fbpx

Docly

EP2. อธิบายส่วนประกอบของโปรแกรม Cura และการใช้เมาส์ (Basic)

Estimated reading: 1 minute

ส่วนประกอบของโปรแกรม Cura
ในส่วนของหน้าตาโปรแกรม Cura นั้นจะเป็นรูปแบบเรียบๆ ดูแล้วสบายตา รวมไปถึงยังสามารถที่จะเปลี่ยน Theme ได้ โดยจะมี Dark Mode ให้เลือก ซึ่งอยู่ในเมนู Preference ด้านบน ในหัวข้อ Configure Cura

ในหัวข้อ Configure Cura ทางร้านแนะนำให้เอาเครื่องหมายถูกออกในช่อง Slice automatically ออกด้วย เพื่อเป็นการลดการทำงานของ CPU และทำให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น

โปรแกรม Cura จะประกอบไปด้วย 8 ส่วนด้วยกัน ซึ่งบางส่วน สามารถที่จะ Expand หรือขยายออกมา เพื่อเพิ่มการตั้งค่าได้

  1. เป็น Icon สำหรับโหลดโมเดล 3 มิติ เข้ามาในโปรแกรม Cura
  2. แถบสำหรับเลือกยี่ฮ้อหรือรุ่นเครื่องปริ้น 3D ทีต้องการใช้งาน
  3. แถบสำหรับเลือกเส้นพลาสติกและขนาดรูหัวฉีด ที่ต้องการใช้งาน
  4. ปุ่มสำหรับเปลี่ยนโหมดการทำงานของโปรแกรม Cura ประกอบไปด้วย
    1. Prepare สำหรับปรับแต่งโมเดลเช่น ย่อ/ขยาย ปรับเปลี่ยนตำแหน่งพิมพ์รวมไปถึงการหมุนชิ้นงาน เพื่อจัดท่าทางในการพิมพ์
    2. Preview สำหรับดูเส้นทางการเดินของหัวพิมพ์ และตรวจเช็คเลเยอร์
    3. Monitor สำหรับดูการทำงานของเครื่องพิมพ์ผ่าน USB หรือระบบ Network ซึ่งปุ่มนี้ จะใช้กับเครื่องพิมพ์ Ultimaker เป็นหลัก เครื่องอื่นๆ จะไม่ได้ใช้งานในส่วนนี้
  5. แถบสำหรับเลือก Profile ในการพิมพ์ เช่น ความละเอียด / ปริมาณของ Infill / การสร้าง Support รวมไปถึง Brim
  6. ปุ่มสำหรับโหลด Plug In หรือส่วนเสริมของโปรแกรม Cura
  7. พื้นที่การทำงาน
  8. แถบสำหรับเปลี่ยนมุมมอง พื้นที่การทำงาน

การใช้เมาส์

การใช้เมาส์ในโปรแกรม Cura จะมี 2 ส่วนด้วยกัน โดยที่ส่วนแรก จะเป็นการควบคุม มุมมองของพื้นที่การทำงาน เช่น การแพน การหมุน ส่วนที่สอง จะเป็นในส่วนของการเคลื่อนย้าย หรือปรับท่าทางการพิมพ์งานของโมเดล

การใช้เมาส์สำหรับการปรับมุมมอง

การหมุนกล้อง สามารถทำได้โดยการ Click เมาส์ปุ่มซ้ายค้างไหว แล้วเคลื่อนเมาส์

การแพนกล้อง สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Scroll Wheel ตรงกลางค้างไว้ แล้วทำการเคลื่อนเมาส์ ไปตามแนวที่ต้องการ

การซูมหรือการขยายมุมมอง สามารถทำได้โดย การหมุน Scroll Wheel ถ้าต้องการ Zoom เข้า ให้หมุน Scroll Wheel ออกจากตัว แต่ถ้าต้องการ Zoom ออก ให้หมุน Scroll Wheel เข้าหาตัว สำหรับเครื่อง Mac นั้น การหมุนอาจจะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าในโปรแกรม Mac

การย้ายโมเดล 3 มิติ ทำได้โดย ให้เลือกโมเดลที่ต้องการย้ายโดยกดปุ่ม Mouse ขวา เสร็จให้กดปุ่ม เมาส์ขวา ค้างไว้ แล้วทำการย้ายโมเดลไปยังตำแหน่งพื้นที่พิมพ์ ทีต้องการ

Leave a Comment