fbpx

Docly

EP10. การตั้งค่าในส่วนของ Travel ในโหมด Custom (Advance)

Estimated reading: 1 minute

ในส่วน Travel จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการเดินหัวเปล่า หรือการเคลื่อนที่ของหัวพิมพ์จากจุดนึงไปอีกจุดนึง โดยที่ไม่มีการฉีดพลาสติกออกมา ซึ่งการค่าที่สามารถกำหนดได้ในส่วนของ Travel ส่วนใหญ่จะเป็นค่าที่ป้องกัน ไม่ให้เกิดใยพลาสติก พาดไปมาระหว่างงาน รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเดินในส่วนที่สำคัญ

Enable Retraction

สำหรับ Retraction นั้นจะหมายถึง การสั่งให้ตัวดันเส้นพลาสติกหรือ Extruder ทำการดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีดก่อน ที่จะทำการย้ายจุดพิมพ์ หรือเปลี่ยนชั้นเลเยอร์ในการพิมพ์ การเปิดใช้งาน Retraction จะช่วยลดการเกิดใยพลาสติก ซึ่งการเปิด-ปิด การใช้งาน Retraction จะขึ้นอยู่กับ งานที่พิมพ์ และพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ยกตัวอย่าง ถ้าพิมพ์เส้นยาง TPU ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งาน เพราะจะทำให้เส้นยางปลิ้นออกมา ระหว่างพิมพ์ แล้วทำให้งานพิมพ์เสียได้

คำว่า Retraction ถือเป็นคำศัพท์อีกคำ ที่ต้องจำเอาไว้เลย สำหรับคนที่จะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จำพวก FDM หรือฉีดพลาสติก เพราะเป็นการอีกนึงการเคลื่อนที่ ที่สำคัญ ถ้าตั้งไม่ดี ก็อาจจะทำให้หัวฉีดตันได้

สำหรับ Retraction นั้นจะหมายถึง การสั่งให้ตัวดันเส้นพลาสติกหรือ Extruder ทำการดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีดก่อน ที่จะทำการย้ายจุดพิมพ์ หรือเปลี่ยนชั้นเลเยอร์ในการพิมพ์ การเปิดใช้งาน Retraction จะช่วยลดการเกิดใยพลาสติก ซึ่งการเปิด-ปิด การใช้งาน Retraction จะขึ้นอยู่กับ งานที่พิมพ์ และพลาสติกที่ใช้พิมพ์ ยกตัวอย่าง ถ้าพิมพ์เส้นยาง TPU ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งาน เพราะจะทำให้เส้นยางปลิ้นออกมา ระหว่างพิมพ์ แล้วทำให้งานพิมพ์เสียได้

Retract at Layer Change

ในส่วนช่องนี้ จะเป็นการสั่งให้ เครื่องทำการ Retract ทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนชั้นในการพิมพ์ ซึ่งการใช้งานฟีเจอร์นี้ ก็จะขึ้นอยู่กับประเภทเครื่องที่ใช้

Retraction Distance

สำหรับค่าในช่องนี้ จะให้ใส่เป็นระยะในการดึงเส้นพลาสติก กลับเข้าไปในหัวฉีด มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร การตั้งค่าในช่องนี้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของ Extruder หรือตัวดันเส้นพลาสติก ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ Direct Drive และ Bowden ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้ค่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ประเภทชุดดันเส้น ค่าที่เหมาะสม
ชุดดันเส้นแบบ Direct Drive
ระยะในการดึงเส้นจะอยู่ที่ 0.5 - 1.5 มิลลิเมตร
ชุดดันเส้นแบบ Bowden
ระยะในการดึงเส้นจะเริ่มตั้งแต่ 5 มิลจนถึง 15 มิลขึ้นอยู่กับความยาวของท่อ

สำหรับตัวดันเส้นแบบ Direct Drive จะเป็นแบบที่ตัวดันอยู่ติดกับหัวฉีดเลย ทำให้ระยะการดึงไม่จำเป็นต้องมาก ส่วนแบบ Bowden Drive นั้น ตัวดันเส้นจะอยู่ห่างจากหัวฉีด โดยจะมีท่อสำหรับส่งเส้นพลาสติก อยู่ระหว่างกลางหัวฉีดและตัวดันเส้น ซึ่งระยะในการดึง ก็จะขึ้นอยู่กับความยาวของท่อ ท่อยิ่งยาวมาก ระยะในการดีงเส้นพลาสติกลับก็มีมาก

ข้อเสียของตัวดันเส้นแบบ Bowden นั้นก็คือ ใยพลาสติก ที่พาดไปมาระหว่างชิ้นงาน ทีหัวฉีดเคลื่อนที่แบบ Travel จะมีมากกว่าแบบ Direct Drive ต่อให้ตั้งระยะให้มากแล้ว ก็อาจจะยังไม่สามารถกำจัดใยพลาสติกพวกนี้ได้ ซึ่งจะต่างกับตัวดันเส้นแบบ Direct Drive แต่ข้อดีของระบบ Bowden Drive นั้นก็คือ หัวฉีดที่มีน้ำหนักเบากว่า ทำให้การเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่แบบหัวเปล่า ทำได้เร็วกว่าแบบ Direct Drive ที่หัวฉีดต้องมาแบบน้ำหนักของมอเตอร์ดันเส้นไปด้วย สำหรับเครื่อง Biqu และ Hornet จะเป็นแบบระบบ Bowden Drive

Retraction Speed

ค่าในช่องนี้ จะเป็นความเร็วในการดึงเส้นกลับเข้าไปในหัวฉีด มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร / วินาที ถ้าค่าในช่องนี้ยิ่งมาก ก็จะทำให้มอเตอร์หมุนเส้นดึงกลับได้ไว และลดการเกิดใยพลาสติก

หลักการในการปรับค่า Retraction ควรจะปรับทีละค่า ไม่ควรปรับพร้อมกันทั้ง 2 ค่า ซึ่งการปรับ ควรเริ่มจาก Retraction Speed ก่อน โดยให้เพิ่มความเร็วขึ้นที่ละ 5 มิลลิเมตร/วินาที และไม่ควรเพิ่มเกิน 15-20 มิลลิเมตร/วินาที เพราะอาจจะทำให้มอเตอร์หลุดเสต็ปได้ ถ้าปรับความเร็วแล้วใยพลาสติกยังไม่ลด ก็ให้ปรับไปที่ตัวเลขเดิม ก่อนปรับ แล้วให้ไปเปลี่ยนค่าในช่องของ Retraction Distance แทน โดยให้เพิ่มที่ละ 0.5 มิลลิเมตร แต่ไม่ควรเพิ่มเกิน 2-3 มิลลิเมตร จากค่าแรก เพราะถ้าปรับเพิ่มมากเกิน อาจจทำให้หัวฉีดตันได้ ถ้าปรับแล้ว ใยพลาสติกยังไม่หาย ค่อยมาปรับ 2 ค่าพร้อมๆกัน โดยเพิ่มตามค่า ที่กำหนดในตอนแรก

Combing Mode

ในส่วนช่องนี้จะเป็นการเลือกจาก Drop Down List ที่โปรแกรม Cura มีให้ ซึ่ง Combing คือการบังคับให้หัวพิมพ์ เคลื่อนที่ในตอน Travel หรือย้ายจุดพิมพ์ ให้อยู่ในตำแหน่ง ที่ไม่ข้ามตัวงานไปมา เพื่อหลีกเลียงการเกิดใยพลาสติกพาดไปมา ซึ่งการเปิดใช้งาน Combing จะทำให้พิมพ์งานได้ช้าลง เพราะโปรแกรมจะทำการหลีกเลี่ยง การเคลื่อนที่ ที่อาจจะทำให้เกิดใยพลาสติก โดยจะเคลื่อนที่ไปในงานแทน ซึ่งตัวเลือกก็จะมีให้เลือก 4 แบบดังนี้

ตัวแปรที่เลือก ความหมาย
Off

ปิดการใช้งาน Combing โดยอนุญาติให้หัวพิมพ์สามารถข้ามตัวงานไปมาได้ ถ้าเลือกโหมดนี้ จะพิมพ์งานได้ไว แต่อาจจะมีใยพลาสติก พาดไปมาระหว่างงานได้

All

เป็นการเปิดใช้งาน Combing โดยที่โปรแกรมจะหาเส้นทางการเดิน Travel ที่สามารถหลีกเลียง การข้ามไป มาระหว่างชิ้นงาน

Not in Skin

เป็นการเปิดใช้งาน Combing โดยที่โปรแกรมจะหาเส้นทางการเดิน Travel ให้หลีกเลี่ยงการเดินข้ามผิวที่พิมพ์แบบปิดทึบ เช่น ผิวด้านบน ซึ่งเมื่อเลือกตัวนี้ ก็จะมีตัวแปรมาให้เลือกอีก 3 อันคือ Avoid Printed Part When Travelling / Avoid Supports When Travel และ Travel Avoid Distance ซึ่ง 2 ค่าแรก จะให้เลือกแบบใช้งาน หรือไม่ใช้ ถ้าใช้ ก็จะให้โปรแกรมหลีกเลื่ยงการเดินข้ามชิ้นงาน และ Support โดยให้อ้อมชิ้นงานไป แทนที่จะกระโดดหรือลากหัวพิมพ์ผ่านงาน ส่วน Travel Avoid Distance จะเป็นในส่วนของระยะความห่างของหัวฉีดและตัวชิ้นงานที่พิมพ์ ว่าจะให้อ้อมและห่างจากงานแค่ไหน ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร

With in Infill

เป็นการเปิดใช้งาน Combing โดยที่โปรแกรมจะหาเส้นทางการเดิน Travel โดยพยายามให้หัวฉีดวิ่งผ่านในโซนของ โครงสร้างด้านในหรือ Infill เท่านั้น ซึ่งเมื่อเลือกตัวนี้ ก็จะมีตัวแปรมาให้เลือกอีก 3 อันคือ Avoid Printed Part When Travelling / Avoid Supports When Travel และ Travel Avoid Distance ซึ่ง 2 ค่าแรก จะให้เลือกแบบใช้งาน หรือไม่ใช้ ถ้าใช้ ก็จะให้โปรแกรมหลีกเลื่ยงการเดินข้ามชิ้นงาน และ Support โดยให้อ้อมชิ้นงานไป แทนที่จะกระโดดหรือลากหัวพิมพ์ผ่านงาน ส่วน Travel Avoid Distance จะเป็นในส่วนของระยะความห่างของหัวฉีดและตัวชิ้นงานที่พิมพ์ ว่าจะให้อ้อมและห่างจากงานแค่ไหน ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร

Z Hop When Retracted

ในส่วนช่องนี้จะเป็นการเปิดใช้งานให้หัวพิมพ์ ทำการยกหัวฉีดขึ้นให้พ้นงาน ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนจุดพิมพ์ ซึ่งเมื่อเลือกตัวนี้ จะช่วยให้ลดการเกิดการชนระหว่างหัวพิมพ์กับชิ้นงาน รวมไปถึงรอยลาก ของหัวฉีดที่อยู่บนผิวงานที่พิมพ์ การเปิดฟีเจอร์นี้ จะมีค่าให้สามารถเข้าไปเลือกได้อีก 2 ค่าได้แก่ Z Hop Only Over Printed Part และ Z Hop Height

สำหรับ Z Hop Only Printed Part นั้นสามารถเลือกเปิดและปิดได้ โดยที่ช่องนี้ จะเป็นการบังคับให้หัวพิมพ์ยกขึ้น ถ้าจะต้องข้ามชิ้นงานที่พิมพ์ ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันกับค่า Avoid Printed Part When Travelling ถ้าโปรแกรม Cura คำนวนแล้วว่า ไม่สามารถที่จะเดินอ้อมชิ้นงานได้ มีทางเดียวที่ไปได้คือ ต้องข้ามชิ้นงาน ก็จะสั่งให้หัวพิมพ์ยกขึ้นก่อน ที่จะข้าม ถ้ามีการเปิดใช้ Z Hop Only Printed Part

ในส่วนของ Z Hop Height อันนี้ คือระยะความสูง ที่จะให้หัวพิมพ์ยกขึ้น ก่อนที่จะเปลี่ยนจุดไปยังจุดพิมพ์จุดอื่น มีหน่วยการใช้เป็นมิลลิเมตร

Leave a Comment