EP1. แนะนำโปรแกรม Cura และการติดตั้้งโปรแกรม (Basic)
สำหรับวิดีโอที่ใช้สอนทั้งหมดนั้น จะยกตัวอย่างเป็นเครื่อง Biqu รุ่น B1 สำหรับคนที่ใช้เครื่องรุ่นอื่น ให้ทำการเปลี่ยนรุ่นเครื่องที่ใช้ในโปรแกรม Cura เสียก่อน เพื่อให้ตรงกับเครื่องที่ใช้ ส่วนการตั้งค่าโปรแกรมนั้น สามารถดูวิดีโอทั้งหมดได้เลย
สำหรับลูกค้าที่ซื้อเครื่อง Artillery ไปแล้วอยากใช้โปรแกรม Cura สามารถกดเข้าไปดูการเลือกเครื่องได้จาก Link ด้านล่าง โดยให้เลือกเครื่องที่ตัวเองซื้อไป
- เครื่อง Artillery Hornet
- เครื่อง Artillery Genius Pro
- เครื่อง Artillery Sidewinder X2

โปรแกรม Cura นั้น ถือว่าเป็นโปรแกรม Slicer ยอดนิยมตัวนึง และใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นโปรแกรม ที่สามารถ Download มาใช้ฟรีได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ ตัวโปรแกรม Cura นั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เจ้าของโปรแกรม Cura นั้น ก็คือบริษัท Ultimaker ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต 3D Printer รายใหญ่จากประเทศเนเธอร์แลนด์
สำหรับโปรแกรม Cura นั้นตอนนี้ได้ถูกออกแบบ ให้รองรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หลากหลายยี่ฮ้อ รวมไปถึงยี่ฮ้อ Biqu และ Artillery จากประเทศจีน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกเครื่องและรุ่นได้ จากในโปรแกรม Cura โดยที่ไม่ต้องไปทำการตั้งค่าใดๆ
ตัวโปรแกรม Cura มีให้เลือกใช้ทั้ง Window และ Mac OS ซึ่งสามารถ Download ได้ที่ Note ด้านล่าง
หลังจากที่ลงโปรแกรมเสร็จแล้ว เมื่อทำการเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรก จะมีให้เลือกในส่วนของ ยี่ฮ้อ เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ต้องการใช้งาน ซึ่งตรงนี้ ถ้าใช้เครื่องยี่ฮ้ออื่นให้ คลิ๊กไปที่ Add a non-networked Printer
ซึ่งจะมีรายการเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ โดยโปรแกรมจะทำการเรียงลำดับของยี่ฮ้อเครื่องปริ้น 3 มิติ ตามลำดับอักษร ซึ่งในตัวอย่างจะยกเป็นเครื่อง Biqu รุ่น B1 ที่ติดตั้ง ABL หรือ ตัววัดระดับฐานอัตโนมัติ BL Touch


ผู้ใช้สามารถเข้ามาเพิ่มเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เอง ในกรณีที่มีเครื่องหลายยี่ฮ้อ แต่ต้องการใช้โปรแกรม Cura ในการทำโค๊ด โดยเข้าไปเลือกที่ Setting > Printer > Add Printer
หลังจากที่ได้ทำการเลือกเครื่องเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Add ตัวโปรแกรมจะพามาหน้า Machine Setting ซึ่งเป็นส่วนของการตั้งค่าต่างๆ ของเครื่อง เช่น พื้นที่การพิมพ์งาน กว้าง x ยาว x สูง / จำนวนหัวฉีด / เฟริมแวร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ รวมไปถึงคำสั่ง Start G-code ที่เอาไว้สั่งให้เครื่องทำอะไร ก่อนพิมพ์งาน และ End- G-Code ที่สั่งให้เครื่องทำอะไรหลังพิมพ์งานเสร็จ
ในส่วนตรงนี้ จะมีการแก้ไขก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้มีการปรับแต่งเครื่อง หรือสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติเอง หรือมีความรู้เกี่ยวกับคำสั่ง G-Code ถึงจะแก้ค่าในช่องนี้ได้ ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องไปแก้อะไร เพราะโปรแกรมตั้งค่ามาให้เรียบร้อยแล้ว แค่เลือกยี่ฮ้อและรุ่นเครื่องให้ตรงก็พอ
หลังจากเลือกเครื่องพิมพ์ 3 มิติเรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะพาเข้าสู่หน้าหลัก ซึ่งตรงนี้ ผูัใช้สามารถสังเกตุได้ในส่วนของพื้นที่การพิมพ์ว่า เครื่องที่ใช้อยู่ในโปรแกรม Cura เป็นรุ่นอะไร ถ้าไม่ใช่เครื่องที่เราใช้ ก็สามารถสลับได้
