EP6. การเพิ่มความหนาของผนังให้กับชิ้นงาน และการเปลี่ยนรูปแบบ Infill

ก่อนที่จะไปทำการเปลี่ยนค่าต่างในการพิมพ์ ผมแนะนำให้จำคำศัพท์ที่ใช้ในโปรแกรม Slicer เพราะว่ามันจะช่วยให้การค้นหาหรือเปลี่ยนค่าทำได้ง่ายขึ้น เพราะโปรแกรม Creality Slicer นั้นจะมีค่าให้ตั้งเยอะมากๆ บางที่ก็ซ่อนอยู่ ซึ่งถ้ารู้คำศัพท์ ก็สามารถที่จะค้นในกล่องข้อความได้เลย ซึ่งศัพท์ที่ใช้ในโปรแกรม Slicer นั้น จะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน แต่มีความหมายเดียวกัน เช่น Shell ที่แปลว่าผนัง จะใช้ในโปรแกรม Cura แต่ถ้าเป็นโปรแกรม Slic3r ก็จะเรียกว่า Peremiter แทน ซึ่งศัพท์พวกนี้ ทางร้านได้เขียนบทความขี้นมา ถ้าอยากรู้ว่ามีศัพท์ตัวไหนบ้าง สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Link นี้
การเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงาน ซึ่งค่าที่เปลี่ยนบ่อยๆ จะเป็นความหนาของผนังของงาน ยิ่งผนังยิ่งหนา ชิ้นงานก็จะแข็งแรงมากขึ้น เหมาะสำหรับโมเดลที่พิมพ์แล้วต้องเอาไปยึดกับกำแพงหรือผนัง ที่ต้องมีการขันน็อตยึด สำหรับคนที่อยากรู้รายละเอียดที่ลึกขึ้นเกี่ยวกับผนังของโมเดล ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านข้าง หรือผนังด้านบน ด้านล่าง สามารถที่จะเข้าไปดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้
นอกจากผนังแล้วยังมีรูปแบบของ Infill หรือโครงสร้างด้านใน ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ ซึ่ง Infill แต่ละแบบจะให้ความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะใส่ค่าเปอร์เซนต์หรือความหนาแน่นที่เท่ากันก็ตาม ซึ่งรูปแบบของ Infill และรายละเอียดแบบลึกๆ สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้
สำหรับ Gradul Infill เป็นการสร้าง Infill ที่คำนวนจากโมเดล ซึ่งจะแปรผันตามพื้นที่ด้านในของโมเดล และรูปร่าง ผู้ใช้จะไม่สามารถกำหนด ความหนาแน่นของ Infill ได้ ตัวโปรแกรมจะเป็นคนคิดแล้วใส่ให้เอง เหมาะสำหรับปริ้นงานที่ไม่ได้ต้องการความแข็งแรงมากนัก แค่อยากเอามาไว้ดูรูปทรงของงาน