fbpx

Docly

EP3. ลำดับขั้นตอนในการใช้งานโปรแกรม Cura (Basic)

Estimated reading: 1 minute

หลังจากที่ได้เรียนรู้ส่วนประกอบของโปรแกรม Cura และการใช้ Mouse แล้ว ต่อไปจะมาเรียนรู้ลำดับขั้นตอนในการใช้โปรแกรมกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

Prepare

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนแรก สำหรับการเตรียมโมเดล 3 มิติ ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้ใช้สามารถทำการปรับเปลี่ยนท่าทางการวางชิ้นงาน รวมไปถึง การหยืด ย่อ ขยาย รวมถึงหมุนโมเดล เรียกได้ว่าเป็นการจัดท่าท่างในการพิมพ์

การจัดวางและท่าทางในการพิมพ์งานนั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด สำหรับการใช้งานเครื่องปริ้น 3 มิติแบบ FDM เพราะ ท่าทางในการพิมพ์จะเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จ / ความเร็วในการพิมพ์ และปริมาณพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ซึ่งท่าทางในการพิมพ์นั้น ไม่สามารถที่จะสอนหรือบอกได้ว่า ท่าไหนจะพิมพ์ได้ดีที่สุด อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นตัวสอน

ในส่วนของการใช้งานใน แถบ Prepare นอกจากการจัดท่าท่างแล้ว ยังสามารถที่เอางานเข้ามาเพิ่ม เพื่อพิมพ์พร้อมกัน หรือจะ Copy งานตัวเดิม ออกมาหลายๆชิ้น ในโปรแกรม Cura จะเรียกการ Copy โมเดลแบบนี้ว่า Multiple Selected Model ซึ่งวิธีการใช้งานก็ให้กด โมเดล 3 มิติที่จะทำการ Copy แล้วกด Ctrl+M จะมีช่องให้ใส่จำนวนชิ้นงานที่ต้องการ Copy ซึ่งสูตรในการ Copy ของโปรแกรม Cura คือ N – 1 เช่น ถ้าต้องการ 5 ชิ้นให้ใส่ 4 เพราะเวลาโปรแกรม Copy เสร็จ จะนับรวมโมเดลตัวที่เป็นแม่แบบสำหรับการ Copy ด้วย

ซึ่งการจัดวางชิ้นงานนั้น สามารถให้โปรแกรม Cura ทำการวางงานให้แบบอัตโนมัติ โดยการกดปุ่ม Ctrl + R หรือจะ Click ขวาที่เมาส์ แล้วเลือก Arrange All Model

Preview

ในส่วนแถบต่อไปคือ Preview ซึ่งหน้านี้ จะเป็นหน้าสำหรับแสดงผลทางเดินของหัวพิมพ์ หรือที่เรียกว่าหน้า Simulation หรือจำลองทางเดินหัวพิมพ์ ซึ่งหน้านี้จะประกอบไปด้วย

  1. แถบสำหรับเลือกโหมดการ Preview รวมไปถึงดูค่าต่างๆ ในการพิมพ์ ซึ่งจะบอกเป็นสี เพื่อให้ง่ายต่อการดู
  2. แถบสไลด์สำหรับดูการพิมพ์ในแต่ละชั้นเลเยอร์ สามารถใช้เมาส์เพื่อลากขึ้นและลงได้
  3. แถบสไดล์สำหรับดูการเคลื่อนที่ของหัวพิมพ์ในเลเยอร์นั้น สามารถกดปุ่ม Play เพื่อดูการเคลื่อนที่แบบความเร็วจริงๆได้
  4. ช่องสำหรับแสดงเวลาในการพิมพ์งาน รวมถึงปริมาณของเส้นพลาสติกที่ใช้ ที่จะบอกเป็นน้ำหนักและความยาวของเส้น

สำหรับเวลาที่ใช้พิมพ์ ในโปรแกรม Cura ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงซักเท่าไหร่ ซึ่งเวลาที่แสดงจะเร็วกว่า เวลาที่พิมพ์งานจริงๆ ดังนั้นถ้าใครจะใช้เวลาเพื่อไปคำนวนต้นทุน อาจจำเป็นต้องลองจับเวลาจริงๆ เพื่อหาความคลาดเคลื่อนแล้ว ค่อยไปชดเชยหรือบวกเพิ่มเอาเอง ส่วนปริมาณน้ำหนักเส้นพลาสติกและความยาวที่ใช้พิมพ์งาน จะตรงกว่าเวลา เพราะใช้ค่าความถ่วงจำเพาะในการคำนวน ซึ่งเป็นค่าคงที แตกต่างจากเวลา ที่เอาความเร็ว / อัตราเร่ง ในโปรแกรม Cura มาคำนวน ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติบางรุ่น ค่าความเร็วและอัตราเร่งที่ใช้ ไม่ได้มีระบุไว้ในโปรแกรม Cura ทำให้ได้เวลาที่ไม่ตรงกับเครื่อง

Leave a Comment