fbpx

Docly

EP7. การตั้งค่าในส่วนของ Infill Setting ในโหมด Custom (Advance)

Estimated reading: 1 minute

สำหรับ Infill หรือโครงสร้างด้านในชิ้นงาน เป็นส่วนทีสำคัญ สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพราะเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของชิ้นงาน ซึ่งส่วนนี้ผู้ใช้จะสามารถกำหนดได้ทั้งปริมาณและรูปแบบของ Infill

ถ้าพิมพ์ Infill มาก ก็จะใช้เวลาพิมพ์นาน และใช้เส้นพลาสติกเยอะ แต่งานที่ได้ก็จะออกมาแข็งแรง ในทางกลับกัน ทางกำหนด Infill น้อย เวลาพิมพ์งานก็จะเร็วขึ้น พลาสติกที่ฉีดออกมาก็จะน้อยลง ส่วนงานก็อาจจะไม่แข็งแรง เหมาะแค่เอาไปดูรูปทรง ไม่สามารถนำไปใช้จริงได้

ส่วนประกอบของการตั้งค่า Infill จะมีหลายอย่างดังนี้

Infill Density

ปริมาณของโครงสร้างด้านใน ซึ่งในโปรแกรม Cura สามารถตั้งได้ 2 แบบ คือ Infill Desity ที่มีหน่วยเป็น % กับ Infill Line Distance ซึ่ง 2 ค่านี้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการกำหนดก็ควรจะเลือกใช้ตัวใดตัวนึง เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ทั้ง 2 ค่า เพราะถ้าใส่ค่าในช่อง Infill Desity ค่าในช่อง Infill Line Distance ก็จะเปลียนไปเองโดยอัตโนมัติ

ค่าที่ใส่ในช่อง Infill Density จะใส่ได้ตั้งแต่ 0 – 100% ถ้าใส่ 0 จะหมายความว่า ให้พิมพ์งานกลวง ไม่ต้องใส่ Infill แต่ถ้าใส่ 100 ก็จะพิมพ์งานตัน

สำหรับ Infill Line Distance จะให้ใส่ค่าเป็นระยะห่างระหว่างเส้นของ Infill มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าตัวเลขยิ่งน้อย เส้นพิมพ์ Infill ก็จะยิ่งชิดกัน นั้นหมายถึง เส้นโครงสร้างด้านในก็จะเยอะ ในทางกลับกันถ้า ค่าตัวเลขยิ่งเยอะ เส้นที่พิมพ์ Infill ก็จะยิ่งห่าง ถ้ามีการใส่ค่าในช่อง Infill Line Distance ช่อง Infill Desity จะถูกล็อค ไม่ให้ใส่ค่า

Infill Pattern

สำหรับช่องนี้จะเป็นช่อง Drop Down List ที่ให้เลือก ซึ่งจะเป็นรูปแบบโครงสร้างด้านใน ผู้ใช้สามารถเลือกได้ ตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าให้แยกออกมาจะมีด้วยกัน 4 รูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็จะมี Pattern ให้เลือกอีก

รูปแบบ Infill การนำไปใช้งาน

Strong 2D Infill
- Grid
- Triangles
- Tri Hexagon

สำหรับการพิมพ์งานทั่วๆไป

Quick 2D Infill
- Lines

สำหรับพิมพ์งานด่วน แต่โมเดลที่ได้จะไม่แข็งแรง

3D Infills
- Cubic
- Cubic Subdivision
- Octlet
- Quarter Cubic
- Gyroid Infill

สำหรับพิมพ์งานที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ

3D Concentric Infill
-Concentric
-Cross
-Cross 3D

สำหรับพิมพ์งานที่ใช้พลาสติกประเภทยางหรือ TPU

Infill Line Multipier

สำหรับค่าในช่องนี้จะใส่เป็นจำนวนเต็ม ซึ่งถ้าเพิ่มตัวเลขเข้าไปเช่น 2 จะหมายความว่าให้พิมพ์เส้น Infill ชิดกัน 2 เส้น ซึ่งก็จะทำให้งานแข็งแรงมากขึ้น

Infill Overlap Percentage

ในส่วนของ Infill Overlap Percentage จะหมายถึง การให้หัวพิมพ์ฉีดเส้น Infill หรือ โครงสร้างด้านใน ให้ไปเกย กับขอบผนังชิ้นงานขึ้นไปกี่ % ซึ่งตัวเลขยิ่งมาก ก็จะทำให้เส้น Infill เชื่อมติดกับผนังได้ดีขึ้น เพราะมีเนื้อพลาสติกออกมาทับกับผนัง แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทะลุออกมาด้านนอก เวลามองชิ้นงานน ก็จะเห็นเป็นลาย Infill ซึ่งโดยปกติ ค่ามาตรฐาน ก็จะอยู่ที่ 30-35 %

Infill Layer Thickness

สำหรับ Infill Layer Thickness จะมีความคล้ายกับการตั้ง Layer Height ที่อยู่ในส่วนของ Qualtiy แต่ค่าในช่องนี้ จะเป็นเฉพาะในส่วนของการพิมพ์ Infill เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว Infill จะอยู่ด้านในงาน เมื่อพิมพ์เสร็จก็จะมองไม่เห็น จึงเป็นส่วนที่สามารถพิมพ์ให้เร็ว หรือลดจำนวนชั้นในการพิมพ์ลงได้ ยกตัวอย่าง ถ้าตั้งความละเอียดในการพิมพ์ หรือ Layer Height ไว้ที่ 0.1 มิล แต่ตั้งค่า Infill Layer Thickness ไว้ที่ 0.2 มิล หมายความว่า หัวพิมพ์จะพิมพ์งานจำนวน 2 ชั้น และค่อยพิมพ์ Infill 1 ชั้น ทำแบบนี้สลับกันไป ทำให้งานพิมพ์เสร็จเร็วขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องพิมพ์ Infill ในทุกๆชั้น

Gradual Infill Step

ในส่วนของช่องนี้คือ Gradual (กราดัว) Infill Step เป็นค่าที่จะช่วยลดเวลาในการพิมพ์งานลง โดยไปลด Infill ในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เหมาะสำหรับงานที่มีผิวบนกว้าง ซึ่งค่าตัวนี้จะไปสัมพันธ์กันกับ Infill Density ที่ใส่ไป หลักการใช้งานก็คือ Infill ที่อยู่ด้านล่าง ไม่จำเป็นต้องมีให้เยอะ เท่ากับ Infill ที่อยู่ด้านบน ที่มีหน้าที่ต้องมารองรับผิว Solid ที่พิมพ์ปิดทึบ ซึ่งถ้าลด Infill อาจจะทำให้ผิวด้านบนปิดไม่สนิท ดังนั้นการใช้ Grudal Infill จะมาช่วยตรงจุดนี้ ยกตัวอย่าง ใส่ Infill Density เป็น 20% แล้วใส่ค่า Gradual Infill Step เป็น 2 จะหมายความว่า ให้เลเยอร์ที่อยู่ด้านล่างพิมพ์ Infill ที่ 10% ซึ่งมาจาก 20% หารด้วย 2 พอพิมพ์งานใกล้ๆถึงผิวด้านบน ให้เริ่มเพิ่ม Infill ไปให้ถึง 20% ซึ่ง Infill ปริมาณนี้ ก็จะทำให้ผิวด้านบนปิดได้สนิท

Leave a Comment