fbpx

Docly

งานพิมพ์มาแล้วมีใยพลาสติก พาดไปมา

Estimated reading: 1 minute

ใครใช้ 3D Printer เคยเจอปัญหานี้แน่นอน คือพิมพ์งานแล้วมีเส้นใยแมงมุม พาดระหว่างตัวงาน ทำให้ต้องมาเก็บงานอีกทีหลังพิมพ์เสร็จ หรือไม่ก็อาจเจอก้อนพลาสติกที่เป็นติ่งเปื้อนที่ตัวงาน พอแกะออกมางานก็เป็นรอย ปัญหาตรงนี้สามารถแก้ได้โดยให้เปิดหัวข้อ Retraction

  1. ระยะทางในการดึงเส้นพลาสติกกลับเข้าไปในหัวพิมพ์นั้น ก็เป็นค่าที่สำคัญ ซึ่งค่าตรงนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวพิมพ์ ซึ่งหัวพิมพ์ที่มีมอเตอร์ดันเส้นติดที่หัวพิมพ์ที่เรียกว่า Direct Drive Extruder นั้นจะมีระยะในการดึงที่สัั้นประมาณ 0.5 – 2.0 มิล ส่วนหัวพิมพ์แบบ Bowden นั้นเป็นหัวพิมพ์ที่ตัวมอเตอร์ดันเส้นกับหัวพิมพ์อยู่ห่างกัน อันนี้จำเป็นต้องมีค่านี้เยอะกว่าแบบ Direct Drive ซึ่งอาจจะมากสุดได้ถึง 15 มิล เพราะตัวเส้นพลาสติกนั้นอยู่ไกลจากมอเตอร์ดันเส้น การหาระยะทางนั้น ผู้ใช้ต้องพิมพ์งานทดลอง โดยการปรับเพิ่มค่านี้ครั้งละ 1 มิลและลองสังเกตุดูว่ามีเส้นใยแมงมุมออกมาหรือไม่ ในขณะที่หัวพิมพ์ย้ายจุดพิมพ์
  2. ความเร็วในการดึงเส้นกลับเข้าไปที่หัวพิมพ์ อันนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะบางครั้งอาจทำให้หัวพิมพ์ตันได้ สำหรับค่านี้นั้น จะอยู่ระหว่าง 20 – 100 mm/s ซึ่งถ้าเร็วเกินก็อาจจะทำให้เส้นพลาสติกเกิดการช้ำได้ เพราะจะมีการดึงและดันเส้นในจุดเดิมบ่อยๆ ทำให้เฟืองหรือตัวดันเส้นกินเนื้อพลาสติก จนทำให้ขนาดเส้นเล็กลง หรือไม่เศษพลาสติก ก้เข้าไปอุดในร่องของตัวดันเส้น เกิดอาการลื่น และไม่สามารถดันเส้นลงมาได้
  3. อุณหภูมิที่ใช้พิมพ์งานสูงเกิน เมื่ออุณหภูมิสูงเส้นจะไหลออกมาง่าย หรือบางครั้งออกมา มากเกินจนไปสะสมที่มุมของหัวฉีด ทำให้เวลาย้ายหัวพิมพ์ ก็จะเกิดเส้นใยแมงมุม ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าระยะและความเร็วในการ Retraction พอดีแล้ว แต่ยังเกิดเส้นใยแมงมุม ก็ลองลดอุณหภูมิหัวฉีดลงประมาณ 5 -10 องศา
  4. อีกสาเหตุของการเกิดใยแมงมุมอาจเกิดจากการเคลื่อนที่ของหัวพิมพ์ที่ยาวเกินไป การพิมพ์งานที่มีลักษณะที่เป็นแบบฝาเปิดนั้น หัวพิมพ์จะมีการกระโดดข้ามฝานั้น ยิ่งถ้าฝาเปิดยิ่งใหญ่โอกาศที่จะเกิดใยแมงมุม ก็มีเยอะขึ้น ถึงแม้ว่าจะตั้งค่า Retraction ดีแล้ว ซี่งในส่วนนี้ ตัวโปรแกรมจะมีหัวข้อให้เลือกว่า ไม่ให้หัวพิมพ์กระโดดข้ามงานแต่ให้เดินกลับในรอยพิมพ์ที่เคยพิมพ์มาแล้ว ซึ่งตรงนี้จะเป็นการบังคับไม่ให้หัวพิมพ์กระโดดข้ามฝาเปิด แต่จะให้หัวพิมพ์เดินตามขอบงานหรือบนเส้น Infill เพื่อที่จะได้ไปยังจุดตำแหน่งเริ่มพิมพ์ต่อไป ซึ่งโปรแกรม Cura จะเรียกหัวข้อนี้ว่า Combing ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะปิดหรือเปิดก็ได้

Retraction คือการดึงเส้นพลาสติกให้กับเข้าไปในหัวพิมพ์ ก่อนที่หัวพิมพ์จะเปลี่ยนหรือย้ายตำแหน่งพิมพ์งาน โดยปกติแล้วการพิมพ์งานหัวพิมพ์ จะมีการเคลื่อนที่ไปพิมพ์งานดังจุดต่างๆ ซึ่งถ้าไม่มี Retraction เส้นพลาสติกก็จะย้อยออกมาตามแรงดึงดูดและความร้อน ทำให้เกิดเป็นใยแมงมุม ซึ่ง Retraction จะเข้ามาแก้ปัญหาในจุดนี้ ซึ่งจะเป็นการบังคับว่า ก่อนที่หัวพิมพ์จะเปลี่ยนตำแหน่งพิมพ์ ให้มีการดึงเส้นพลาสติก กลับเข้าไปในหัวพิมพ์ก่อน แล้วค่อยย้ายหัวพิมพ์

Leave a Comment