fbpx

Docly

EP12. การตั้งค่าในส่วนของ Support ในส่วนของ Custom (Advance)

Estimated reading: 1 minute

Support หรือตัวรองรับ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ที่ต้องเรียนรู้ ถ้าอยากจะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งถ้าใครยังไม่รู้ว่า Support คืออะไร ให้เข้าไปอ่านบทความนี้ก่อน เมื่อทราบแล้วจะได้มาเรียนรู้การตั้งค่า ซึ่งการตั้งค่า Support หรือตัวรองรับ นั้น ถ้าตั้งไม่ดี ก็จะทำให้งานพิมพ์แล้วเสียได้ แต่ถ้าตั้งมากเกินไป ก็จะทำให้เสียเวลาในการพิมพ์ รวมถึงพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ต้องไม่ลืมว่า Support หรือตัวรองรับนั้น เมื่อพิมพ์เสร็จ ก็จะถูกดึงทิ้ง

สำหรับโปรแกรม Cura ในโหมด Custom สามารถเข้าไปตั้งค่าการใช้งาน Support ได้ดังนี้

Generate Support

ช่องนี้จะเป็นการเปิดเลือก ใช้หรือไม่ใช้ Support ถ้าเปิดใช้ ก็จะเอาค่าต่างๆ ที่ตั้งในส่วนของ Support มาใช้ในการสร้างตัวรองรับ

Support Structure

ในส่วนของช่องนี้ จะมีให้เลือก 2 แบบ คือ Normal กับ Tree ซึ่งทั้ง 2 ตัวจะแตกต่างในเรื่องของโครงสร้างของ Support ซึ่งจะเลือกใช้ ก็ต้องดูโมเดล 3 มิติที่จะพิมพ์ด้วย ว่าเหมาะกับแบบไหน

ถ้าเลือกแบบ Normal ก็จะเป็นแบบปกติที่ใช้กันทั่วๆไป ตัวโครงสร้าง Support ก็จะสร้างขึ้นมาเป็นแบบเส้นแบบโครงสร้างถ้าวิ่งไปมาเหมือนฟันปลา ซึ่งจะสร้างตั้งแต่ฐานขึ้นไปเรื่อยๆ ในทางกลับกัน ถ้าเลือกแบบ Tree จะเป็นการสร้างแบบโครงต้นไม้ ซึ่งจะมีฐานราก ในบางจุด แล้วค่อยๆ แตกกิ่งก้านขึ้นไป Support โมเดล

ข้อแตกต่างระหว่าง Normal Support กับ Tree Support

ตัวแปร Tree Support (ตัวรองรับแบบต้นไม้) Normal Support (ตัวรองรับแบบปกติ)
ความเร็ว
พิมพ์ได้เร็วกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างรากฐาน
พิมพ์ได้ช้ากว่า เพราะต้องพิมพ์ฐานราก ให้คลุมโมเดล 3 มิติทั้งชิ้น
ปริมาณพลาสติกที่ใช้
ใช้น้อยกว่า เพราะไม่ต้องพิมพ์ฐานราก
ใช้มากกว่า เพราะต้องฉีดฐานรากออกมาด้วย
ความแข็งแรงของ Support
ความแรงน้อยกว่า ไม่เหมาะกับงานที่มี Overhang หรือ Bridge ยาวๆ
แข็งแรงกว่า เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่มี Overhang และ Bridge ยาวๆ

Support Placement

ค่าในช่องนี้ จะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ Touching Buildplate กับ Everywhere ซึ่งข้อแตกต่างก็คือ ตำแหน่งที่จะให้ Support หรือตัวรองรับ ไปอยู่ในส่วนไหนของ Model ถ้าเลือกเป็น Everywhere ก็หมายความว่า ให้สร้าง Support ในทุกๆส่วน ทุกๆทีของโมเดล ที่มีค่า Overhang หรือมีองศาที่เอียงมากกว่า ค่าในช่อง Support Overhang Angle

ส่วน Touching Buildplate จะเป็นการสร้าง Support ในส่วนที่ยื่นออกมา แล้วเห็นฐานพิมพ์ อธิบายง่ายๆ ก็คือให้มองงาน จากด้านบนลงมา หรือ Top Down แล้วสังเกตุดูว่า ถ้าโมเดลที่พิมพ์ มีส่วนไหนก็แล้วแต่ ยื่นออกมาแล้วเห็นฐานพิมพ์ ให้โปรแกรมทำการสร้างตัวรองรับหรือ Support ในจุดนั้น

Support Overhang Angle

สำหรับค่าในช่องนี้ ถือว่าเป็นค่าที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นตัวบอกตำแหน่ง ว่าจะให้โปรแกรม สร้างตัวรองรับหรือ Support ตรงไหนของโมเดล ซึ่งค่าที่ใส่จะเป็น องศา สามารถใส่ค่าได้ระหว่าง 0-90

ตัวเลขที่ใส่ยิ่งมาก Support ที่โปรแกรมสร้างก็จะยิ่งน้อย เวลาใส่ค่าในช่องนี้ อาจจะให้ลองนึกถึงตัวเอง โดยทียกแขนขึ้นตรงๆ ซึ่งท่านี้ ถ้าเอามาพิมพ์จริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Support ซึ่งก็คือมุมองศาที่ 90 ที่นี้ลองค่อยๆ ขยับแขนลงมาเรื่อยๆ ซึ่งก็คือการลดองศาหรือลดตัวเลขในช่องนี้ เมื่อลดแขนลงจนตั้งฉากกับลำตัว นั้นก็คือค่าในช่องนี้จะมีค่าเท่ากับ 0 ซึ่งถ้าลองนึกดูว่าถ้าพิมพ์งานท่านี้ ยังไงก็ต้องมี Support หรือตัวรองรับ

การกำหนดค่าในช่องนี้ จะไปสัมพันธ์กันกับเวลาที่ใช้พิมพ์งาน และปริมาณพลาสติกที่ใช้ ตัวเลขยิ่งน้อย Support ที่ใช้ก็จะยิ่งมาก และเวลาที่ใช้พิมพ์ก็จะนาน แต่ถ้าตัวเลขในช่องนี้ยิ่งมาก Support ก็จะน้อย งานที่พิมพ์ก็จะเสร็จเร็วขึ้น

Support คือสิ่งสำคัญ สิ่งถ้าให้เปรียบก็เหมือนกันกับการสร้างบ้านที่มาหลายๆชั้น ในการสร้างชั้นบนๆ ของบ้าน จำเป็นต้องมีการสร้างนั่งร้านขึ้นมาก่อน เพื่อที่นั่งร้านจะได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก และเป็นโครงสร้างในการเทพื้น ถ้านั่งร้านมันน้อย ก็อาจจะทำให้ชั้นบนที่กำลังทำอยู่ อาจจะถล่มลงมาได้ ดังนั้น Support ก็เหมือนนั่งร้าน ถ้าไม่อยากให้งานเสีย นั่งร้านก็ต้องแข็งแรง และมีเพียงพอ ไม่อย่างนั้น งานที่พิมพ์จะเสีย และสิ่งที่เสียจะไม่ใช่แค่งานเท่านั้น แต่จะเป็นเวลาและพลาสติกที่เสียไปด้วย

Support Pattern

สำหรับ Pattern หรือ รูปแบบ จะเป็นช่องสำหรับเลือกว่าอยากให้โครงสร้างของ Support หรือตัวรองรับที่จะพิมพ์ออกมา เป็นโครงสร้างแบบไหน ซึ่งโปรแกรม Cura ก็จะมีให้เลือกอยู่หลายรูปแบบ แต่ละแบบก็จะให้ความแข็งแรงและความเร็วในการพิมพ์แตกต่างกัน

Support Density

ในส่วนของหัวข้อนี้ จะเป็นความหนาแน่น หรือปริมาณของ Support ที่จะให้พิมพ์ขึ้นมา ซึ่งค่าในช่องนี้ มีค่าให้ใส่เป็น % ควรจะมีความพอดี ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป ถ้ามากเกินไป ก็จะเสียเวลาพิมพ์ และพลาสติกที่ใช้พิมพ์ รวมไปถึงอาจจะทำให้แกะ Support ออกมายาก แต่ถ้าน้อยเกินไป ก็จะทำให้งานพิมพ์เสียได้ เพราะ Support หรือตัวรองรับที่มาค้ำนั้นไม่พอ ให้งานที่พิมพ์ตรงนั้น อยู๋ในตำแหน่งได้

Support Horizontal Expansion

ค่าในช่องนี้จะเป็นส่วนในการขยายขนาดของ Support ที่มืฐานรากเล็กๆ ในบางครั้งโปรแกรมจะสร้าง Support ที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ เส้นเดียว ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ บางประเภทอาจจะไม่สามารถฉีดพลาสติกออกมาได้ทัน ทำให้ Support ที่เป็นเส้นเล็กๆ ในส่วนนั้นหายไป ทำให้บางจุดของโมเดล ไม่มี Support มารองรับ การใส่ค่าในช่องนี้ จะเป็นการขยายให้เส้นเล็กๆที่พิมพ์ออกมา มีขนาดที่ยาวมากขึ้นกว่าเดิม ตามค่าที่ใส่ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร เมื่อเส้นมีความยาวมากขึ้น ก็จะทำให้การฉีดพลาสติก ออกมานั้นง่ายขึ้น

Support Infill Layer Thickness

ค่าใช่ช่องนี้ ก็คือความห่างระหว่างเลเยอร์ในส่วนของ Support หรือตัวรองรับเท่านั้น อย่างที่รู้กันว่า Support พิมพ์เสร็จแล้วก็ต้องแกะหรือดึงทิ้ง ดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้เยอะ สามารถฉีดหรือพิมพ์แบบสลับชั้นได้ เช่นให้งานพิมพ์ไป 2 ชั้นหรือ 2 เลเยอร์แล้วก็ค่อยพิมพ์ Support ออกมา 1 ชั้น และให้ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนพิมพ์งานเสร็จ ค่าในช่องนี้จะเป็นหน่วย มิลลิเมตร ยิ่งตัวเลขยิ่งเยอะ ระยะห่างของ Support ในแต่ละชั้นก็จะยิ่งห่าง การใส่ตัวเลข ก็ไม่ควรให้เยอะเกินไป ไม่อย่างนั้น Support ที่พิมพ์ต่อกัน จะไม่ติดกัน เพราะระยะมันห่าง ไม่มีเนื้อพลาสติกให้เชื่อมติดกัน

Gradual Support Infill Steps

ในส่วนของ Gradual Support นั้นจะคล้ายๆ กับ Gradual Infill ซึ่งจะมีค่าสัมพันธ์กันกับ Support Density ซึ่งหลักการคือการลด Support ในส่วนที่ไม่จำเป็น เช่นในส่วนของฐานรากด้านล่าง ที่ยังไม่จำเป็นต้องมีมาก ขอแค่เป็นโครง ที่สามารถรองรับ Support ที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้นที่ต้องมารับชิ้นงานที่พิมพ์ ซึ่งค่าในช่องนี้ จะเอาไปหาร กับค่า Support Density เช่น ถ้า Support Density เท่ากับ 20% และค่าในช่องนี้ใส่ 2 นั่นก็หมายความว่า เวลาพิมพ์ฐานรากของโครงสร้าง Support ให้ใช้ความหนาแน่น หรือ Density แค่ 10% พอ แต่เวลาพิมพ์ไปเรื่อยๆ จนใกล้จะถึงในจุดที่จะต้องเริ่มพิมพ์งาน ก็ให้เพิ่มปริมาณของ Support ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 20% หรือค่าที่ใส่ใน Support Density การใช้วิธีนี้ จะทำให้ลดการพิมพ์ Support ลงไป โดยที่ไม่กระทบงานพิมพ์

Enable Support Interface

สำหรับหัวข้อนี้ จะเป็นการสร้างตัวรองรับที่มีความหนาแน่นมากกว่าค่าที่ตั้งใน Support Density เพื่อมารับในส่วนของพื้นโมเดลที่ต้องสัมผัสกับ Support

ส่วนใหญ่แล้ว โมเดลส่วนที่สัมผัสกับ Support หรือตัวรองรับ เวลาแกะหรือดึง Support ออกมาจะไม่สวย บางที จะมีเส้นพลาสติกย้อยลงมา ดังนั้นการสร้าง Support จะต้องคำนึงถึงท่าทางในการวางงาน ซึ่งถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็อาจจะใช้ตัวช่วยบางอย่างในโปรแกรม Cura มาช่วย เช่น Enable Support Roof และ Enable Support Floor

Enable Support Roof คือส่วนของ Support ที่มีโครงสร้างหนาแน่นกว่า Support ในส่วนอื่นๆ ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งด้านบนสุดของ Support ก่อนที่จะถึงพื้นด้านล่างของตัวงาน ส่วนของ Enable Support Floor คือการพิมพ์ Support ที่มีโครงสร้างหนาแน่น ในชั้นแรกหรือชั้นล่างสุด ก่อนที่จะพิมพ์ Support ในความหนาแน่นที่ตั้งไว้ในส่วนของ Support Density ซึ่งข้อดีของ Enable Support Floor คือช่วยให้ Support ไม่ล้ม ระหว่างพิมพ์ เหมาะสำหรับ Support ที่เป็นเส้นเล็กๆ

Leave a Comment