• การถอด / รื้อและประกอบกล่อง AMS

    หลายคนอาจจะเคยปัญหา เกี่ยวกับกล่อง AMS เช่นเส้นติด หรือเส้นโหลดไม่ออก ทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องได้ จริงๆแล้ว ตัวกล่อง AMS ของ Bambulab นั้น สามารถที่จะถอดออกมาเได้ สำหรับปัญหาที่พบเจอบ่อย ก็คือเส้นติดพลาสติกอยู่ในตัวโหลดเส้น ที่เรียกว่า First Stage Feeder ซึ่งตัวนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่จะดันเส้นพลาสติกไปที่หัวฉีดที่อยู่ในเครื่อง ปัญหาที่เจอ คือเส้นพันกันด้านใน ทำให้มอเตอร์หมุนดันเส้นไม่ได้ ถ้าปล่อยไป ก็อาจจะทำให้เฟืองพลาสติก ด้านในแตกได้ นอกจากตัวโหลดเส้นแล้ว ยังมีในเรื่องของท่อเทฟลอน ที่อยู่ด้านใต้กล่อง อาจจะเกิดการสึกหรอ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนท่อใหม่

  • แก้อาการหัวฉีดตันแบบไม่ต้องรื้อหัวฉีด

    ในบางครั้ง พิมพ์งานแล้วอยู่ๆหัวฉีดตัน อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นพันกันในม้วน ทำให้ดึงเส้นลงไปที่หัวฉีดไม่ได้ หรือการใช้เส้นพลาสติกที่ไม่มีคุณภาพ ที่ขนาดเส้น Filament ไม่สม่ำเสมอ มีใหญ่ มีเล็ก ทำให้ เส้นเดินไม่คล่อง อีกปัญหาที่เจอบ่อย ก็คือเส้นสกปรก มีฝุ่นเกาะที่เส้น ต้องไม่ลืมว่า ฝุ่นเป็นของแข็ง ม้นไม่ละลาย ถ้าปล่อยไป ตัวฝุ่นก็จะไปกองที่ปลายหัวฉีด ทำให้รูหัวฉีดเล็กลงเรื่อยๆ และทำให้หัวฉีดตันได้ในที่สุด สำหรับการแก้ปัญหา ทางร้านอยากให้ไล่ทำไปที่ละ Step Step 1. ใช้เข็มแหย่ที่ปลายหัวฉีด เข็มที่ใช้ ทางร้านแนะนำให้เป็นเข็มที่หมอจีน ใช้ฝังเข็ม ซึ่งจะมีก้านยาว ทำให้ทะลวงได้ลึก แต่ถ้าให้เข็มจีนไม่ได้ ก็แนะนำให้ใช้ เส้นลวดเล็กๆ หรือสายกีตาร์เบอร์ 2 แทนก็ได้ ก่อนที่จะทะลวง ให้เปิดหัวฉีดให้ร้อนก่อน ค่าที่แนะนำก็ประมาณ 250 องศา แต่ถ้าเป็นเส้นวิศวกรรม ก็เปิดให้เต็ม Max ของค่าที่เครื่องสามารถทำได้…

  • โปรแกรมสำหรับซ่อมไฟล์ 3 มิติ

    สืบเนื่องมาจากโปรแกรมที่ใช้ออกแบบโมเดล 3 มิติ นั้นมีหลายตัว ทำให้เวลาในการบันทึกหรือ Export ไฟล์มาเพื่อใช้พิมพ์กับเครื่องปริ้น 3D นั้น อาจจะมีปัญหา เช่นผิวของโมเดลมีการกลับด้าน หรือมีส่วนผิวที่ไม่เชื่อมติดกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ บางครั้งดูด้วยตาอาจจะมองไม่เห็น แต่ตัวโปรแกรมจะสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าไปฝืนใช้โมเดลที่เสีย อาจทำให้งานปริ้นออกมาไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ใช้ควรจะตรวจสอบและเช็คโมเดล 3 มิติ ก่อนที่จะทำการปริ้นทุกครั้ง ซึ่งโปรแกรมสำหรับซ่อมและตรวจเช็คไฟล์ 3 มิติ ก็มีหลายตัว ทั้งแบบใช้ฟรี หรือแบบเสียเงิน 3D Builder โปรแกรม 3D Builder เป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน และเป็นโปรแกรมของทาง Microsoft เอง ซึ่งถ้าใครลง Window 10 ไว้ ก็จะมีมาให้ใช้เลย ไม่ต้องไปดาวน์โหลดเพิ่มเติม ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมาก และซ่อมโมเดลได้ดีในระดับนึง แต่คอมพิวเตอร์ต้องเสปคแรงหน่อย ไม่งั้นมีอาการค้างเหมือนกัน ซึ่งโปรแกรม 3D Builder นั้นสามารถซ่อมโมเดลได้ในหลายข้อผิดพลาด…

  • การใช้งานเครื่อง

    สอนการใช้งาน ตั้งแต่การใส่เส้นพลาสติก และคำสั่งต่างบนหน้าจอของเครื่อง รวมไปถึงการหยุดพิมพ์ เพื่อเปลี่ยนเส้น รวมไปถึงการซ่อมบำรุงเครื่อง 1.การใช้งานหน้าจอ Touch Screen 2.การใส่ฐานพิมพ์ ฐานปริ้นของเครื่อง Raise3D รุ่น Pro 2 Series จะเป็นฐานอลูมเนียมที่ติดแผ่น Buildtak ลงไป ซึ่งตัวแผ่นมีการเคลือบสารพิเศษ ช่วยให้พลาสติกติดแน่นเวลาพิมพ์ เมื่อใช้ไปนาน ตัวแผ่น ก็จะเสื่อมสภาพ ผู้ใช้สามารถที่จะซื้อตัวแผ่น มาติดใหม่ได้ โดยลอกแผ่นเก่าออก 3.การใส่เส้นพลาสติกและท่อนำพลาสติก 4.รายละเอียดในส่วนของแทบคำสั่ง Home ขณะพิมพ์งาน 5.การทำงานของเซนเซอร์ เช็คเส้นพลาสติก 6.การเปลี่ยนความร้อนหัวฉีด และความเร็วขณะพิมพ์งาน 7.การปรับฐานพิมพ์ ในกรณีพลาสติกไม่ติดฐาน 8.การหยุดเครื่องชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนเส้น

  • มีรอยเลเยอร์ระหว่างชั้นให้เห็น (SLA)

    ถึงแม้ว่าเครื่องพิมพ์ระบบ SLA จะให้ความละเอียดที่สูงก็ตาม แต่ในบางครั้ง การเกิดรอยเลเยอร์ให้เห็นระหว่างชั้นก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ามีปัญหาลักษณะนี้ ให้ลองแก้ตามวิธีนี้ดูก่อน หมุนชิ้นงานในทุกแกน หลักการในการพิมพ์งานสำหรับเครื่องพิมพ์แบบ SLA หรือเรซิ่น ส่วนใหญ่จะไม่ส่วนที่เป็นหน้ากว้าง หรือมีพื้นผิวใหญ่ลงบนฐานพิมพ์ แต่จะเอามุมเล็กๆ เพื่อช่วยลดแรงดีงระหว่างชิ้นงานกับฟิลม์ ซึ่งการเกิดรอยชั้นระหว่างเลเยอร์ อาจเกิดได้จากแรงดึงที่มีมาก ทำให้เวลาดึงงานขึ้น น้ำยาเรซิ่นเกิดการกระเพื่อม เป็นลูกคลื่น ทำให้เวลาที่เครื่องเริ่มฉายชั้นต่อไป แรงกระเพื่อมของน้ำยาเรซิ่นยังไม่หมด แต่มีการฉายภาพออกไปแล้ว จะทำให้เรซิ่นบางส่วนแข็งตัว ทำให้เกิดเป็นรอยที่เห็นได้ชัดระหว่างชั้นเลเยอร์ ซึ่งการหมุนงาน โดยเอาส่วนที่เป็นมุมลง จะช่วยลดในเรื่องของแรงดึง ทำให้ปัญหานี้เกิดน้อยลง เวลาฉายที่นานเกินไป เวลาที่ฉายภาพนั้น เป็นตัวกำหนดรายละเอียดและความคมของชิ้นงาน ซึ่งถ้าค่าการฉายที่นานเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดรอยเลเยอร์ระหว่างชิ้นงานก็เป็นได้ เพราะเวลาที่เรซิ่นแข็งตัว แล้วยังมีการฉายภาพอยู่ แสงที่ฉายออกมาจะไม่สามารถทะลุผ่านชั้นที่แข็งไปได้ ก็จะฟุ้งออกด้านข้าง ทำให้เรซิ่นที่อยู่รอบๆ เริ่มแข็งในแบบไร้ทิศทาง และทำให้เกิดรอยเลเยอร์ระหว่างชั้นที่สามารถเห็นได้ด้วยตา ดังนั้นการหาค่าฉายที่เหมาะสม ก็จะช่วยในเรื่องของรายละเอียดและความคมของชิ้นงานได้ ซึ่งการหาค่าฉายแสง สามารถทำได้หลายวิธี ใครอยากรู้ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Link นี้ เรซิ่นเสื่อมคุณภาพ…

  • พิมพ์ไม่ติดฐาน หรือเรซิ่นไม่แข็งตัว (SLA)

    ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักของเครื่องปริ้น 3D ระบบ SLA หรือเรซิ่น ซึ่งสาเหตุหลักๆของปัญหานี้อาจเกิดได้จาก เวลาฉายไม่เพียงพอ เรซิ่นแต่ละแบบหรือแต่ละยี่ฮ้อ จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน รวมถึงความหนืด ซึ่งจะมีผลต่อการแข็งตัวของเรซิ่น ถ้าระยะเวลาในการฉายแสงที่ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เรซิ่นไม่แข็งตัว หรือว่าแข็งไม่เต็มที่ ซึ่งการการปัญหาก็คือ ให้เพิ่มระยะเวลาในการฉายให้มากขึ้น ถ้าเรซิ่นไม่ติดฐาน ก็ให้เพิ่มระยะเวลาในการฉายในส่วนของ Bottom Exposure Time ให้มากขึ้น แต่ถ้าเรซิ่นติดฐานแล้ว แต่มีบางส่วนไม่แข็ง หรือเป็นแบบวุ้นๆ ก็ให้เพิ่มระยะเวลาในการฉายในส่วนของ Exposure Time ให้มากขึ้น เรซิ่นที่ใช้หมดอายุ เรซิ่นทุกตัวจะมีวันหมดอายุ โดยทั่วไปแล้ว เรซิ่นถ้ายังไม่ได้เปิดหรือเทออกจากขวดเลย ส่วนมากจะมีอายุประมาณ 12 เดือน แต่ถ้ามีการเปิด โดนแสง และอากาศ จะทำให้เรซิ่นเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุเร็วขึ้น จาก 12 เดือนหรือ 6 เดีอน ดังนั้น ถ้าเปิดขวดเรซิ่นแล้วก็ควรที่จะรีบใช้ให้หมด แต่ถ้าใช้ไม่หมด ก็ควรเก็บรักษาให้ดี โดยการปิดฝา…

  • โปรแกรม Idea Maker

    Idea Maker เป็นโปรแกรม Slicer ที่ทาง Raise3D พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่อง Raise3D ทุกรุ่น ซึ่งตัวโปรแกรมมีหน้าที่เปลี่ยนโมเดล 3 มิติ ให้เป็นไฟล์สำหรับสั่งให้เครื่องปริ้นพิมพ์ชิ้นงานออกมา ตัวโปรแกรมมีเครื่องมือช่วยในการตั้งค่า รวมไปถึงการสร้าง Support หรือตัวรองรับ นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์พิเศษที่ช่วยให้การปริ้นงาน สวยและสะดวกมากขึ้น 1.แนะนำการใช้เมาส์และการปรับเปลี่ยนมุมมอง 2.การนำโมเดล 3 มิติเข้ามาในโปรแกรม 3.การหมุนชิ้นงานและการย้ายตำแหน่งที่พิมพ์ 4.การย่อและชยาย รวมถึงการลบโมเดลออกจากพื้นที่พิมพ์ 5.การตัดโมเดลออกเป็นชิ้นๆ 6.การสร้าง Support หรือตัวรองรับ 7.การขยายโมเดล Max Fit และการซ่อมโมเดล 3 มิติ 8.การสั่ง Slice ชิ้นงานเพื่อนำไปปริ้น 9.การเชื่อมต่อเพื่อดูการทำงานเครื่องผ่านโปรแกรม 10.สรุปขั้นตอนในการใช้งานโปรแกรม 11.การบันทึกค่า Parameter ที่ใช้บ่อยๆ 12. เจาะลึกการตั้งค่า Layer 13. การตั้งค่าหัวฉีด และการดึงเส้นกลับ…

  • โปรแกรม Creality Slicer

    โปรแกรม Slicer ที่ทาง Creality ทำมา เพื่อใช้งานกับเครื่องปริ้น 3 มิติ ของ Creality ทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่น Ender 3 / Ennder S1 รวมไปถึงรุ่น CR10 ซึ่งโปรแกรม ตัวนี้ ถูกพัฒนาต่อยอดมากจากโปรแกรม Cura ซึ่งถ้าเคยใช้โปรแกรม Cura มาก่อน ก็สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างแน่นอน EP1. ติดตั้งโปรแกรมและเลือกเครื่องที่ใช้ Creality Slicer เป็นโปรแกรมที่ทาง Creality ได้เอาโปรแกรม Cura มาปรับแต่ง หน้าตา Interface และใส่รุ่นเครื่องที่ทาง Creality ไปผู้ผลิต ลงไปในโปรแกรม ทำให้การใช้งานจะง่ายกว่า มี Setting มาให้พร้อมใช้งาน ไม่ต้องมาตั้งค่าเครื่องเอง ผู้ใช้สามารถโหลดโปรแกรม Creality Slicer…

  • เทคนิคเสริม โปรแกรม Prusa Slicer

    หลายๆคน เวลาใช้โปรแกรม Slicer ไปซักระยะนึงแล้ว อยากได้งานพิมพ์ ที่สามารถกำหนดค่าในส่วนต่างๆ หรืออยากจะเปลี่ยนให้งานพิมพ์มีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะมาเรียนรู้ Tip และ เทคนิคในนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการเอาประสบการณ์และคำถามที่ลูกค้า ถามมา ว่าสามารถตั้งค่าการพิมพ์แบบนี้ได้ไหม ทางร้านได้รวมเอามาให้ เพื่อใคร ที่หาเทคนิคการพิมพ์อยู่ ก็สามารถเข้ามาศึกษาได้ TIP1. กำหนดค่าในการพิมพ์ให้แตกต่าง ในแต่ละจุด โมเดลบางชิ้นอาจจะต้องมีการปรับแต่งค่าในการพิมพ์ในแต่ละส่วน เพื่อให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์และสวยงาม ซึ่งการปรับแต่งค่าในโปรแกรม Prusa Slicer นั้นสามารถปรับแต่งได้หลายแบบ รวมถีงการใช้การกำหนดค่าความสูงของชิ้นงานเข้ามาช่วยในการปรับค่า เช่น ความเร็วในการพิมพ์ / ความแรงของพัดลมที่เป่างาน ซึ่งการปรับแต่งตรงนี้สามารถทำได้เลยในโปรแกรม ไม่ต้องไปกดที่หน้าเครื่อง TIP2. การตั้งค่าสำหรับการสั่งพิมพ์งานที่ละชิ้น สำหรับเทคนิคนี้ จะช่วยในเรื่อง ของการวางชิ้นงานหลายตัว แต่อยากให้พิมพ์ที่ละตัว ไม่ใช่การพิมพ์ทั้งหมดในทีเดียว โดยปกติ เวลาพิมพ์งาน ไม่ว่าจะวางงานกี่ชิ้น บนฐานพิมพ์ งานทั้งหมดจะเสร็จพร้อมกัน แค่งานที่สูงสุด จะเสร็จช้าที่สุด แต่บางครั้ง เส้นพลาสติกเหลือน้อย…

  • การใช้งานโปรแกรม Prusa Slicer

    โปรแกรม Prusa Slicer เป็นโปรแกรม สำหรับใช้คู่กับเครื่องพิมพ์ Oringial Prusa ทุกรุ่น และยังสามารถใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติ ยี่ห้ออื่นๆได้อีกด้วย ตัวโปรแกรมมีหน้าที สำหรับเปลี่ยนโมเดล 3 มิติให้เป็นทางเดินหัวพิมพ์ ตัวโปรแรกม สามารถที่จะบอกเวลาในการปริ้น รวมไปถึงปริมาณของวัสดุที่ใช้ปริ้น ว่าต้องใช้เท่าไหร่ EP1. แนะนำการใช้งานโปรแกรม EP2. การเลือกรุ่นเครื่องเพื่อใช้กับโปรแกรม การเลือกรุ่นเครื่องสำหรับใช้กับโปรแกรม Prusa Slicer นั้น จำเป็นต้องเลือกให้ตรงรุ่น เพราะเครื่องในแต่ละรุ่น จะมีความสามารถไม่เหมือนกัน สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเครื่องที่ใช้เป็นรุ่นไหน ก็สามารถดูรูปประกอบด้านล่างได้ สำหรับรุ่น MK3 กับ MK3S จะต่างกันที่ชุดหัวฉีด ซึ่งรุ่น MK3 จะใช้เซนเซอร์จับเส้นที่เป็นแบบ Optical โดยสังเกตุที่ใส่เส้น ตรงฝาครอบ จะมีท่อที่สูงขึ้นมา ส่วนตัวรุ่น MK3S นั้น จะใช้เซนเซอร์จับเส้นแบบ IR…