fbpx

Docly

TIP 3: การตั้งค่าการพิมพ์งานที่ละชิ้น (Sequential Printing)

Estimated reading: 1 minute

สำหรับการพิมพ์งานที่ละชิ้นหรือ Sequential Prinitng คือการพิมพ์งานให้เสร็จที่ละชิ้น ซึ่งจะแตกต่างจากการพิมพ์งานแบบปกติ ที่วางงาน 10 ชิ้นบนฐานพิมพ์ เวลาพิมพ์ งานจะเสร็จพร้อมกันทั้ง 10 ชิ้น แต่สำหรับ Sequential Printing นั้นจะต่างออกไป คือ วางงาน 10 ชิ้น หัวพิมพ์จะพิมพ์ชิ้นที่ 1 จนเสร็จแล้วค่อยขยับไปพิมพ์ชิ้นที่ 2 และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนชิ้นงานเสร็จครบทั้ง 10 ชิ้น

สำหรับการใช้ Sequenctial Printing นั้นเหมาะสำหรับที่มีความซับซ้อน มีช่องว่างภายในโมเดลมาก ซึ่งโมเดลประเภทนี้จะทำให้มีการดีงเส้นหรือ Retract มาก จนทำให้เกิดเส้นใยพลาสติกพาดไปมา ระหว่างชิ้นงาน ซึ่งจะเพิ่มโอกาสทำให้หัวฉีดตันได้ เมื่อหัวฉีดตัน ชิ้นงานจะเสียทั้งหมด แต่ถ้าเลือกเป็นแบบ Sequential Printing ถ้าเกิดอาการหัวฉีดตัน งานจะเสียแค่ชิ้นเดียว หรือชิ้นที่กำลังพิมพ์อยู่ จะไม่เสียทั้งหมด

นอกจากนั้นการพิมพ์งานแบบที่ละชิ้น ยังเหมาะสำหรับพลาสติกจำพวกเส้นยาง TPU เพราะจะช่วยลดการ Retract และการเดินข้ามชิ้นงาน ทำให้อัตราในการพิมพ์งานเสร็จหรือสำเร็จสูงกว่าการพิมพ์งานพร้อมๆกันหลายชิ้น

แต่อย่างไร การพิมพ์แบบที่ละชิ้นหรือ Sequential Printing ยังมีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับเครื่อง และโครงสร้างของเครื่อง ซี่งข้อเสียจะมีดังนี้

  1. ไม่สามารถวางชิ้นงานชิดกันได้ ทำให้วางชิ้นงานได้น้อย ต้องมีการกะระยะความห่างของชิ้นงานให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้หัวพิมพ์ชนชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จแล้ว
  2. ต้องเรียงลำดับการพิมพ์ให้ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มพิมพ์ไล่จากด้านหน้าไปด้านหลัง และจากซ้ายไปขวา เพื่อป้องกันไม่ให้แกนขับเคลื่อนหัวพิมพ์ไปชนชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จแล้ว
  3. เครื่องบางรุ่นจะวางชิ้นงานที่มีความสูงมากไม่ได้ โดยเฉพาะเครื่องที่ฐานพิมพ์ขยับ ขึ้น ลงได้ เพราะการเริ่มพิมพ์ชิ้นต่อไป ฐานพิมพ์จะขยับขึ้นไปด้านบนสุดเสมอ ซึ่งถ้าชิ้นงานมีความสูงมาก ก็จะทำให้แกนที่ขับเคลื่อนหัวพิมพ์จะเดินไปชนชิ้นงานและทำให้เครื่องเกิดความเสียหายได้

Leave a Comment