fbpx

Docly

เส้นพลาสติกถูกเฟืองกินจนเป็นร่องลึก

Estimated reading: 1 minute

หลักการพิมพ์งาน 3 มิตินั้น เครื่อง 3D Printer จะมีชุดมอเตอร์ที่ใช้ดันเส้นลงมาที่หัวพิมพ์ ซึ่งชุดดันเส้นนี้ ส่วนใหญ่จะมีเฟืองหรือตัวขบที่ถูกกัดเป็นร่อง เพื่อใช้จิกเส้นให้มอเตอร์ดันลงไปที่หัวฉีด ผู้ใช้บางคนอาจเคยสังเกตุว่า ตอนพิมพ์งานนั้น เห็นชุดมอเตอร์ขับเส้น เดินกระตุก ซึ่งถ้าเกิดแบบนี้บ่อยๆขณะพิมพ์ โอกาสที่เส้นพลาสติกจะถูกกินจนเป็นร่อง จะมีมากขึ้น ปัญหาที่เส้นพลาสติกถูกกิน นั้นอาจเกิดได้หลายกรณี

  1. อุณหภูมิที่หัวฉีดต่ำเกินไป ในขณะพิมพ์งาน ที่หัวพิมพ์อุณหภูมิต่ำเกินไป ทำให้เส้นพลาสติกออกมาไม่ดี ตัวมอเตอร์ดันเส้นพยายามจะดันเส้น แต่ออกมาไม่ได้ ก็จะเกิดแรงดันภายในท่อหัวฉีด ซึ่งแรงดันพยายามจะหาทางออก ถ้าออกทางหัวพิมพ์ไม่ได้ ก็จะดันขึ้นด้านบน ทำให้มอเตอร์ดันเส้น เดินย้อนกลับ และดึงเส้นกลับขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าเกิดบ่อยๆ จุดที่ถูกดันก็จะถูกเฟืองหรือตัวขบเส้นกินเนื้อพลาสติกเข้าไปเรื่อยๆ วิธีการแก้ก็คือ ลองเพิ่มอุณหภูมิที่หัวฉีดขึ้นประมาณ 5 – 10 องศา
  2. พิมพ์งานเร็วเกิน ก็สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้ เพราะว่ามอเตอร์ดันเส้น ดันเส้นลงมาเร็วเกิน ลองคิดเล่นๆดูว่า หัวฉีดมีขนาดเล็กมาก มอเตอร์กว่าจะดันเส้นออกมาได้จะต้องใช้กำลังเยอะมาก และข้อเสียของ Stepping Motor คือ จะมีกำลังมากถ้ามอเตอร์อยู่นิ่งๆ แต่จะเสียกำลังถ้ามีการหมุน ยิ่งหมุนเร็ว กำลังยิ่งน้อย ถ้าพิมพ์เร็ว ตัวมอเตอร์ดันเส้นก็ต้องเดินเร็วตาม ทำให้มีกำลังไม่พอในการดันเส้น ดังนั้น ผู้ใช้ลองลดความเร็วในการพิมพ์ดู เช่น ถ้าพิมพ์งานที่ความเร็ว 60 mm/sec ก็ลองลดมาครึ่งหนึ่งแล้วพิมพ์ดู จากนั้นค่อยๆ ปรับความเร็วขึ้นจนกว่าจะได้ความเร็วที่พอเหมาะ หรือไม่ก็ลดความเร็วในการ Retract อย่างเดียวก็ได้ ซึ่งสามารถตั้งค่านี้ได้ในโปรแกรม Slicer
  3. Retraction มากเกิน ก็ทำให้เส้นพลาสติกโดนกินเป็นร่อง อย่างที่พูดเอาไว้ว่า ถ้างานโมเดลที่พิมพ์มีช่องว่างเยอะๆ จะมีการ Retraction ที่มากเกิน เส้นพลาสติกจะถูกดึงเข้าและออกบ่อยๆ จนเกิดอาการเส้นช้ำ หรือเส้นโดนกินเข้าไป เพราะตัวขบเส้น จะกดเส้นลงตรงจุดเดิมซ้ำๆ พอถึงจุดๆหนึ่ง จะโดนกินจนไม่มีเนื้อพอที่จะให้มอเตอร์ดันเส้นลงมาได้ เพราะเส้นพลาสติกมันบาง จนลูกล้อที่กดเส้น กดไม่ถึง ซึ่งปัญหานี้ อาจจะทำให้หัวฉีดตันได้ ส่วนวิธีแก้คือ ลด Retraction ลง ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดเส้นใยเยอะขึ้น แต่ก็ต้องยอม ดีกว่าพิมพ์งานเสีย หัวฉีดตัน 

Leave a Comment