fbpx

Docly

งานปริ้นที่มีผนังบาง เกิดช่องว่างระหว่างผนัง

Estimated reading: 1 minute

ผู้ใช้บางคนอาจเคยพบปัญหาที่ว่า ออกแบบชิ้นงานที่มีผนังบาง พอพิมพ์เสร็จ ก็เห็นว่ามีช่องว่างในผนัง ปัญหานี้เกิดมาจากที่หัวฉีดของ 3D Printer นั้นมีขนาดที่ถูกบังคับเช่น 0.4 มิล ดังนั้นเวลาพิมพ์งานถ้า หัวพิมพ์จะเดิน 2 รอบตรงขอบนอกและของในของผนังทำให้เกิดช่องว่างตรงกลาง ซึ่งโปรแกรม 3D Printer จะไม่พิมพ์ช่องว่างตรงนั้นให้ ซึ่งปัญหาตรงนี้สามารถแก้ได้

  1. ปรับขนาดของผนังงานให้ใหญ่ขึ้นหรือไม่ก็ทำให้เท่ากับขนาดของหัวพิมพ์ เช่น หัวพิมพ์มีรูขนาด 0.4 มิล ก็อาจจะเขียนงานให้มีขนาด 0.8 หรือไม่ก็ 1.2 มิล เพื่อบังคับให้หัวพิมพ์เดิน ในขนาดที่พอดีกับรูหัวฉีด แต่ในบางครั้งปัญหานี้ ก็อาจจะแก้ได้ไม่หมด และบางครั้งผู้ใช้ก็อาจไม่ยากแก้ที่ตัวโมเดล ก็อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรม 3D Printer ตัวอื่นเช่น Simplify3D ที่มีฟังค์ชั่นในการเติมเนื้อในช่องว่างระหว่างช่อง ถ้าใครใช้ Simplify3D อยู่ ก็ให้เข้าไปตั้งค่าในแถบ Advance แล้วทำเครื่องหมายในช่อง Allow Gap Fill  when Neccesary ซึ่งถ้าพิมพ์แล้วยังมีปัญหาอยู่ก็ให้เพิ่มค่า Allowed Peremiter Overlap เข้าไปอีก
  2. อีกวิธีหนึ่งก็คือ ใช้วิธีการหลอกโปรแกรม ว่าหัวพิมพ์เรามีขนาดใหญ่ แต่วิธีนี้จะเหมาะกับผนังที่มีขนาดเท่ากันทั้งชิ้นงาน เช่น ผนังหนา 1 มิล หัวฉีดมีขนาด 0.4 มิล ผู้ใช้ก็อาจจะปรับค่ารูหัวฉีดเป็น 0.5 มิล หรือไม่ก็ปรับค่า Flow Rate ขึ้น แต่ถ้าเป็นโปรแกรม Simplify3D ก็อาจปรับค่า Extrusion Width ขึ้นเป็น 0.5

Leave a Comment