์ 80 °C
- Print Settings เลือกการตั้งค่าการพิพม์ที่มีอยู่ หรือ กด Customize เพื่อแก้ไขค่าต่างๆจากเดิมได้ โดยคลิ๊กที่เครื่องหมาย "+"
- Layer Height คือ ความหนาแต่ละชั้นที่ต้องการพิมพ์ ยิ่งน้อยยิ่งเอียด แต่ก็พิมพ์นานขึ้น โดยเครื่อง snapmaker สามารถพิมพ์ได้ตั้งแต่ 0.05-0.3 mm
- Initial Layer Height คือ ความหนาชั้นแรกที่พิมพ์
- Initial Layer Width คือ ความกว้างของเส้นพลาสติกที่ฉีดออกมาบนชั้นแรก
- Wall Thickness คือ ความหนาของผิวพลาสติก
- Top Thickness คือ ความหนาของผิวด้านบน
- Bottom Thickness คือ ความหนาของผิวด้านล่าง
- Infill Density คือ ประมาณความหนาแน่นของโครงสร้างด้านในชิ้นงาน
- Initial Layer Print Speed คือ ความเร็วในการพิมพ์งานชั้นแรก
- Outer Wall Speed คือ ความเร็วในการพิมพ์ผิวพลาสติกเส้นนอก
- Inner Wall Speed คือ ความเร็วในการพิมพ์ผิวพลาสติกเส้นใน
- Travel Speed คือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ย้ายจุดพิมพ์
- Initial Layer Travel Speed คือความเร็วในการเคลื่อนที่ย้ายจุดพิมพ์ในชั้นแรก
- Enable Retraction คือ อนุญาติให้เครื่องดึงกระตุกเส้นกลับเมื่อย้ายจุดพิมพ์
- Retract at Layer Change คือ อนุญาติให้เครื่องดึงกระตุกเส้นกลับเมื่อต้องพิมพ์ชั้นถัดไป
- Retraction Distance คือ ระยะการดึงกระตุกเส้นกลับ
- Retraction Speed คือ ความเร็วในการดึงกระตุกเส้นกลับ
- Z Hop When Retracted คือ การยกหัวฉีดขึ้นเมื่อย้ายจุดพิมพ์
- Z Hop Height คือ ระยะที่หัวฉีดยกขึ้นเมื่อย้ายจุดพิมพ์
- Spiralize Outer Contour คือ เปลี่ยนโหมดการพิมพ์ให้พิมพ์เฉพาะผิวขอบ เป็นลักษณะเกลียว
- Surface Mode คือโหมดที่ยอมพิมพ์ไฟล์งานที่เป็น surface (ไม่มีความหนา)
- Skirt คือ เส้นที่ฉีดทิ้งรอบงาน ก่อนพิมพ์ตัวชิ้นงานจริง
- Brim คือ แผ่นที่ยื่นออกไปรอบๆชิ้นงาน ช่วยเพิ่มการยึดเกาะกับฐานพิมพ์ให้แน่นยึ่งขึ้น
- Raft คือ แผ่นรองพื้นระหว่าง ชิ้นงานและฐานพิมพ์ ช่วยให้นำชิ้นงานออกจากฐานได้ง่ายขึ้น
- Support คือ โครงสร้างที่ฉีดสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับชิ้นงานที่เอียงหรือลอยกลางอากาศ(overhang)
- Support Placement คือ จุดที่ต้องการสร้าง support มารองรับ
- Support Pattern คือ ลักษณะโครงสร้างของ support
- Support density คือ ความหนาแน่นของ support
- Support Overhang Angle คือ มุมองศาที่จะเริ่มมีซัพพอตมารับ
- กด Generate G-code เพื่อสร้าง G-code สำหรับสั่งพิมพ์ และตรวจสอบปริมาณพลาสติกที่ใช้ และระยะเวลาที่พิมพ์ได้จากมุมด้านขวาล่าง แถบด้านขวาสามารถกดเลื่อนดูลักษณะการพิมพ์ได้่
การสั่งพิมพ์
เลือกวิธีการสั่งพิมพ์ มี 2 แบบ คือ พิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ พิมพ์ผ่าน USB Disk

พิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์
- เชื่อมต่อ เครื่อง Snapmaker ผ่านสาย USB

- เลือกสัญลักษณ์ แกนXYZ (Workspace) > Connection > กด Refresh > เลือกPortที่ต่อกับเครื่อง Snapmaker > กด Open

- เมื่อเชื่อมต่อได้แล้ว กลับไปที่เมนูสัญลักษณ์กล่อง(3D Printing G-code Generator)
กด Load G-code to Workspace และสั่งพิมพ์ด้วยปุ่มRun (สัญลักษณ์ปุ่ม Play)


พิมพ์ผ่าน USB Disk
- เสียบ USB Disk กับคอมพิวเตอร์
- กด Export G-code to file และเลือกเซฟลง USB Disk ที่เสียบไปก่อนหน้านี้

- นำ USB Disk ไปเสียบแผงควบคุมเครื่อง snapmaker

- บนจอสัมผัส เลือก Files > เลือกชื่อไฟล์ที่เซฟมา > กด Start

หลังจากนั้นเครื่องจะเร่งอุณหภูมิให้ถึงค่าที่ตั้งในโปรแกรมแล้วเริ่มพิมพ์เองจนจบงาน