• การเพิ่มเส้นพลาสติกและการเปลี่ยนค่า

    อย่างที่รู้กันว่า เครื่อง Bambulab นั้นรองรับการใช้งานเส้น Third Party หรือเส้นพลาสติกยี่ห้ออื่น ซึ่งถ้าในโปรแกรม ไม่มียี่ห้อที่ซื้อมาให้เลือก ก็สามารถเพิ่มเส้นพลาสติก เข้าไปสร้าง Profile ค่า Setting แล้วบันทีกในโปรแกรม Bambu Studio ได้เลย สำหรับการเพิ่มเส้น Filament จะใช้การ Copy จากเส้นที่มีให้เลือกอยู่ในโปรแกรม แล้วนำค่าของเส้นนั้น มาปรับแต่งหรือแก้ไขแล้วบันทึกเป็นชื่อใหม่ ในตัวอย่างนี้ จะเพิ่มเส้น Polylite ABS เข้าไป ซึ่งในโปรแกรม Bambu Studio ไม่มีเส้นนี้ ดังนั้นเราจะใช้ Profile ของเส้น Bambu ABS เป็นตัวหลัก แล้วค่อยไปทำการแก้ไข แล้วบันทึกเป็นชื่อใหม่ ตัวอย่างการเพิ่มเส้น Polylite ABS มารู้จักแทบการตั้งค่าและตัวแปรต่างๆที่สามารถปรับได้ สำหรับการปรับแต่งค่าเกี่ยวกับเส้นพลาสติกหรือ Filament นั้นจะมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร้อนหัวพิมพ์ และฐาน…

  • สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด ในการใช้โปรแกรม Bambu Studio

    สำหรับโปรแกรม Bambu Studio นั้นเป็นโปรแกรม Slicer สำหรับใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติ ยี่ห้อ Bambulab ซึ่งได้กับทุกรุ่น ตัวโปรแกรมเป็น Open source ซึ่งหมายความว่า สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะลงในคอมพิวเตอร์ กี่เครื่องก็ได้ ตัวโปรแกรมที่ให้เลือกลงทั้งระบบ Window และ Mac นอกจากจะใช้กับเครื่อง Bambulab ได้แล้ว ยังสามารถที่จะตั้งค่า เพื่อให้ใช้กับเครื่องปริ้น 3 มิติยี่ห้อ อื่นๆก็ได้ ซึ่งตัวโปรแกรม Bambu Studio ถูกพัฒนา ต่อยอดมาจากโปรแกรม Slicer ที่ชื่อว่า Slic3r โปรแกรมโหลดได้ที่ไหน สำหรับโปรแกรม Bambu Studio สามารถโหลดได้ที่ website ของ Bambulab ได้โดยตรง ซี่งจะมีให้เลือกทั้งเวอร์ชั่น สำหรับ…

  • การสั่งปริ้นงานที่ละชิ้น

    การปริ้นงานที่ละชิ้น จะเหมาะกับเส้นพลาสติกที่พิมพ์ยากๆ หรือพลาสติกที่มีใยเยอะ อย่างเส้น TPU รวมไปถึงเส้นพลาสติกที่มาราคาแพง อย่าง เส้นไนลอน หรือเส้น PC การพิมพ์งานที่ละชิ้น จะช่วยลดใยแมงมุม และช่วยให้งานพิมพ์แข็งแรงมากขึ้น เพราะไม่มีการทิ้งช่วงรอนานเกินไป ทำให้เส้นพลาสติกหลอมละลายติดกันเป็นเนื้อเดียวมากขึ้น ซึ่งเหมาะมากสำหรับ พิมพ์พลาสติกวิศวิกรรม อย่าง ไนลอน หรือ ไนลอนผสมคาร์บอร์ไฟเบอร์ ข้อจำกัดของการปริ้นงานที่ละชิ้น ไม่ใช่มีแต่ข้อดี การปริ้นงานที่ละชิ้น ก็มีข้อเสียเหมือกันคือ วางชิ้นงานบนแผ่นได้จำนวนน้อยลง เพราะว่าจะต้องมีการเผื่อพื้นที่ให้หัวพิมพ์วิ่ง ซึ่งถ้าไม่มี หัวพิมพ์ ก็จะไปชนกับงานที่พิมพ์เสร็จแล้ว ทำให้งานหรือหัวฉีดเสียหายได้ นอกจากต้องเผื่อพื้นที่รอบหัวพิมพ์แล้ว ยังต้องเพื่อเรื่องความสูงของชิ้นงานอีกด้วย เพราะการใช้งานฟีเจอร์นี้ อาจจะต้องจำกัดเรื่องความสูงของชิ้นงานด้วย เพราะถ้างานปริ้นสูงเกินไป เวลาปริ้นเสร็จ ตัวฐานก็จะยกขึ้นมา เพื่อจะเริ่มพิมพ์ชั้นต่อไป ซึ่งถ้างานสูงมากเกิน ก็จะทำให้ชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จ ชนเข้ากับแกนของหัวพิมพ์ แต่ถ้ามีงานสูงที่ต้องการพิมพ์แบบที่ละชิ้นก็สามารถทำได้ แต่ต้องจัดลำดับการพิมพ์ให้งานที่สูงสุดอยู่ลำดับสุดท้าย และควรวางไว้ด้านหลังของเครื่อง การจัดลำดับการพิมพ์งาน สำหรับการปริ้นงานแบบ by object หรือ…

  • การพิมพ์งานหลายสีด้วยกล่อง AMS

    จุดเด่นของเครื่อง Bambulab ก็คือกล่อง AMS ที่พอใส่เข้าไปแล้ว จะทำให้เครื่องสามารถพิมพ์งานหลายสีได้ ซึ่งตัวกล่อง AMS สามารถที่จะใช้ได้ก้บทั้งรุ่น P1P / P1S / X1C ในกล่อง AMS 1 ใบ จะสามารถใส่เส้นได้ 4 ม้วน แต่ตัวเครื่องสามารถรองรับการต่อกล่อง AMS ได้ถึง 4 กล่อง ทำให้สามารถพิมพ์พลาสติกได้ถึง 16 สี การเพิ่มจำนวนเส้นในโปรแกรม สำหรับการพิมพ์หลายสีนั้น ผู้ใช้จะต้องเพิ่มจำนวนของเส้นพลาสติกหรือสีเส้นเข้าไปในโปรแกรมก่อน ถึงจะสามารถใช้ฟีเจอร์เกี่ยวกับการปริ้นหลายสีได้ ซึ่งวิธีการเพิ่มเส้นพลาสติก มี 2 วิธี 1.เพิ่มแบบแมนวลโดยการกดเพิ่มเส้น 2.ใช้วิธี Sync ข้อมูลระหว่างเครื่องปริ้นกับโปรแกรม การระบุสีเส้นในโปรแกรม สำหรับการเพิ่มสีเส้นแบบแมนนวล ผู้ใช้อาจจะต้องทำการระบุชนิดเส้นพลาสติก และสีของเส้นเอง ซึ่งการระบุสีเส้น จะเป็นการช่วยให้รู้ว่างานที่พิมพ์ออกมาจะมีหน้าตา ความสวยงาม ออกมาประมาณไหน ซึ่งตัวโปรแกรม…

  • เปลี่ยนฮีทเตอร์และหัววัดความร้อน

    เครื่องรุ่น P1 Series ปกติหัวฉีดของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะมีฮีทเตอร์สำหรับทำความร้อน และหัวเซนเซอร์สำหรับวัดความร้อน ซึ่งถ้ามีส่วนไหน ทำงานผิดพลาด หัวฉีดก็จะไม่ร้อน หรือบางครั้งก็จะเกิดอาการหัวฉีดตัน ฉีดออกบ้าง ไม่ออกบ้าง ถ้าขั้นที่เลวร้ายสุด ก็คือสายขาด ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ก็จะเป็นจะต้องเปลี่ยนชุดฮีทเตอร์และหัววัดใหม่ทั้งหมด ลูกค้าที่เจอปัญหาสามาถสั่งซื้อ ชุดฮีทเตอร์และหัววัดเครื่องรุ่น P1P ได้ กับทางร้าน การใส่ชุดหัววัดและฮีทเตอร์ของเครื่อง Bambulab จะไม่ยุ่งยากเหมือนเครื่องรุ่นอื่นๆ เพราะใช้ เป็นกิ๊ฟล็อค แบบปลอก ที่สวมรัดฮีทเตอร์กับหัววัดให้อยู่ด้วยกัน เครื่องรุ่น X1 Series สำหรับรุ่น X1 serires ตัวหัววัด กับฮีทเตอร์เซรามิค จะแยกกัน จะไม่รวมกันเหมือนเครื่อง P1 series ซึ่งข้อดีคือ เสียชิ้นไหน ก็เปลี่ยนแค่ชิ้นนั้น สำหรับการเปลี่ยน ก็จะเหมือนกันกับเครื่อง P1 Series สำหรับซิลิโคนที่ใช้ไปนาน…

  • เปลี่ยนแผ่นสติกเกอร์ฐานพิมพ์

    สำหรับเครื่อง Bambulab จะมีฐานพิมพ์ ที่ใช้แผ่นสติกเกอร์แปะบนแผ่นเหล็ก ซึ่งจะมี แผ่น Cool Plate และ แผ่น Engineering Plate ถ้าใช้ไปนานๆ แผ่นพวกนี้ จะมีอาการพอง หรือแผ่นเผยอ ออกตามุมของแผ่น ทำให้ไม่สามารถปริ้นได้ ซึ่งทางแก้ก็คือ ลอกแผ่นเก่า และติดแผ่นใหม่ลงไป Jig สำหรับใช้เปลี่ยนแผ่น ก่อนที่จะเปลี่ยน แนะนำให้พิมพ์ Jig ที่ชื่อว่า Bambulab Sticker Applicator สำหรับเอาไว้เป็นตัววางแนว ให้แผ่นติดได้ตรง และยังใช้เป็นตัวรีด ไล่อากาศออก วิดีโอสอนการเปลี่ยนแผ่น

  • การถอด / รื้อและประกอบกล่อง AMS

    หลายคนอาจจะเคยปัญหา เกี่ยวกับกล่อง AMS เช่นเส้นติด หรือเส้นโหลดไม่ออก ทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องได้ จริงๆแล้ว ตัวกล่อง AMS ของ Bambulab นั้น สามารถที่จะถอดออกมาเได้ สำหรับปัญหาที่พบเจอบ่อย ก็คือเส้นติดพลาสติกอยู่ในตัวโหลดเส้น ที่เรียกว่า First Stage Feeder ซึ่งตัวนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่จะดันเส้นพลาสติกไปที่หัวฉีดที่อยู่ในเครื่อง ปัญหาที่เจอ คือเส้นพันกันด้านใน ทำให้มอเตอร์หมุนดันเส้นไม่ได้ ถ้าปล่อยไป ก็อาจจะทำให้เฟืองพลาสติก ด้านในแตกได้ นอกจากตัวโหลดเส้นแล้ว ยังมีในเรื่องของท่อเทฟลอน ที่อยู่ด้านใต้กล่อง อาจจะเกิดการสึกหรอ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนท่อใหม่

  • แก้อาการหัวฉีดตันแบบไม่ต้องรื้อหัวฉีด

    ในบางครั้ง พิมพ์งานแล้วอยู่ๆหัวฉีดตัน อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นพันกันในม้วน ทำให้ดึงเส้นลงไปที่หัวฉีดไม่ได้ หรือการใช้เส้นพลาสติกที่ไม่มีคุณภาพ ที่ขนาดเส้น Filament ไม่สม่ำเสมอ มีใหญ่ มีเล็ก ทำให้ เส้นเดินไม่คล่อง อีกปัญหาที่เจอบ่อย ก็คือเส้นสกปรก มีฝุ่นเกาะที่เส้น ต้องไม่ลืมว่า ฝุ่นเป็นของแข็ง ม้นไม่ละลาย ถ้าปล่อยไป ตัวฝุ่นก็จะไปกองที่ปลายหัวฉีด ทำให้รูหัวฉีดเล็กลงเรื่อยๆ และทำให้หัวฉีดตันได้ในที่สุด สำหรับการแก้ปัญหา ทางร้านอยากให้ไล่ทำไปที่ละ Step Step 1. ใช้เข็มแหย่ที่ปลายหัวฉีด เข็มที่ใช้ ทางร้านแนะนำให้เป็นเข็มที่หมอจีน ใช้ฝังเข็ม ซึ่งจะมีก้านยาว ทำให้ทะลวงได้ลึก แต่ถ้าให้เข็มจีนไม่ได้ ก็แนะนำให้ใช้ เส้นลวดเล็กๆ หรือสายกีตาร์เบอร์ 2 แทนก็ได้ ก่อนที่จะทะลวง ให้เปิดหัวฉีดให้ร้อนก่อน ค่าที่แนะนำก็ประมาณ 250 องศา แต่ถ้าเป็นเส้นวิศวกรรม ก็เปิดให้เต็ม Max ของค่าที่เครื่องสามารถทำได้…

  • โปรแกรมสำหรับซ่อมไฟล์ 3 มิติ

    สืบเนื่องมาจากโปรแกรมที่ใช้ออกแบบโมเดล 3 มิติ นั้นมีหลายตัว ทำให้เวลาในการบันทึกหรือ Export ไฟล์มาเพื่อใช้พิมพ์กับเครื่องปริ้น 3D นั้น อาจจะมีปัญหา เช่นผิวของโมเดลมีการกลับด้าน หรือมีส่วนผิวที่ไม่เชื่อมติดกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ บางครั้งดูด้วยตาอาจจะมองไม่เห็น แต่ตัวโปรแกรมจะสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าไปฝืนใช้โมเดลที่เสีย อาจทำให้งานปริ้นออกมาไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ใช้ควรจะตรวจสอบและเช็คโมเดล 3 มิติ ก่อนที่จะทำการปริ้นทุกครั้ง ซึ่งโปรแกรมสำหรับซ่อมและตรวจเช็คไฟล์ 3 มิติ ก็มีหลายตัว ทั้งแบบใช้ฟรี หรือแบบเสียเงิน 3D Builder โปรแกรม 3D Builder เป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน และเป็นโปรแกรมของทาง Microsoft เอง ซึ่งถ้าใครลง Window 10 ไว้ ก็จะมีมาให้ใช้เลย ไม่ต้องไปดาวน์โหลดเพิ่มเติม ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมาก และซ่อมโมเดลได้ดีในระดับนึง แต่คอมพิวเตอร์ต้องเสปคแรงหน่อย ไม่งั้นมีอาการค้างเหมือนกัน ซึ่งโปรแกรม 3D Builder นั้นสามารถซ่อมโมเดลได้ในหลายข้อผิดพลาด…

  • การใช้งานเครื่อง

    สอนการใช้งาน ตั้งแต่การใส่เส้นพลาสติก และคำสั่งต่างบนหน้าจอของเครื่อง รวมไปถึงการหยุดพิมพ์ เพื่อเปลี่ยนเส้น รวมไปถึงการซ่อมบำรุงเครื่อง 1.การใช้งานหน้าจอ Touch Screen 2.การใส่ฐานพิมพ์ ฐานปริ้นของเครื่อง Raise3D รุ่น Pro 2 Series จะเป็นฐานอลูมเนียมที่ติดแผ่น Buildtak ลงไป ซึ่งตัวแผ่นมีการเคลือบสารพิเศษ ช่วยให้พลาสติกติดแน่นเวลาพิมพ์ เมื่อใช้ไปนาน ตัวแผ่น ก็จะเสื่อมสภาพ ผู้ใช้สามารถที่จะซื้อตัวแผ่น มาติดใหม่ได้ โดยลอกแผ่นเก่าออก 3.การใส่เส้นพลาสติกและท่อนำพลาสติก 4.รายละเอียดในส่วนของแทบคำสั่ง Home ขณะพิมพ์งาน 5.การทำงานของเซนเซอร์ เช็คเส้นพลาสติก 6.การเปลี่ยนความร้อนหัวฉีด และความเร็วขณะพิมพ์งาน 7.การปรับฐานพิมพ์ ในกรณีพลาสติกไม่ติดฐาน 8.การหยุดเครื่องชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนเส้น