EP5. การสร้าง Support สำหรับงานที่ซับซ้อน รวมไปถึงการเพิ่มจุดยึดให้กับโมเดล

สำหรับการพิมพ์งานหลายๆชิ้นพร้อมกันนั้น สามารถทำได้ แต่ให้ระวังในเรื่องของการวางชิ้นงาน เพราะโมเดลสามารถที่จะวางท้บหรือซ้อนกันได้ โดยที่ไม่มีการแจ้งเตือน ซึ่งผู้ใช้ ต้องคอยเช็คและตรวจสอบก่อนทุกครั้ง แต่ถ้าให้ดี ให้ใช้คำสั่ง Arrange All Model เพื่อให้โปรแกรม ช่วยจัดวางชิ้นงานให้แบบอัตโนมัติ ซึ่งตัวโมเดลจะถูกจัดวางกันให้ชิด และไม่ทับซ้อนกัน

สำหรับในส่วนของ Support หรือตัวรองรับ ภาษาบ้านๆที่ผมใช้จะเรียกว่านั่งร้าน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพิมพ์งาน 3 มิติ เพราะโมเดลบางชิ้น จะมีส่วนยื่น ส่วนเกิน หรือส่วนที่ลอยอยู่กลางอากาศ ซึ่งตรงนี้เรียกว่า Overhang ถ้าไม่มีการสร้าง Support กับโมเดลจำพวกนี้ จะทำให้งานพิมพ์เสีย ดังนั้น ผู้ใช้ต้องคอยดูและตรวจสอบโมเดล หลังจากการ Slice ทุกครั้ง ว่ามีส่วนไหน ที่ลอยกลางอากาศ หรือยื่นออกมามาเกิน ถ้าอยากรู้ว่า โมเดลแบบไหนที่ต้องใช้ Support สามารถคลิ๊กเข้าไปอ่านบทความได้ที่ Link นี้

สำหรับมือใหม่ ผมแนะนำให้เปิด Support ทิ้งเอาไว้เลย ซึ่งตัวโปรแกรมจะทำการคิดและคำนวนเอง ว่าจุดไหนที่ควรจะมี Support และจุดไหนที่ไม่จำเป็น ซึ่งจริงๆแล้ว การตั้งค่า Support สามารถทำได้หลายอย่าง ตั้งแต่การตั้งค่าองศาของมุมเอียง จนไปถึงความหนาแน่นของ Support และช่องว่างระหว่าง Support กับตัวงาน ถ้าอยากปรับแต่งค่าพวกนี้ สามารถเข้าไปดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้
นอกจากการสร้าง Support หรือตัวรองรับแล้ว ยังมีอีกฟีเจอร์ที่จะช่วยให้งานพิมพ์สำเร็จ ซึ่งโปรแกรม Creality Slicer จะเรียกในส่วนนี้ว่า Adhersion ซึ่งตัว Adhersion นั้นค่าปกติที่โปรแกรมจะสร้าง เรียกว่า Brim ซึ่งตัวฟีเจอร์นี้ จะเป็นการขยายพื้นที่ผิวด้านล่างชิ้นงานให้มีขนาดกว้างขึ้น เพื่อเพิ่มเนี้อพลาสติกให้มีจุดยึดกับฐานปริ้นมากขึ้น ซึ่งการใช้ฟีเจอร์นี้จะเหมาะสำหรับโมเดล ที่มีจุดยึดกับฐานน้อย เช่น ขาเก้าอี้ นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ฟีเจอร์นี้กับพลาสติกวิศวกรรม จำพวก ABS / ASA / Nylon และ PC ได้อีกด้วย เพื่อช่วยให้ชิ้นงานไม่หลุดออกจากฐานระหว่างปริ้น

สำหรับงานชิ้นงานบางประเภท อาจจะต้องเพิ่มหรือเปลี่ยนรูปแบบ Adhersion เพื่อให้ชิ้นงานนั้นติดแน่นที่สุด ไม่หลุดระหว่างปริ้น ซึ่งถ้าอยากรู้รายละเอียดในการปรับตั้งค่าก็สามารถที่จะเข้าไปดูวิดีโอและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้